Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5034
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL FOR ENHANCING SCIENTIFIC CITIZENSHIP OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: WIPA ARSINGSAMANAN
วิภา อาสิงสมานันท์
Sureeporn Sawangmek
สุรีย์พร สว่างเมฆ
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้
ความเป็นพลเมือง
ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Learning Management Model
Citizenship
Scientific Citizenship
Upper Secondary School Students
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to synthesize the meaning, components, and indicators of scientific citizenship, and 2) to develop a learning management model for enhancing the scientific citizenship of upper secondary school students. The meaning, components, and indicators were conducted by the document analysis method from 2000 to 2020, and semi-structured interviews were carried out with 5 experts. The data were analysed by content analysis. Afterward, the collected data were utilised to create and verify the quality of the learning management model. The 5 experts examined the appropriateness of the learning management model and conducted pilot trials to determine the feasibility of practical application. Subsequently, the developed learning management model was applied to grade 10 students comprised of 53 participants studying in the second semester of 2020 at a large school in Phitsanulok Province, Thailand. Purposive sampling was applied for identifying the samples. The collected data were obtained through a scientific citizenship test containing 13 open-ended questions. The analysis aimed to compare the average of the pre-test and post-test scores by t-test for dependent sample. The cut-off score was used as a criterion compared with post-test scores by a t-test for one sample at a significance level of .05. The research results indicated that 1) scientific citizenship refers to a person who has scientific knowledge as well as scientific skills, and understands the nature of science, thus being able to apply scientific knowledge as a basis for living and having the capacity to express their position in society with reason. There are 3 components with 7 indicators. The personal component means that a person must have scientific knowledge and contemporary scientific knowledge. There are 3 indicators including basic scientific knowledge, scientific inquiry, and scientific mind. The social interaction component means that a person can work with others, make scientific arguments, and make decisions based on scientific knowledge, information, news, and livelihood to solve problems of coexistence in society related to science. There are 2 indicators including scientific argumentation and decision-making. The social awareness component means that a person has to be self-aware of personal thoughts, decisions, and behaviours in a society related to science. There are 2 indicators including self-awareness and public awareness according to social duties. The suitability results of meaning, components, and indicators were at the most appropriate level, with an average of 4.58. The research results also indicated that 2) the developed learning management model consisted of 5 components. There were 5 steps, comprising step 1: confronting socioscientific issues, step 2: analysing stakeholders, step 3: exploring the alternatives of scientific citizenship from various perspectives, step 4: realising and considering different perspectives, and step 5: expressing participation in society. The results of the assessment for suitability by experts were at the most appropriate level, with an average of 4.60 and a standard deviation of 0.54. Students who learned using the learning management model had higher pre-test scores than post-test scores and higher than the cut-off score at a significance level of .05.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการสังเคราะห์ความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ของความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์เอกสาร ช่วง พ.ศ. 2543 ถึง 2563 และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นดำเนินการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสม และทดลองใช้นำร่องเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง แล้วนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 53 คน ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบวัดความเป็นพลเมืองพลเมืองวิทยาศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 13 ข้อ ทำการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และเปรียบเทียบกับคะแนนจุดตัดเป็นเกณฑ์ ด้วยการทดสอบทางสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้วิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานในการดำรงชีวิต และแสดงจุดยืนของตนเองในสังคมได้อย่างมีเหตุผล มีองค์ประกอบ 3 ด้าน 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านบุคคล หมายถึง บุคคลต้องมีความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์และความรู้วิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์ในสังคม หมายถึง บุคคลต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์และตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้วิทยาศาสตร์ ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ความสามารถในการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจ องค์ประกอบด้านความตระหนักต่อสังคม หมายถึง บุคคลจะต้องตระหนักในตนเองทั้งความคิด การตัดสินใจ และการปฏิบัติตนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การตระหนักในตัวบุคคล และการตระหนักต่อส่วนรวมตามหน้าที่ในสังคม ผลการตรวจสอบความเหมาะสมความหมาย องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58  และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1  เผชิญหน้าประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 2 การตรวจสอบผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหาทางเลือกของพลเมืองวิทยาศาสตร์ในมุมมองต่าง ๆ ขั้นที่ 4 การรับรู้และพิจารณามุมมองที่แตกต่าง และขั้นที่ 5 การแสดงออกของการมีส่วนร่วมในสังคม ผลการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 หลังจากนักเรียนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนความเป็นพลเมืองวิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าคะแนนจุดตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5034
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031058.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.