Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5843
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorThanyalak Paitoonen
dc.contributorธัญญลักษณ์ ไพฑูรย์th
dc.contributor.advisorChamnan Panawongen
dc.contributor.advisorชำนาญ ปาณาวงษ์th
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2023-10-31T04:06:59Z-
dc.date.available2023-10-31T04:06:59Z-
dc.date.created2566en_US
dc.date.issued2566en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5843-
dc.description.abstractThe purposes of this research were: 1) to measure executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 2) to compare executive functions of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. 3) to compare the primary-school students’ executive functions behaviors of primary students between the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school and the regular school. The sample of this research were 60 students who studied in grade 4-6 in academic year 2020. The instruments used for collecting data were the test of executive functions of primary students. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation (S.D.), and t-test. The findings were as follows: 1. The result of the measurement of the executive functions of primary students from the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school is higher than the regular school. The former school’s result is high. The latter school’s result is normal.  2. The working memory, initiation, emotional control, inhibit, and self-monitoring skills of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were significantly higher than the regular school at the .05 level. The planning skill of the Jitsueksa PBL-and-PLC-integrated school were not significantly different than the regular school at the .05 level. en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC ปีการศึกษา 2563  จำนวน  60 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  t-test ผลการวิจัย  พบว่า  1. การวัดการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป พบว่า นักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC  มีการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก  และนักเรียนโรงเรียนทั่วไป มีการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2. เปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไป  พบว่า  ตัวบ่งชี้ด้านความจำขณะทำงาน ด้านการริเริ่ม ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านการยับยั้ง และด้านการตรวจสอบตนเอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และด้านการวางแผนและการจัดการ ไม่แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้ง การคิดเชิงบริหารจัดการทางสมองของนักเรียนโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า โรงเรียนทั่วไป เมื่อพิจารณารายด้านนักเรียนมีพฤติกรรมตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการตรวจสอบตนเอง รองลงมา คือ ด้านความจำขณะทำงาน  ด้านการริเริ่ม  ด้านการวางแผนและการจัดการ  ด้านการยับยั้ง ไตร่ตรอง และด้านการควบคุมอารมณ์  ตามลำดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพ เมื่อพิจารณาจากการสังเกต พบว่า นวัตกรรมจิตศึกษาเกี่ยวข้องกับนักเรียน โดยการใช้ PBL เป็นกิจกรรม Active  ซึ่งนักเรียนสามารถกำหนดหัวข้อที่จะเรียนรู้เอง ครูจากเดิมที่ต้องคอยบอกความรู้  คอยหาความรู้มาให้นักเรียน เปลี่ยนเป็นคนที่คอยตั้งคำถามให้เขาไปเสาะแสวงหาความรู้  โดยครูคอยเป็นโค้ชคอยช่วยเหลือเขา อำนวยความสะดวกให้เขาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  และครูก็ได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันกับเด็กนักเรียน การนำจิตศึกษามาปรับใช้กับนักเรียน จึงเห็นความเปลี่ยนแปลงของพี่ ๆ นักเรียน จะเห็นว่านักเรียนมีจิตใจจดจ่อตั้งใจกับสิ่งที่ทำมากขึ้น สามารถกำกับตนเอง มีความนอบน้อม รู้จักการรอคอย เห็นความสำคัญของตนเองกับสิ่งต่าง ๆ เคารพตนเองและผู้อื่นมากขึ้นกว่าเดิม เช่น นักเรียนนั่งเขียนงานโดยสงบนิ่ง, นักเรียนหยิบของแล้วยกมือไหว้ หลังการสังเกตนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม นักเรียนมีความนอบน้อมดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เวลาเดินเข้าแถวก็เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำการบ้านสามารถทำตามขั้นตอนที่คุณครูสั่งth
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมองth
dc.subjectจิตศึกษาth
dc.subjectPBLth
dc.subjectPLCth
dc.subjectExecutive Functionsen
dc.subjectJitsueksaen
dc.subjectPBLen
dc.subjectPLCen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationTraining for teachers with subject specialisationen
dc.titleการเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารจัดการทางสมอง ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ระหว่างโรงเรียนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC กับโรงเรียนทั่วไปth
dc.titleThe  comparison  of  executive  functions of  prathom students  between  school  systematic  with  innovation  changes Jitsuksa, PBL and  PLC  with  General  school. en
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorChamnan Panawongen
dc.contributor.coadvisorชำนาญ ปาณาวงษ์th
dc.contributor.emailadvisorchamnanp@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisorchamnanp@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Educational Administration and Developmenten
dc.description.degreedisciplineภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาth
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThanyalakPaitoon.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.