Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5683
Title: การพัฒนาแบบทดสอบอัตนัยพหุมิติวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
The Development of Multidimensional Essay Test to measure analytical writing skills according to Marzano for students in grade 5
Authors: Naphatsirin Sordjan
ณพัฒฐ์สิริณ สอดจันทร์
Krittayakan Topithak
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Naresuan University
Krittayakan Topithak
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
krittayakant@nu.ac.th
krittayakant@nu.ac.th
Keywords: แบบทดสอบอัตนัยพหุมิติ
ทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์
แนวคิดของมาร์ซาโน
multidimensional subjective test
analytical writing skills
Marzano's framework
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop a multidimensional subjective test to measure analytical writing skills and 2) to examine the quality of a multidimensional subjective test measuring Marzano's analytical writing skills by quantitative research. The sample consisted of 410 students studying at grade 5, semester 2, academic year 2022 under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 chosen by multistage random sampling. The tool of this research was a multidimensional subjective test to measure analytical writing skills. The data were analyzed by software packages.   The results showed that there was a correlation coefficient between the questions between 0.108 to 0.977, and the structural validity by multidimensional analysis method, the deviance (G2) of the multidimensional model equals to -9505.744, the unidimensional model equlas to 18595.07, and the multidimensional and unified analytical writing model had AIC values of 19111.489 and 18973.07 respectively. When analyzing the structural validity of multidimensional model, the X2  was 11.226, RMR, = 0.015, RMSEA = 0.025 and the reliability ranged from 0.126 to 0.879. The multidimensional subjective test measuring analytical writing was effective in distinguishing between students with different levels of analytical writing skills. The test's average difficulty indicates that the test is challenging and accurately measures analytical writing skills. The distribution of the difficulty parameters of the exam questions varied from 0.19 to 23.37, indicating a wide range of difficulty levels. Teachers can use this information to design future challenging learning arrangements, to accurately measure student skills. It can also be used to identify areas where students may need additional help or advice to improve their analytical writing skills as well.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบอัตนัยพหุมิติวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ ตามแนวคิดของมาร์ซาโน และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบอัตนัยพหุมิติวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยจำนวน 410 คน เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบอัตนัยพหุมิติวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.108 ถึง 0.977ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์พหุมิติ มีค่าสถิติดีเวียนซ์ (G2) ของโมเดลพหุมิติ = -9505.744 โมเดลเอกมิติ 18595.07 โมเดลการเขียนเชิงวิเคราะห์แบบพหุมิติและเอกมิติ มีค่า AIC เท่ากับ 19111.489 และ18973.07 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างมีค่า X2 เท่ากับ 11.226 RMR = 0.015, RMSEA = 0.025 และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.126 ถึง 0.879 แบบทดสอบอัตนัยพหุมิติวัดการเขียนเชิงวิเคราะห์มีประสิทธิภาพในการจำแนกระหว่างนักเรียนที่มีทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ในระดับต่างๆ ความยากเฉลี่ยของแบบทดสอบแสดงถึงแบบทดสอบที่มีความความท้าทายและสามารถวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ การกระจายของพารามิเตอร์ความยากของข้อคำถามในการสอบแตกต่างกัน ตั้งแต่ 0.19 ถึง 23.37 ซึ่งแสดงถึงระดับความยากที่หลากหลาย ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในอนาคตที่ท้าทาย เพื่อวัดทักษะของนักเรียนได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถใช้ระบุส่วนที่นักเรียนอาจต้องการความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ได้อีกด้วยเช่นกัน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5683
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NaphatsirinSordjan.pdf5.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.