Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5639
Title: การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ ARCS เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 
THE DEVELOPMENT OF CRITICAL THINKING ABILITY THRUOGH ARCS MODEL LEARNING ACTIVITIES ABOUT THE SEQUENCE AND SERIES OF STUDENTS IN GRADE 12
Authors: Nawapol Chaichana
นวพล ชัยชนะ
Kasamsuk Ungchittrakool
เกษมสุข อุงจิตต์ตระกูล
Naresuan University
Kasamsuk Ungchittrakool
เกษมสุข อุงจิตต์ตระกูล
kasamsuku@nu.ac.th
kasamsuku@nu.ac.th
Keywords: ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์
การเรียนรู้รูปแบบ ARCS
ลำดับและอนุกรม
Critical Thinking Ability
ARCS Learning Model
Sequence and Series
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of the research were: 1) to study the appropriate learning activities based on ARCS model, and 2) to develop the critical thinking ability through learning activities based on ARCS model about the sequence and series of students in grade 12. The research processes were an action research consisting of planning, action, observation, and reflection. It operated continually for 4 cycles. The research participants consisted of 12 students in grade 12. The research tools were lesson plans, reflection form, activity sheets, and a critical thinking ability test. The results showed that: 1) Learning activities based on ARCS model to develop critical thinking ability should focus on: 1.1) In attention part, teacher should ask questions and give examples of situations; 1.2) In relationship part, teacher should link between the definition/theorem of sequences and series to real situations; 1.3) In confidence part, teacher should argue with appropriate reasons; and 1.4) In satisfaction part, teacher should find various answers, 2) The development of critical thinking ability of students in grade 12  were: 2.1) During learning, students’  critical thinking abilities were developed in overall, 2.2) After learning, most students’ critical thinking abilities (89.85%) were at a good level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ ARCS เรื่อง ลำดับและอนุกรม 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ ARCS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กระบวนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล ต่อเนื่องกัน 4 วงจรปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสะท้อนผล ใบกิจกรรม และแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์  ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการสะท้อนผล ได้แก่ 1.1) ขั้นสร้างความสนใจควรตั้งคำถามและยกตัวอย่างสถานการณ์ 1.2) ขั้นสร้างความสัมพันธ์ควรเชื่อมโยงระหว่างนิยาม/ทฤษฎีบทของลำดับและอนุกรมกับสถานการณ์จริง 1.3) ขั้นสร้างความมั่นใจควรวิพากษ์โดยอ้างเหตุผลอย่างสมเหตุสมผล และ 1.4) ขั้นสร้างความพึงพอใจควรหาแนวทางในการหาคำตอบอย่างหลากหลาย 2) การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 2.1) ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์สูงขึ้น และ 2.2) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 89.85
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5639
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NawapolChaichana.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.