Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5843
Title: การเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป
The  comparison  of  executive  functions of  prathom students  between  school  systematic  with  innovation  changes Jitsuksa, PBL and  PLC  with  General  school. 
Authors: Thanyalak Paitoon
ธัญญลักษณ์ ไพฑูรย์
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
chamnanp@nu.ac.th
chamnanp@nu.ac.th
Keywords: การคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง
จิตศึกษา
PBL
PLC
Executive Functions
Jitsueksa
PBL
PLC
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to measure executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 2) to compare executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 3) to compare the primary-school students’ executive functions behaviors of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. The sample of this research were 60 students who studied in grade 4-6 in academic year 2020. The instruments used for collecting data were the test of executive functions of primary students. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation (S.D.), and t-test. The findings were as follows: 1. The result of the measurement of the executive functions of primary students from the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school is higher than the regular school. The former school’s result is high. The latter school’s result is normal.  2. The working memory, initiation, emotional control, inhibit, and self-monitoring skills of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were significantly higher than the regular school at the .05 level. The planning skill of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were not significantly different than the regular school at the .05 level. 
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ปีการศึกษา 2563  จำนวน  60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  t-test ผลการวิจัย  พบว่า  1. การวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป พบว่า นักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC  มีการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก  และนักเรียนโรงเรียนทั่วไป มีการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2. เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป  พบว่า  ตัวบ่งชี้ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการริเริ่ม ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการยับยั้ง และด้านการตรวจสอบตนเอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และด้านการวางแผนและการจัดการ ไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้ง การคิดเชิงบริหารจัดการทางสมองของนักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า โรงเรียนทั่วไป เมื่อพิจารณารายด้านนักเรียนมีพฤติกรรมตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการตรวจสอบตนเอง รองลงมา คือ ด้านความจำขณะทำงาน  ด้านการริเริ่ม  ด้านการวางแผนและการจัดการ  ด้านการยับยั้ง ไตร่ตรอง และด้านการควบคุมอารมณ์  ตามลำดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เมื่อพิจารณาจากการสังเกต พบว่า นวัตกรรมจิตศึกษาเกี่ยวข้องกับนักเรียน โดยการใช้ PBL เป็นกิจกรรม Active  ซึ่งนักเรียนสามารถกำหนดหัวข้อที่จะเรียนรู้เอง ครูจากเดิมที่ต้องคอยบอกความรู้  คอยหาความรู้มาให้นักเรียน เปลี่ยนเป็นคนที่คอยตั้งคำถามให้เขาไปเสาะแสวงหาความรู้  โดยครูคอยเป็นโค้ชคอยช่วยเหลือเขา อำนวยความสะดวกให้เขาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  และครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันกับเด็กนักเรียน การนำจิตศึกษามาปรับใช้กับนักเรียน จึงเห็นความเปลี่ยนแปลงของพี่ ๆ นักเรียน จะเห็นว่านักเรียนมีจิตใจจดจ่อตั้งใจกับสิ่งที่ทำมากขึ้น สามารถกำกับตนเอง มีความนอบน้อม รู้จักการรอคอย เห็นความสำคัญของตนเองกับสิ่งต่าง ๆ เคารพตนเองและผู้อื่นมากขึ้นกว่าเดิม เช่น นักเรียนนั่งเขียนงานโดยสงบนิ่ง, นักเรียนหยิบของแล้วยกมือไหว้ หลังการสังเกตนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม นักเรียนมีความนอบน้อมดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เวลาเดินเข้าแถวก็เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำการบ้านสามารถทำตามขั้นตอนที่คุณครูสั่ง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5843
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThanyalakPaitoon.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.