Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5660
Title: แนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
THE GUIDELINE FOR THE IMPROVEMENT OF LEARNER’S QUALITY IN SCHOOLS UNDER PHITSANULOK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Authors: Punyanut Muengdang
ปุณยนุช เมืองแดง
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
anuchako@nu.ac.th
anuchako@nu.ac.th
Keywords: คุณภาพผู้เรียน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
กระบวนการบริหารและการจัดการ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวทางการยกระดบคุณภาพผู้เรียน
Learner's quality
Factors effecting the quality of students
Administration and management
Student-Centered Learning
Quideline for the improvement of learner's quality
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The study aims to 1) develop the prediction equations of factors affecting learner’s quality and 2) suggest the guideline for the improvement of learner’s quality in schools under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3. Key informants consisted of 1) 306 administrators and teachers in school under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 selected through stratified sampling and 2) 5 experts. The five-point-scale questionnaire, consisting of 36 items about factors that affect the quality of learners, in which the Index of Item-Objective Congruence (IOC) was 1.00 while the validity value of 4 factors was between 0.89 and 0.97, and the questionnaire about the guideline for the improvement of learner’s quality were employed for data collection. The data was then analyzed, using statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Correlation Coefficient, multiple regression analysis, and content analysis. The findings showed that 1) In overall, both predictor variables including the learner-centered teaching process and administration and management process affected all 3 criterion variables which were learner’s quality, learning achievement, and desired characteristics by 57.50%, 41.70%, and 56.90% respectively. Three prediction equations could be written as followed; Ŷ (learner’s quality) = 0.636 + 0.654X2 + 0.165X1 ŹY (learner’s quality) = 0.617Z(X2) + 0.181Z(X1) Ŷ1 (learner’s learning achievement) = 0.455 + 0.684X2 + 0.143X1 ŹY1 (learner’s learning achievement) = 0.544Z(X2) + 0.132Z(X1) Ŷ2  (learner’s learning characteristic) = 0.817+ 0.624X2 + 0.188X1 ŹY2 (learner’s learning characteristic) = 0.591Z(X2) + 0.207Z(X1) 2) For the guideline for the improvement of learner’s quality including learning achievement and desired characteristics, in terms of the leaner-focused teaching process, teachers should lead learners by example and apply positive psychology to their teaching to enhance leaner’s discipline, build awareness and self-esteem, and inspire them. Furthermore, to improve executive functions of the brain, they could promote teamwork, employ technology and learning management innovation, and develop learner’s potential in accordance with individual aptitudes and interests of learners. In terms of administration and management process, school administrators should provide a clear administration process by setting school goals with a developmental evaluation that highlights collaborative networks in developing learner’s characteristics. In addition, they could constantly improve the school’s internal quality assurance: the PLC process could be applied for driving teachers’ active learning and promoting learner’s quality. Teachers should be encouraged to use media technology and internal supervision systematically and the teaching and performance evaluation results could be used for further and continuous improvement.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัย ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและ 2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณูโลก เขต 3 จำนวน 306 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน จำนวน 36 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหา ดัชนี IOC เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าความเที่ยงของตัวแปร 4 ด้าน อยู่ระหว่าง 0.89 – 0.97 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s Product Correlation Coefficient) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวมตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) กระบวนการบริหารและจัดการ ส่งผลต่อตัวแปรเกณฑ์ทั้ง 3 ตัว ได้แก่ตัวแปรคุณภาพผู้เรียน ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และตัวแปรคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยสามารถอธิบายตัวแปรเกณฑ์ทั้ง 3 ได้ ร้อยละ 57.50, 41.70 และ 56.90 ตามลำดับ โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ทั้ง 3 สมการ ดังนี้ Ŷ (คุณภาพผู้เรียน) = 0.636 + 0.654X2 + 0.165X1 ŹY (คุณภาพผู้เรียน) = 0.617Z(X2) + 0.181Z(X1) Ŷ1 (ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน) = 0.455 + 0.684X2 + 0.143X1 ŹY1 (ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน) = 0.544Z(X2) + 0.132Z(X1) Ŷ2  (คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน) = 0.817+ 0.624X2 + 0.188X1 ŹY2 (คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน) = 0.591Z(X2) + 0.207Z(X1) 2) แนวทางการยกระดับคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้น ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน และใช้จิตวิทยาเชิงบวกเข้ามาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนและการสร้างวินัยและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้เรียน ให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง สร้างแรงบันดาลใจ และการพัฒนาทักษะทางสมอง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม นำสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เข้ามาปรับใช้ พัฒนาศักยภาพตามความถนัด และความสนใจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างรายบุคคล และ ด้านกระบวนการบริหารและจัดการ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีกระบวนการบริหารที่ชัดเจน โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (School Goals) โดยใช้กระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ที่เน้นการสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง นำกระบวนการ PLC มาขับเคลื่อนการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active learning) ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยี นิเทศภายในอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินการจัดการเรียนรู้และการพัฒนางานมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5660
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PunyanutMuengdang.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.