Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5539
Title: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับเทคนิค memonry model
The Development of Klong Sie Suparp Composing achievement for Matthayomsuksa Three Students with Active Learning Skill and Memory Model Technique
Authors: Fa-amporn Singtong
ฟ้าอำพร สิงห์ทอง
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
Naresuan University
Omthajit Pansri
อ้อมธจิต แป้นศรี
omthajitp@nu.ac.th
omthajitp@nu.ac.th
Keywords: การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
กระบวนการ Active learning
เทคนิค memory model
Klong Sie Suparp Composing
Active learning process
memory model technique
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) to compare the achievements of composing poems before and after organizing activities using Active learning process and memory model technique 2) to compare the achievements of composing poems with 80% criteria and 3) to study satisfaction of students on activities organized by Active learning process combined with memory model technique. The population is Mathayomsuksa 3 students, semester 2, academic year 2022, Prankratai Pittayakhom school, there are 9 classrooms, 295 students. The sample group is Mathayomsuksa 3/1 students, 35 students at Prankratai Pittayakhom school, academic year 2022 obtained by simple randomization. The tools used in the research were: 1) a learning management plan Activity management using Active learning process combined with memory model technique 2) Achievement test for composing poems and 3) Student satisfaction questionnaire on activities organized by Active learning process combined with memory model technique. Statistics that used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, dependent t-test.              The results showed that 1) the students' achievement in composing poetry after the learning management was higher than before the learning management at the statistical significance level of .05; The Active learning process combined with the memory model technique had learning achievement higher than the 80% criterion at the statistical significance level of .05 and 3) students were satisfied after learning management by learning design. At the highest level, the mean was 4.80 and the standard deviation (S.D.) was 0.39.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพก่อนและหลังการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับ เทคนิค memory model  2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 80  และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับ เทคนิค memory model ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม 9 ห้องเรียน จำนวน 295 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับเทคนิค memory model 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับเทคนิค memory model สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active learning ร่วมกับเทคนิค memory model มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.80 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.39  
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5539
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fa-ampornSingtong.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.