Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5517
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Learning Activities based on the SQP2RS      Strategy  with the Brain-based Learning Principle to Enhance Reading Comprehension Ability for Students in Grade 6
Authors: Kittaphon Prachantasena
กฤตพร ประจันตะเสน
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
Naresuan University
Chamnan Panawong
ชำนาญ ปาณาวงษ์
chamnanp@nu.ac.th
chamnanp@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS
หลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ
Learning Activities
SQP2RS Strategy
Brain-based Learning
Reading Comprehension Ability
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to construct and determine the efficiency of learning activities based on the SQP2RS strategy with the brain-based learning principle to enhance reading comprehension ability for students in grade 6 according to the 75/75 criteria, 2) to compare the ability of reading comprehension in Thai language before and after studying by using learning activities based on the SQP2RS strategy with the brain-based learning principle, 3) to study the effect of using learning activities based on the SQP2RS strategy with the brain-based learning principle. The research was carried out by research and development methodology. The sample consisted of 15 students in grade 6 at Ban Plai Chumphon School, under the office of Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1, semester 2, academic year 2022, which were selected by purposive sampling. The research tools consisted of 1) the learning activities based on the SQP2RS strategy with the brain-based learning principles, 2) the reading comprehension ability test, 3) the record for using learning activity. Data were analyzed by using mean, standard deviation, percentage, t-test and content analysis. The results showed that; 1. The learning activities according to the SQP2RS strategy with the brain-based learning principles had 5 developed activities, namely, 1) reading comprehension activities from the short stories, 2) reading comprehension activities from the tales, 3) online reading comprehension activities, 4) reading comprehension activities from the news, and 5) reading comprehension activities from the interesting short stories. The results of assessment were suitable at the highest level (= Mean 4.96, S.D. = 0.07) and the appropriateness of the learning activity plan was at the most appropriate level( Mean= 4.72, S.D. = 0.32) and the efficiency was 76.43/77.14, which met the criteria. 2. The students had the ability in reading the main ideas after studying with learning activities based on the SQP2RS strategy with the brain-based learning principle to enhance reading comprehension ability for students in grade 6, which was higher than before studying at statistical significance. 3. The students were able to develop their reading comprehension ability because the activities organized were learning-oriented activities that suitable for the age of learners and consistent with brain development, which provided them the opportunity to gain various experiences and interact with their surroundings. Furthermore, the activities practiced with the strategy that focused on allowing students to explore the writings before they start reading, then encouraged students to ask questions and guess the answer before starting to read thoroughly, therefore, leading to a synthesis for drawing conclusions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพลายชุมพล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ 3) แบบบันทึกผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมีกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น 5 เนื้อหา ได้แก 1) อ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้น 2) อ่านจับใจความจากนิทาน 3) อ่านจับใจความสำคัญจากบทความออนไลน์ 4) อ่านจับใจความสำคัญจากข่าว 5) อ่านจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้นที่สนใจ ผลการประเมิน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( Mean= 4.96 , S.D. = 0.07) และค่าความเหมาะสมของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( Mean= 4.72, S.D. = 0.32) และมีค่าประสิทธิภาพ 76.43/77.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 2. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS ร่วมกับหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนสามารถพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญได้ เนื่องจากกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียนและสอดคล้องกับพัฒนาทางสมอง  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว รวมไปถึงเป็นกิจกรรมที่ฝึกฝนการอ่านจับใจความสำคัญด้วยกลวิธีที่เน้นให้นักเรียนได้สำรวจงานเขียนก่อนเริ่มอ่านเพื่อให้นักเรียนเข้าใจข้อมูลพื้นฐานของเรื่องนั้น ๆ จากนั้นกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามและคาดเดาคำตอบซึ่งเป็นการกระตุ้นความคิดให้รู้จักการตรวจสอบคำถาม ก่อนลงมืออ่านอย่างละเอียดอีกครั้ง จึงนำมาสู่การสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปในบทอ่าน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5517
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KittaphonPrachantasena.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.