Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5816
Title: แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานเอกลักษณ์ชุมชนในเมืองรองของภาคเหนือตอนล่าง 2
The guidelines of up-skilling in community leaders’ learning capability in creative tourism based on community identity in secondary cities of lower-northern 2
Authors: Thanyathon Tanno
ธัญยธรณ์ ตันโน
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
Naresuan University
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
thaku@nu.ac.th
thaku@nu.ac.th
Keywords: ผู้นำชุมชน
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
เมืองรองภาคเหนือตอนล่าง 2
แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้
Community leaders
Creative tourism
Secondary cities in the lower northern region 2
Guidelines for learning development
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) study the current state of the learning capability of community leaders in creative tourism management and 2) to search the approaches to develop community leaders' learning capability based on secondary city identity in the lower northern region. Firstly, the researcher employed quantitative research on the sample group including 120 OTOP community leaders in 3 areas of Phichit, namely Ban Khao Lon, Ban Pho Prathap Chang, and Ban Nong Chik Si, and used the Craigie and Morgan tables. The researcher also applied a checklist questionnaire, which has a validity value of 0.6 to 1.00 and can be calculated with a value greater than 0.5. In addition, the researcher examined area potential by SWOT analysis technique and analyze the data by means and standard deviation. Secondly, qualitative research, participatory observation, and interview of 5 tourism professionals or experts in creative tourism management from external organizations were applied in the study accordingly. The research instrument was a semi-structured interview, and the data were analyzed by content analysis. The results showed that 1) the current state of learning capability of community leaders had important components in learning according to the KSAAM model (Knowledge, Skill, Attitude, Attribute, and Creative Tourism Management). 5 aspects and 34 components appeared that the overall learning level of community leaders in 3 villages was at a medium level (x = 3.09). When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest level was management, creative tourism, and knowledge in creative tourism management. For the lowest aspect, the result portrayed the attitude toward creative tourism management. 2) Moreover, the guideline for up-skilling community leaders' learning capability must rely on creative tourism management approaches in service, communication, and participation in order to develop the tourism knowledge of leaders. Lastly, the leaders should come with thinking, planning, decision-making, acting, supervising, practical skills, and participation to integrate with tourism management network agencies in each area appropriately.
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนบนฐานเอกลักษณ์เมืองรองในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมชน OTOP นวัตวิถี จำนวน 120 คน จำนวน 3 พื้นที่ของจังหวัดพิจิตร ได้แก่ บ้านเขาโล้น บ้านโพธิ์ประทับช้าง และบ้านหนองจิกสี โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ คุณภาพของเครื่องมือมีค่าความตรงเท่ากับ 0.6-1.00 ที่คำนวณได้มีค่ามากว่า 0.5 การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ ด้วยเทคนิค SWOT Analysis แล้วนำมาตรวจรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ สังเกตและสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวหรือผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนมีองค์ประกอบสำคัญในด้านการเรียนรู้ตามรูปแบบ KSAAM (Knowledge, Skill, Attitude, Attribute และ Creative Tourism Management) จำนวน 5 ด้าน 34 องค์ประกอบ พบว่า ภาพรวมระดับการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ทั้ง 3 หมู่บ้าน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รองลงมา คือ ด้านความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ ด้านทัศนคติต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2) แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานเอกลักษณ์ชุมชนในเมืองรองของภาคเหนือตอนล่าง 2 ต้องอาศัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านการบริการ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวพัฒนาความรู้ของผู้นำต้องเริ่มต้นด้วยกระบวนการคิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำและควบคุมดูแล และทักษะการปฏิบัติมีส่วนร่วมของผู้นำและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5816
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThanyathonTanno.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.