Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5720
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาจีน
A development of Thai reading Instruction model using project-based learning  to enhance analytical reading ability for chinese students
Authors: Zhong Rulin
Zhong Rulin
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
Naresuan University
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
wareeratk@nu.ac.th
wareeratk@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทย
แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงาน
ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์
Thai reading instructional model
Project-based learning
Analytical reading ability
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to study the condition and problems in analytical reading ability of Chinese students and the guideline for analytical reading ability development of Chinese students. Furthermore, this study aimed to develop and measure the effectiveness index of the Thai reading instructional model. The research also aimed to implement the Thai reading instructional model in order to compare Chinese students’ analytical reading ability between pre- and post-test and study the results of creating the Thai projects that improved analytical reading ability of Chinese student after the Thai reading instructional model implementation. This research aimed to investigate the Chinese students’ satisfaction towards the Thai reading instructional model. This study was conducted using the following four research and development phases according to the research purposes: Step 1: Studying the condition and problems in analytical reading ability of Chinese students and the guideline for analytical reading ability development of Chinese students; Step 2: Developing and Measuring the effectiveness index of the Thai reading instructional model; Step 3: Implementing the Thai reading instructional model; and Step 4: Investigating the Chinese students’ satisfaction towards the Thai reading instructional model. The experimental group consisted of 21 Chinese students, who were studying Thai in the second-year of 2022 academic year, Dianchi College of Yunnan University, selected through simple random sampling, which had a classroom as a unit of randomization. Research instruments were a condition, problems, and guideline for analytical reading ability development of Chinese students structure interviews, the Thai reading instructional model, the Thai reading instructional model handbook, lesson plans, suitability evaluation forms, an analytical reading ability test form, a rubric-based assessment of creating the Thai projects that improved analytical reading ability form, and satisfaction assessment questionnaires. Content analysis, descriptive statistics (Percentage, Mean, Standard deviation), the effectiveness index, and the paired-samples t-test were used for data analysis. The findings revealed that: 1. The results of studying the condition, problems, and the guideline for analytical reading ability development of Chinese students were shown as follows. 1.1 Condition; Chinese students could read and analyze some types of writing such as newspapers and textbooks. Chinese students can find out the main ideas from the story that they read. They can analyze the author's keywords and indications partially and be able to analyze the author's aims from the keywords and the tone of the author. Chinese students are able to analyze the author's interpretation of some words from reading basic passage that consist of sentences from a simple context and briefly tells the main idea, including being able to identify the main idea and interpret the meaning of the readings. Problems; Chinese students can’t understand the connotation of words, groups of words, such as royal words and Thai abbreviation words and both distinguishing sentence structures that are complex sentences in the story. Chinese students can't read parsing Groups of words and sentence structures in the text read by using idioms presentation strategies and idioms in written work. They also are unable to determine the linguistic nature of the sentence and the meaning relationship of words or groups of words from the context of various sentences in the reading text. In addition, Chinese students lack the ability to analyze reading structure of the reading text and understand the main idea of the text, the tone of authors’ voice, the viewpoint, and the author's objectives. Furthermore, they lack ability to convey the meaning of the reading. 1.2 It should be teaching and creating learning activities that encourage Chinese students to practice analytical reading ability by offering comprehension of the text. Before analytical reading practice, the activities should encourage Chinese students to explain words or sentences. In addition, teachers should assess both formative and summative assessment of Chinese students’ analytical reading ability in order to know the improvement of Chinese students’ analytical reading ability. 2. Thai reading instructional model were utilized as the learning activities that can enhance Chinese students’ analytical reading ability through creating the Thai projects, which had been created for practicing analytical reading ability of Chinese students. The Thai reading instructional model’s learning activities included five steps: step 1 Need and problem for selected topics in analytical reading, step 2 Plan to practice analytical reading, step 3 Practice for analytical reading, step 4 Report of practice for analytical reading, and step 5 Presentation to evaluate project for analytical reading. The Thai reading instructional model, the Thai reading instructional model handbook, and lesson plans had the high level of appropriateness with Mean of 4.13, 4.10 and 4.10, respectively. The effectiveness index of the Thai reading instructional model was 0.5517 or 55.17 percent.  3. The results of implementing Thai reading instructional model revealed that: 3.1 Chinese students’ analytical reading ability after the Thai reading instructional model implementation were enhanced and significantly higher than before at a significant level of .01. 3.2 Chinese students created 20 small Thai projects and 5 projects that can enhance analytical reading ability. The projects entitled of The Bear and the Traveler, The Ancient City of Shaxi, Yunnan, which is the only remaining ancient tea horse road market, Safety is happiness, Thai story (cicadas and black ants), and Aesop's fables. According to the assessment of creating Thai projects that can enhance Chinese students’ analytical reading ability, the results of assessing the projects in Thai language that improve analytical reading ability of Chinese students revealed that only 1 group was at an excellent level, accounting for 20 percent of the total number of groups, while the good level, acceptable and to be improved were 1, 2 and 1 group respectively. representing 20, 40 and 20 percent respectively of the total number of groups. 4. Chinese students' satisfaction towards the Thai reading instructional model was at the high level (x̄ = 3.98, S.D. = 0.04).    
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน รวมทั้งแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาจีน 2) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาจีน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักศึกษาจีน โดยศึกษาผล ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3.2) ศึกษาผลการจัดทำโครงงานทางภาษาไทยของนักศึกษาจีนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงาน  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาด้านความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน รวมทั้งแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาจีน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนฯ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2022 Dianchi College of Yunnan University จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งมีห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน 2) รูปแบบฯ 3) คู่มือการใช้รูปแบบฯ และแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ คู่มือการใช้รูปแบบฯ และแผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ 6) แบบประเมินผลการจัดทำโครงงานทางภาษาไทย ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหาด้านความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน และแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน 1.1 สภาพความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน สามารถอ่านงานเขียนและวิเคราะห์ประเภทงานเขียนประเภทหนังสือพิมพ์ ตำรา นิทาน สามารถวิเคราะห์ใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน สามารถวิเคราะห์จากคำสำคัญ คำบ่งชี้ของผู้เขียนในระดับพื้นฐานได้ และสามารถวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของผู้เขียน จากคำสำคัญกับน้ำเสียงของผู้เขียน สามารถวิเคราะห์การสื่อความหมายของผู้เขียนจากบทอ่านโดยเป็นคำที่สื่อความหมายโดยตรงและประโยคจากบริบทที่ง่าย ๆ และบอกใจความสำคัญของเรื่องอย่างคร่าว ๆ รวมทั้งสามารถระบุใจความหลัก สื่อความหมายบทอ่านที่ใกล้เคียง สรุปความของบทอ่านในระดับพื้นฐานได้ สำหรับปัญหาด้านความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน นักศึกษาจีนไม่เข้าใจความหมายแฝงของคำ กลุ่มคำทั้งการแยกแยะโครงสร้างประโยคในเนื้อเรื่อง ไม่สามารถอ่านวิเคราะห์คำราชาศัพท์ คำย่อ คำทับศัพท์ กลุ่มคำและรูปประโยคในเนื้อเรื่องที่อ่านโดยเป็นสำนวนภาษา กลวิธีการนำเสนอและสำนวนภาษาในงานเขียน ไม่สามารถระบุลักษณะทางภาษาของประโยคความซ้อน และความสัมพันธ์ความหมายของคำหรือกลุ่มคำจากบริบทของประโยคต่าง ๆ ในบทอ่านได้ ขาดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โครงสร้างของบทอ่าน และไม่เข้าใจหลักใจความสำคัญของบทอ่าน น้ำเสียง ทรรศนะ มุมมอง วัตถุประสงค์ของผู้เขียน ขาดความสามารถในการสื่อความหมายของบทอ่าน 1.2 แนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาจีน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้นักศึกษาจีนได้ฝึกฝนเรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยเสนอการทำความเข้าใจของบทอ่าน จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาจีนได้อธิบายคำศัพท์หรือประโยค ก่อนเริ่มการอ่าน นอกจากนี้ อาจารย์ผู้สอนควรจะต้องมีการวัดผลและประเมินผลก่อนและหลังการฝึกการอ่านเชิงวิเคราะห์ เพื่อทราบพัฒนาการในการอ่านของนักศึกษาจีนได้ 2. รูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่ได้พัฒนาขึ้นใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาจีนได้เรียนรู้และฝึกฝนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษาค้นคว้าผ่านการทำโครงงานทางภาษาไทย ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเสนอปัญหาและเลือกหัวข้อเรื่องโครงงานในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ขั้นวางแผนเขียนเค้าโครงของโครงงานสู่การฝึกปฏิบัติการอ่านเชิงวิเคราะห์ ขั้นลงมือฝึกปฏิบัติทำโครงงานเพื่อการอ่านเชิงวิเคราะห์ ขั้นเขียนรายงานผลการฝึกปฏิบัติการอ่านเชิงวิเคราะห์ และขั้นนำเสนอโครงงานเพื่อประเมินผลโครงงานการฝึกปฏิบัติการอ่านเชิงวิเคราะห์ ส่วนผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13, 4.10 และ 4.10 ตามลำดับ รูปแบบการเรียนการสอนมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5517 หรือร้อยละ 55.17  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนฯ มีดังนี้ 3.1 คะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาจีนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 10.86 คะแนน และ 21.67 คะแนน คะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ ของนักศึกษาจีนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 นักศึกษาจีนได้ทำโครงงานย่อย จำนวน 20 ผลงาน และโครงงานทางภาษาไทยที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 5 ผลงาน โดยเป็นโครงงานที่ฝึกวิเคราะห์งานเขียนประเภทนิทาน สารคดี และบทความ กรณีศึกษา เรื่อง หมีกับนักเดินทาง เมืองโบราณซาซี ยูนนาน เป็นตลาดบนเส้นทางชาม้าโบราณแห่งเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ ความปลอดภัยก็คือความสุข เรื่องราวของภาษาไทย (จักจั่นกับมดดำ) และนิทานอีสป ทั้งนี้จากการประเมินผลการจัดทำโครงงานทางภาษาไทยที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาจีน พบว่า อยู่ในระดับดีมาก จำนวน 1 กลุ่ม โดยคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนกลุ่มทั้งหมด ส่วนระดับดี พอใช้ และควรปรับปรุง มีจำนวน 1, 2 และ 1 กลุ่มตามลำดับ โดยคิดเป็นร้อยละ 20, 40 และ 20 ตามลำดับ 4. นักศึกษาจีนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.98, S.D. = 0.04)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5720
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ZhongRulin.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.