Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5495
Title: อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า : กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)
THE FUTURE OF EDUCATIONAL SUPERVISION FOR SUPERVISORS UNDER THE PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE IN THE NEXT DECADE : IN CASE OF TECHNOLOGY CONTENT (COMPUTING SCIENCE)
Authors: Pattaporn Kamjan
พัสฏาพรห์ คำจันทร์
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
Naresuan University
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
thaku@nu.ac.th
thaku@nu.ac.th
Keywords: การนิเทศการศึกษา
วิทยาการคำนวณ
ศึกษานิเทศก์
อนาคตภาพ
Supervision
Computing Science
Supervisors
The Future
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to 1) study the current situation and problems of educational supervision and 2) study the future potential of educational supervision for supervisors under the primary education service area office in the next decade: in case of technology content (computing science) using the EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) methodology. The research includes interviews and surveys of 25 experts in educational supervision who have specialized skills and experience in technology content (computing science), particularly in primary schools, and have served as coding mentors in accordance with the instructions of the office of the basic education commission for two cycles. Statistical analysis methods such as percentages, median, and interquartile range were used in the study. The research findings reveal that 1) the current situation and issues of educational supervision for supervisors under the Primary Education service area office in the next decade: in case of technology content (computing science), consist of four aspects: 1.1) planning for educational supervision, 1.2) creating educational supervision tools, 1.3) conducting educational supervision, and 1.4) evaluating the results of educational supervision. 2) The future of educational supervision for supervisors under the primary education service area office in the next decade: in case of technology content (computing science), according to the expert's opinion, consists of four aspects: the planning of educational communication should create a team for communication; the creation of educational communication tools should be easy to use, beneficial in problem-solving, and improve the quality of education; the practice of educational communication should have an after-action review (AAR) that summarizes and reflects on the results of the communication process, using open-ended questions to gather feedback from the recipients; and the evaluation of educational communication should take into account the problems, obstacles, and suggestions for improvement from the previous communication process.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษา และ 2) ศึกษาอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) จากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์แบบสอบถามจากข้อมูลความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ผู้มีประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษา สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป มีประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และเป็น Coding Mentor ในระดับประถมศึกษา ตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 รอบ ใช้สถิติในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.1) การวางแผนการนิเทศการศึกษา 1.2) การสร้างเครื่องมือการนิเทศการศึกษา 1.3) การปฏิบัติการนิเทศการศึกษา และ 1.4) การประเมินผลการนิเทศการศึกษา  และ 2) อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศการศึกษา ควรสร้างทีมในการนิเทศ ด้านการสร้างเครื่องมือการนิเทศการศึกษา ควรเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ควรมีการสรุปผลการนิเทศ/สะท้อนผลการนิเทศ (AAR) ให้ผู้นิเทศได้ทราบ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้รับการนิเทศได้แสดงความคิดเห็น ด้านการประเมินผลการนิเทศการศึกษา ควรนำผลการนิเทศที่เป็นปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะไปพัฒนาการนิเทศในครั้งต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5495
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PattapornKamjan.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.