Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5834
Title: การพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด
DEVELOPMENT OF READING ABILITY ASSESSMENT MODEL FOR GRADE 1 STUDENTS: AN APPLICATION OF GENERALIZABILITY THEORY
Authors: Ruchira Kongprapan
รุจิรา คงประพันธ์
Namthip Ongrardwanich
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์
Naresuan University
Namthip Ongrardwanich
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์
namthipo@nu.ac.th
namthipo@nu.ac.th
Keywords: ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
รูปแบบการประเมิน
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด
Reading ability for grade 1 students
Assessment Model
Application of Generalizability theory
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research study aimed to; 1) investigate current situations, problems, needs, and the reading ability assessment model of Grade-one students, 2) develop and evaluate the quality of the reading ability assessment model for Grade-one students, 3) trial the reading ability assessment model for Grade-one students, and 4) evaluate the quality of the reading ability assessment model for Grade-one students. The research findings revealed that: The current situations, school director, Head of academic administration and Thai language teacher Grade-one students realization of the necessity and significance of reading ability assessment of Grade-one students, have a policy setting  and academic framework specifying the policy related to assessment of the reading ability of Grade-one students in action plan : RTNT and O-NET National Achievement and Assessment Program every year. There is a joint meeting between academic groups and teachers. Plan assessments  and use the results of the examinations to improve and develop students. reflect the assessment results to improve develop learners according  to their individual potential. The problems, and obstacles for reading ability assessment of Grade-one students, school with a large number of students Assessment in some way, such as individual reading causing chaos in the class. And it takes a lot of time for reading ability assessment. Need a good exam management, such as the duration of the assessment, number of proctors, assessment model is appropriate and fast for schools with many students. multiple classrooms and need materials that help in the process of developing reading ability. 2. Testing administration of the reading ability assessment model consisted of three steps, with a testing plan consisting of four components; 1) objectives, 2) indicators, 3) assessment criteria, and 4) assessment methods, testing operation, and application of test results using Generalizability Theory. 3. The reading ability assessment model for Grade-one students applied  Generalizability Theory using different Facet Design. 3.1) Score of the reading ability assessment of Grade-one students assessed by four assessors from the same school was higher than the score assessed by four assessors from different schools. 3.2) Generalizability Coefficient of the reading ability assessment model for Grade-one students: An application of Generalizability Theory 3.2.1) G-Study results designed using a Two-Facet Crossed Design, p x s x r, to calculate the G-Coefficient of the six designs, showed that variance of real score was the highest, while variance of interaction between the testers and assessors  affected Generalizability Coefficient the most.   3.2.2) D-Study 1) D-Study results for p x s x r Design tested from two resources, namely the number of assessors (r), and assessors’ qualifications (s). The number of assessors (r) was 2, 3, and 4, and the qualifications (s) worked in both the same and different schools. If the test administrator needed quality of testing in terms of reliability for decision for both group-based or relative design  not less than 0.8 under the conditions of assessors from two resources, there must be at least 2 assessor. In addition, if the test administrator needs quality for selection with reliability for decision in criterion-based or absolute decision  not less than 0.8 under the conditions of assessors from two resources, the test administrator must also use at least 2 assessor. 2) D-Study for p x (r : s) Design tested from two resources, namely the number of assessors (r), and assessors’ qualifications (s). The number of assessors (r) was 2, 3, and 4, and the qualifications (s) worked in both the same and different schools. If the test administrator needed quality of testing in terms of reliability for decision for both group-based or relative design  not less than 0.8 under the conditions of assessors from the same school, there must be at least 2 assessors. If the test administrator needed quality of testing in terms of reliability for decision for both group-based or relative design not less than 0.8 under the conditions of assessors from the different schools, there must also be at least 2 assessors. 3.2.3) Comparative results of G-Coefficient of Grade-one students’ reading ability assessment form using different Facet Design revealed that; 1) assessors from different schools and the same schools graded all test items of all test takers (Two-Facet Crossed Design) or p x s x r, and the assessors graded all test items of only test takers (Two-Facet Nested Design) or p x (r : s) under the conditions of the same number and qualifications.  It found that the reading ability assessment form assessed through Two-Facet Nested Design or p x (r : s) had higher reliability than the ones assessed through Two-Facet Crossed Design) or p x s x r. 4. Quality of Grade-one students’ reading ability assessment model: The application of Generalizability Theory in four aspects showed that the quality of accuracy and possibility was holistically at the highest level (X̄ = 4.61, S.D.=0.61), while the aspects of appropriateness and utility were holistically at a high level (X̄= 4.44, S.D.=0.60).
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและรูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด  และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานบริหารวิชาการ และครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน กำหนดนโยบายและกรอบงานเพื่อประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นประจำทุกปี ซึ่งกำหนดไว้แผนปฏิบัติการประจำปี ผ่านโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประเมินระดับชาติ RT NT และ O-NET  มีการประชุมร่วมกันระหว่างกลุ่มงานวิชาการและครูผู้สอน วางแผนดำเนินการประเมินและนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน สะท้อนผลการประเมิน เพื่อปรับปรุง พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพรายบุคคล รวมถึงคิดค้นสื่อการสอน นวัตกรรมต่าง ๆ ปัญหาและอุปสรรค คือ โรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมาก การประเมินในบางวิธี เช่น อ่านเป็นรายบุคคล  ทำให้มีความวุ่นวายในชั้นเรียน และใช้เวลาเยอะสำหรับการประเมินความสามารถด้านการอ่าน จึงต้องการการบริหารการสอบที่ดี เช่น ระยะเวลาในการประเมิน จำนวนกรรมการคุมสอบ รูปแบบการประเมินให้มีความเหมาะสมและรวดเร็วกับโรงเรียนที่มีนักเรียนหลายคน หลายห้องเรียน และต้องการสื่ออุปกรณ์ที่ช่วยในกระบวนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน 2. รูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการบริหารการสอบ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผนการสอบ ประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน 2) ตัวชี้วัด 3) เกณฑ์การประเมิน และ 4) วิธีการประเมิน ขั้นที่ 2 การดำเนินการสอบ และขั้นที่ 3 การนำผลการสอบไปใช้ ที่มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด 3. รูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ที่ใช้วิธีการออกแบบฟาเซตที่ต่างกัน 3.1) คะแนนการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีจำนวนผู้ประเมิน 4 คน คุณสมบัติผู้ประเมินโรงเรียนเดียวกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าคะแนนความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีจำนวนผู้ประเมิน 4 คน คุณสมบัติ ผู้ประเมินต่างโรงเรียน 3.2) ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือ (Generalizability Coefficient) ของรูปแบบประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด 3.2.1) ผลการศึกษาเชิงสรุปอ้างอิง (G-Study) ที่มีการออกแบบ Two-Facet Crossed Design คือ p x s x r เพื่อคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความน่าเชื่อถือของผลการวัด (G-Coefficient) ของ 6 แบบ พบว่า ความแปรปรวนของคะแนนจริง มีค่ามากที่สุด ความแปรปรวนของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบกับผู้ประเมิน  ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงมากที่สุด  3.2.2) การศึกษาเชิงตัดสินใจ (D-Study)  1) ผลการศึกษาเชิงตัดสินใจ (D-Study) สำหรับ p x s x r Design เงื่อนไขการทดสอบ 2 แหล่ง คือ จำนวนผู้ประเมิน (r) และคุณสมบัติผู้ประเมิน (s) โดยจำนวนผู้ประเมิน (r)  2 3 และ 4 คน และคุณสมบัติผู้ประเมิน (s) โรงเรียนเดียวกัน และต่างโรงเรียน ถ้าผู้จัดการทดสอบต้องการให้คุณภาพของการสอบเพื่อคัดเลือก ความเที่ยงสำหรับการตัดสินใจ แบบอิงกลุ่มหรือการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ ไม่ต่ำกว่า 0.8 ภายใต้คุณสมบัติผู้ประเมินที่ใช้ทั้งหมด จำนวน 2 แหล่ง ผู้จัดการทดสอบต้องดำเนินการสอบโดยใช้ผู้ประเมิน ได้ตั้งแต่ 2 คน และถ้าต้องการให้คุณภาพของการทดสอบเพื่อคัดเลือก ค่าความเที่ยงสำหรับการตัดสินใจแบบอิงเกณฑ์หรือการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ ไม่ต่ำกว่า 0.8 ภายใต้คุณสมบัติผู้ประเมินที่ใช้ทั้งหมด จำนวน 2 แหล่ง ผู้จัดการทดสอบต้องดำเนินการสอบโดยใช้ผู้ประเมินได้ตั้งแต่ 2 คน เช่นกัน  2) การศึกษาเชิงตัดสินใจ (D-Study) สำหรับ p x (r : s) Design เงื่อนไขการทดสอบ 2 แหล่ง คือ จำนวนผู้ประเมิน (r) และคุณสมบัติผู้ประเมิน (s) โดยจำนวนผู้ประเมิน (r)  2 3 และ 4 คนและคุณสมบัติผู้ประเมิน (s) โรงเรียนเดียวกัน และต่างโรงเรียน ถ้าผู้จัดการทดสอบต้องการให้คุณภาพของการสอบเพื่อคัดเลือก ค่าความเที่ยงสำหรับการตัดสินใจแบบอิงกลุ่มหรือการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ ไม่ต่ำกว่า 0.8 กรณีคุณสมบัติผู้ประเมินโรงเรียนเดียวกัน จะต้องมีผู้ประเมินตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และถ้าผู้จัดการทดสอบต้องการให้คุณภาพของการสอบเพื่อคัดเลือก ค่าความเที่ยงสำหรับการตัดสินใจแบบอิงกลุ่มหรือการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์  ไม่ต่ำกว่า 0.8 กรณีคุณสมบัติผู้ประเมินต่างโรงเรียน จะต้องมีผู้ประเมินตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 3.3) ผลการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือ (G- Coefficient) ของแบบประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการออกแบบฟาเซตที่ต่างกัน คือ 1) ผู้ประเมินต่างโรงเรียนและโรงเรียนเดียวกันทุกคนตรวจให้คะแนนข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน (Two-Facet Crossed Design) หรือ p x s x r และผู้ประเมินต่างโรงเรียนและโรงเรียนเดียวกันให้คะแนนข้อสอบทุกข้อของผู้สอบเฉพาะคน (Two-Facet Nested Design) หรือ p x (r : s) โดยจำนวนผู้ประเมินเท่ากันและคุณสมบัติผู้ประเมินเหมือนกัน พบว่า แบบประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการออกแบบฟาเซต โดยผู้ประเมินต่างโรงเรียนและโรงเรียนเดียวกันตรวจให้คะแนนข้อสอบทุกข้อของผู้สอบเฉพาะคน (Two-Facet Nested Design) หรือ p x (r : s) มีความเที่ยงสูงกว่าผู้ประเมินต่างโรงเรียนและโรงเรียนเดียวกัน ทุกคนตรวจให้คะแนนข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน (Two-Facet Crossed Design) หรือ p x s x r 4. คุณภาพรูปแบบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้องแม่นยำ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านการใช้ประโยชน์ พบว่า ด้านความถูกต้องแม่นยำ ด้านความเป็นไปได้  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̄= 4.61, S.D.=0.61) ด้านความเหมาะสม และด้านการใช้ประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̄= 4.44, S.D.=0.60)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5834
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RuchiraKongprapan.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.