Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5043
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู
The hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students' innovators
Authors: MAYUREE PHITTHAYASENEE
มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์
Supanee Sengsri
สุภาณี เส็งศรี
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ความเป็นนวัตกร
hybrid instruction
design thinking process
internship
innovator
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research and development study objectives were: 1. to study elements and process of the hybrid instructional by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators, 2. to develop the hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators, and 3. to implement the hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators.  The sampling technique was used in selecting 39 samples studying in the second semester, academic year 2021.  They were the third year teacher students studying in the Bachelor of Education Degree (four year curriculum), Lampang Rajabhat University 2019 developed curriculum. The research tools were the synthesis record, the teacher students’ instructor assessment, the innovator behavior assessment, the innovation thinking skill assessment, the innovation work assessment, and the opinion assessment. The data were analyzed by using mean, percentage, t-test, and standard deviation. The research results revealed that: 1. The 6 main elements of the hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators were 1) technology, 2) teacher 3) students teacher, 4) mentor, 5) content design and development, and 6) the constructionism approach.  2. The hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators was appropriate at the mean scores of 4.16 at the high level. 3. The implementation results of the hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote teacher students’ innovators were 1) the innovation work scores after studying were significantly higher than the criteria at the statistic level of .05, 2) the innovator behavior scores after studying were significantly higher than the criteria at the statistic level of .05, 3) the innovation thinking skill scores after studying were significantly higher than the criteria at the statistic level of .05, and 4) student teachers’ opinion toward learning activity mean scores were 4.57 at the highest level. 4. The results of the hybrid instructional model development by using design thinking process and internship to promote the innovator of the student teachers developed with the mean of 4.63 were appropriate at the most level.
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู 2. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู และ 3. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู 4. รับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสังเคราะห์ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้สอนนักศึกษาครู แบบประเมินพฤติกรรมนวัตกร แบบประเมินทักษะการคิดนวัตกรรม แบบประเมินผลงานนวัตกรรม และแบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบหลักของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครูมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคโนโลยี 2) ผู้สอน 3) นักศึกษาครู 4) ครูพี่เลี้ยง 5) เนื้อหาการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม และ 6) แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู มีความเหมาะสมสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับมาก 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครู 1) คะแนนผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาครูหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนพฤติกรรมนวัตกรของนักศึกษาครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) คะแนนทักษะการคิดนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษาครูมีระดับความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5043
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62030593.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.