Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5922
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 THE DEVELOPMENT OF SCIENCE LEARNING ACTIVITIES USING PROBLEM-BASED LEARNING TO PROMOTE LEARNING ACHIEVEMENT ON THE QUANTITY OF ELECTRICITY FOR MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS 
Authors: Kitsana Prachimma
กฤษณะ ประฉิมมะ
Aumporn Lincharoen
เอื้อมพร หลินเจริญ
Naresuan University
Aumporn Lincharoen
เอื้อมพร หลินเจริญ
aumpornli@nu.ac.th
aumpornli@nu.ac.th
Keywords: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้,การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ปริมาณทางไฟฟ้า
Learning activity packages Problem-based Quantity of electricity
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aimed to develop a science learning activities Package using problem-based learning to promote learning achievement on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students with the purposes 1) to create and find the efficiency of the science learning activities using problem-based learning to promote learning achievement on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students to meet the 75/75 criterion, 2) to compare  achievements between pre-and post-learning by using science learning activities Package using problem-based learning to promote learning achievement on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students, and 3) to study the satisfaction of students towards science learning activities Package using problem-based learning to promote academic achievement for Mathayomsuksa 3 students based on the process of research and development. The experiment was performed with 15 Mathayomsuksa 3 students in the second semester of the academic year 2022 at Ban Wang Thap Sai School under Phichit Primary Educational Service Area Office 1 through purposive sampling. The research instrument included science learning activities using problem-based learning on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students, an achievement test, and a student satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis included mean and standard deviation, the efficiency of science learning activities determined by the formula E1/E2, discrimination power, accuracy, and t-test dependent for comparing the learning achievements before and after learning. The findings were as follows: 1. science learning activities Package using problem-based learning on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students were appropriate based on the experts' opinions at a high level. The E1/E2 efficiency was 75.70/76.56, meeting the 75/75 criterion. 2. Students experiencing science learning activities using problem-based learning to promote learning achievement on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students had post-learning achievement higher than pre-learning. 3. Students Whos team with science learning activities Package using problem-based learning to promote learning achievement on the quantity of electricity for Mathayomsuksa 3 students had overall satisfaction at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ E1/E2  และสถิติการทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 5 ชุด มีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 75.70/76.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปริมาณทางไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5922
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KitsanaPrachimma.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.