Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5841
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING COLLABORATIVE STRATEGIC READING THOUGH SOCIAL MEDIA TO ENHANCE CRITICAL READING ABILITY FOR GRADE 10 STUDENTS
Authors: Sunisa Saengun
สุนิษา แสงอุ่น
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
Naresuan University
Angkana Onthanee
อังคณา อ่อนธานี
angkanao@nu.ac.th
angkanao@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ
สื่อสังคมออนไลน์
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
Learning Activities
Collaborative Strategic Reading
Social Media
Critical Reading
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research were: 1) to construct and access the efficiency of learning activities by using collaborative strategic reading though social media to enhance critical reading ability for grade 10 students at the level of 75/75. 2) to compare the enhance critical reading ability before and after using learning activities by using collaborative strategic reading though social media. 3) to study the satisfaction of learning activities by using collaborative strategic reading though social media to enhance critical reading ability for grade 10 students. The research produce comprised with 3 steps of research and development were as follows: Step 1: constructing and assessing the effectiveness of the learning activities by using collaborative strategic reading though social media. Step 2: comparing the enhance critical reading ability before and after using learning activities by using collaborative strategic reading though social media. Step 3: studying the satisfaction of learning activities by using collaborative strategic reading though social media. The sample group was 40 of grade 10 students in the second semester of academic year 2022 at Chalermkwansatree School to Simple Random Sampling by using classroom randomize. The tools applied in the research include 1) the learning activities by using collaborative strategic reading though social media. 2) critical reading ability test and 3) the satisfaction questionnaires in learning activities by using collaborative strategic reading though social media. The data analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent. The result of the study revealed that: 1. The learning activities by using collaborative strategic reading though social media to enhance critical reading ability for grade 10 students had 3 steps were as follow; 1) Preview (1.1 brainstorm, 1.2 predict) 2) While-Reading (2.1 click and clunk, 2.2 get the gist) and 3) Wrap up (3.1 self-questioning, 3.2 review) had appropriated quality with highest level and effectiveness equal 77.22/77.36 that follow the efficiency level of 75/75 2. The critical reading ability of the students in learning activities by using collaborative strategic reading though social media. post-test of the students were higher than the pre-test with level of .01 3. The students’ satisfaction of learning activities by using collaborative strategic reading though social media in overall were higher level (X̄ = 4.64, S.D. = 0.59).
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นก่อนการอ่าน (1.1 การระดมความคิด, 1.2 การคาดเดาบทอ่านล่วงหน้า) 2) ขั้นระหว่างการอ่าน (2.1 การทำความเข้าใจกับเนื้อหาหรือคำศัพท์ยาก, 2.2 การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ) และ 3) ขั้นหลังการอ่าน (3.1 การตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่าน, 3.2 การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้) ซึ่งมีความเหมาะสมของกิจกรรมและแผนการเรียนรู้ระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.22/77.36 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̄= 4.64, S.D. = 0.59)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5841
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SunisaSaengun.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.