Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5533
Title: การสร้างแบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
The Development of Time Management Measurement for Graduate Students
Authors: Panadda Kongmon
ปนัดดา กองมนต์
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
Naresuan University
Nattakan Prechanban
ณัฐกานต์ ประจันบาน
nattakanp@nu.ac.th
nattakanp@nu.ac.th
Keywords: แบบวัด, การบริหารจัดการเวลา, เกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่น
Measurement time management local norms
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract:         This study aimed 1) to develop and determine the quality of time management measurement (TM) for graduate students and 2) to create local norms for time management measurement (TM) for graduate students. The sample included 658 first and second-year graduate students through multi-stage random sampling. The research instrument was time management measurement for graduate students as a behavioral measurement with 5 scales with 38 questions. Statistics for data analysis included mean, scatter coefficient, skewness, kurtosis, percentile, normally distributed standardized t-score, and confirmatory factor analysis. Data were analyzed using the SPSS for Windows, the Mplus program, and Microsoft Excel.           The findings were as follows:           1. As for time management measurement for graduate students developed by the researcher, 5 components included the realization of work objectives, time planning, plan implementation, time estimation, and time management improvement. There were 10 indicators: understanding the task, task goal setting, work schedule, prioritization of tasks, work implementation, dealing with problems and obstacles, following up on progress in implementation, problem analysis, corrective action in time management, and behavior modification with a total of 38 questions, the IOC of 0.60 - 1.00, the discrimination power of 0.42 - 0.78, and the reliability of 0.937. The measurement had construct validity (Chi-squared = 31.625, df = 22, p-value = 0.084, RMSEA = 0.045, CFI = 0.992, TLI = 0.984, and SRMR = 0.028).           2. The local norms of time management measurement for graduate students were divided into 4 levels: high time management with a score of 162 or higher (≥T57), quite high time management with a score from 152 to 161 (T50 – T56), moderate time management with a score from 139 to 151 (T42 – T49), and low time management with a score of fewer than 139 points (less than T42).
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ สำหรับใช้กับแบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-2 จำนวน 658 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงพฤติกรรมประมาณค่า 5 ระดับ รวมจำนวนข้อคำถาม 38 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย สัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐานทีแบบแจกแจงปกติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โปรแกรม Mplus และโปรแกรม Microsolf Office Excel           ผลการวิจัย พบว่า           1. แบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการตระหนักถึงเป้าหมายของการทำงาน ด้านการวางแผนการใช้เวลา ด้านการดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ด้านการประเมินการใช้เวลา และด้านการปรับปรุงการใช้เวลา ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การทำความเข้าใจกับงาน การกำหนดเป้าหมายของงาน การกำหนดเวลาในการทำงาน การจัดลำดับความสำคัญของงาน การปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้ การจัดการกับปัญหาและอุปสรรค การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น การดำเนินการแก้ไขในการจัดการเวลาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 38 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00  มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42 ถึง 0.78 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.937 และแบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-squared = 31.625, df = 22, p–value = 0.084, RMSEA = 0.045, CFI = 0.992, TLI = 0.984 และ SRMR = 0.028)           2. เกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่น (Local Norms) ของแบบวัดการบริหารจัดการเวลา (Time Management : TM) สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ การบริหารจัดการเวลาสูง เมื่อมีคะแนน 162 คะแนนขึ้นไป (≥T57), การบริหารจัดการเวลาค่อนข้างสูง เมื่อมีคะแนนตั้งแต่ 152-161 คะแนน (T50 – T56), การบริหารจัดการเวลาปานกลาง เมื่อมีคะแนนตั้งแต่ 139-151 คะแนน (T42 – T49), และการบริหารจัดการเวลาต่ำ เมื่อมีคะแนนน้อยกว่า 139 คะแนน (น้อยกว่า T42)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5533
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PanaddaKongmon.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.