Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5079
Title: การสร้างแบบวัดการระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bully) สำหรับนิสิตปริญญาตรี
Construction of Cyber Bully Scale for Undergraduate Students
Authors: RACHAN TAWEKANACHOT
ราชัน ทวีคณะโชติ
Nanthiman Asvaraksha
นันทิมา นาคาพงศ์ อัศวรักษ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: แบบวัด
การระรานทางไซเบอร์
เกณฑ์ปกติระดับชาติ
Scale
Cyber Bully Scale
National norms
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to construct a scale, 2) to determine the quality of the measure, and 3) to establish norms of the cyber bullying scale for undergraduate students. sample group is a bachelor for the academic year 2021, there were 960 students using Multi-stage Sampling. The instrument used was the Likert Rating Scale. The data were analyzed using statistics. Construct Validity by Second Order Confirmatory Factor Analysis (CFA) by Mplus program. and finding a normal T-score. The results of the research found that 1) The Cyber Threat Scale consists of 3 components, 9 indicators, 39 questions. 2) Cyberbullying indicator the correlation coefficients ranged from .482 - .848, Factor loading 0.677 - 0.991, and were statistically significant at the .05 level for all indicators. The model coherence index consisted of the Chi-square statistic = 30.341. p-value = 0.065 CFI = .994 TLI = .989 RMSEA = .046 and SRMR = .019, indicating that the corroborative component analysis model of the Cyber Bully model for undergraduate students consistent with the empirical data and structurally straight. 3) The measure's national norm was mean = 59.63, S.D. = 18.29, with a percentile rank score range of 0.2-100.0, and a normalized T-score range of 21 – 89
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแบบวัด 2) หาคุณภาพของแบบวัด และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัดการระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bully) สำหรับนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 960 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดที่มีรูปแบบเป็นมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis : CFA) ด้วยโปรแกรม Mplus การหาตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ และการหาคะแนน T ปกติ  ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบวัดการระรานทางไซเบอร์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ 39 ข้อคำถาม  2) ตัวบ่งชี้การระรานทางไซเบอร์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .482 - .848 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.677 – 0.991 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกตัวบ่งชี้ ค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดล ประกอบด้วย ค่าสถิติ Chi-square = 30.341 p-value = 0.065 CFI = .994 TLI = .989 RMSEA = .046 และ SRMR = .019 แสดงว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bully) สำหรับนิสิตปริญญาตรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง และ 3) เกณฑ์ปกติระดับชาติของแบบวัดมีค่าเฉลี่ย = 59.63, S.D. = 18.29 มีช่วงคะแนนเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile Rank) อยู่ระหว่าง 0.2-100.0 และมีช่วงคะแนนทีปกติ (Normalized T-score) อยู่ระหว่าง 21 - 89
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5079
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090794.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.