Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5036
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูประถมศึกษา
THE DEVELOPMENT OF TRAINING  CURRICULUM TO ENHANCE ACTIVE LEARNING  MANAGEMENT COMPETENCY  THROUGH COACHING AND MENTORING  FOR  PRIMARY TEACHERS
Authors: SUPHANNIGA SUTTALUANG
สุพรรณิการ์ สุทธหลวง
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: หลักสูตรฝึกอบรม
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง
Training curriculum
Active learning management competency
Coaching and mentoring
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to develop the development of training curriculum to enhance active learning management competency-based through coaching and mentoring for the primary teachers. There were four steps: Step 1) Studying basic information for development the training curriculum by study the academic documents, focus group and interview, Step 2) Creating and examining the quality of the training  curriculum by the expertise and taking pilot study with 8 teachers who were not purposive sampling and re-edited the curriculum, Step3) Exploring the results of using The development of training curriculum to enhance active learning management competency-based through coaching and mentoring for the primary teachers in 35 teachers who aimed to intention the curriculum and taking Active Learning management competency assessment compared to the specified criteria 75 percentages Step 4) assessing of teacher’s opinion through  the training curriculum in term of Input, Process and Product after implementing the training curriculum. The research instruments were training curriculum, training curriculum manual, taking Active Learning management competency assessment and Questionnaire for opinions through the training curriculum. The statistics for analysis data were percentage, mean, standard deviation and t-test for Dependent Sample Group. The results are as follows. 1. Regarding the basic information needed for development training curriculum were founded that the key concept of training curriculum consisted of the process to enhance the teachers expressing the behavior in knowledge, skills and attributes in the active learning management competency. The training curriculum were emphasized the training process of coaching and mentoring approaches in guiding teachers and giving suggestions of Active Learning Management 2. Regarding creating and examining the quality of training curriculum, The training curriculum had 6 elements, these are 1)Principle 2) Competency 3) The Structure 4) The Development Guidelines 5) Resources 6) Measurement And Evaluation. The results of evaluation the appropriateness of  training curriculum was at the high level. the Active Learning  Management Competency consisted of 1)Understanding about Active Learning Management Concept 2)Planning and Designing Active Learning  Management 3) Active Learning  Management skills 4)The ability to use digital technology  in Active Learning  Management and evaluating learning outcomes.5)The ability to be Facilitator 6)Having the attribute and leadership in Active Learning Management. There were four phase of development: 1) Training preparation phase and training Coaches and Mentors 2) the training phase 3) The Teaching practice and Coaching and Mentoring Process phase (4 stages were 1) Self Analyzing 2) Coaching Mission 3) Coaching and Mentoring and 4) Evaluating) 4) Conclusion phase. After to imply the training curriculum founded that the pilot study teachers had active learning management competency higher than the criterion at 75 percentages to a statistically significant degree (p<0.05) 3. Regarding the results of the use of curriculum, The target group of teachers who aimed to intentioned in the project were 35 people. It was found that after participating in the development of curriculum to enhance active learning management competency-based through coaching and mentoring for the primary teachers all 3 sessions were significantly higher than the 75% threshold at the .05 level. 4. The results of the assessment the teacher’s opinion In terms of input, process, and product, it was found that teachers' opinions on the curriculum were appropriate at a high level (x̅ = 4.27, S.D. = 0.63).
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูประถมศึกษา มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น โดยการศึกษาจากเอกสาร เกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร   โดยการยกร่างหลักสูตรเสริมตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร  และทดลองศึกษานำร่อง เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรก่อนนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง  กับครู 8 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย  และการปรับปรุงหลักสูตรก่อนการนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง  ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาที่ประสงค์เข้าร่วมหลักสูตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  จำนวน 35 คน  และประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75   ขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร โดยประเมินด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ 1) หลักสูตร 2) คู่มือการใช้หลักสูตร 3) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ  ผลผลิต หลังเสร็จสิ้น การใช้หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน   ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหลักสูตรฝึกอบรม ควรเป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการพัฒนาที่ส่งเสริมให้ครูมีพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามสมรรถนะครู เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีกระบวนการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง ในการช่วยเหลือและให้คำแนะนำ 2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมาย 2) สมรรถนะ  3) โครงสร้าง 4) แนวทางการพัฒนา 5) ทรัพยากร  6) การวัดและประเมินผล  โดยมีคุณภาพของหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษานำร่องใช้หลักสูตรฝึกอบรมและประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย สมรรถนะที่ 1  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สมรรถนะที่ 2 ความสามารถวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สมรรถนะที่ 3  ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก  สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้ สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สมรรถนะที่ 6 มีคุณลักษณะและภาวะผู้นำในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แนวทางการพัฒนา 4 ระยะ คือ  1)ระยะเตรียมการอบรมและให้ความรู้ผู้ชี้แนะ และพี่เลี้ยง 2)ระยะการอบรมให้ความรู้  3)ระยะการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและกระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ตนเอง 2) สร้างพันธสัญญาในการชี้แนะ 3)ชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง 4) ประเมินผล 4)ระยะการสรุปผล  ผลการศึกษานำร่องพบว่าครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 3. ผลการใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 35 คน  พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง สำหรับครูประถมศึกษา ทั้ง 3 ครั้ง  สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.  ผลประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตร  ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรในภาพรวมว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅ = 4.27, S.D. = 0.63)
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5036
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031317.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.