Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5045
Title: กำลังเรียกใช้ข้อมูล โปรดรอสองถึงสามวินาทีแล้วลองตัดหรือคัดลอกอีกครั้ง
Management Model to Enhance Learning Management in Digital Era of Secondary Teachers
Authors: Chanon Kampiwtha
ชานนท์ คำปิวทา
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการบริหาร
การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา
Management Model
Digital Leaning Management
Secondary school teachers
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to develop a management model to enhance learning management in the digital era of secondary school teachers. The research methodology was divided into 3 steps as follows: 1) a study of basic information for administration to enhance learning management in the digital era of secondary school teachers by exploratory factor analysis from 332 teachers, Interviews with 5 experts and studying 4 schools as best practices. The research instruments were questionnaire and interview 2) creating and validating management models to enhance learning management in the digital era of secondary school teachers by 10 experts through focus group discussion and 3) an evaluating of the management model to enhance learning management in the digital era of secondary school teachers from 160 school administrators by using feasibility and utility questionnaire.         The results of the research were as follows: 1) The management model to enhance learning management in the digital era of secondary school teachers consisted of 3 components: 1. Digital learning management supported factors of secondary school teachers; 2. Digital learning management process of secondary school teachers and 3. Digital learning management of secondary school teachers 2) the developed administrative model to enhance learning management in digital era of secondary school teachers showed the feasibility, overall, was at a high level, and the usefulness, overall, was at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจจากครู  จำนวน  332  คน  สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 5 ท่าน  และการศึกษาจากสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี  (Best Practice)  จำนวน 4 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 160 คน โดยใช้แบบสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์               ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 2 คือ กระบวนการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา และ องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา และรูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5045
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62030937.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.