Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5020
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL USING CONTEXT BASED LEARNING WITH GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM TO ENHANCE CREATIVE PROBLEM SOLVING FOR UPPER SECONDARY STUDENTS
Authors: Nattawat Anantasuk
ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข
Wareerat Kaewurai
วารีรัตน์ แก้วอุไร
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอน
บริบทเป็นฐาน
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
Instructional model
Context based learning
Geographic information system
Creative problem solving
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to develop the instructional model using context based learning with geographic information system to enhance creative problem solving for upper secondary students. The specific objectives were 1) to study the conditions and problems for the development of the instructional model using context based learning with geographic information system to enhance creative problem solving for upper secondary students, 2) to create and examine the quality of the instructional model using context based learning with geographic information system,  3) to study the effects of using the instructional model using context-based learning with geographic information system, and 4)to evaluate the use of the instructional model using context-based learning with geographic information system. This research was conducted based on the Research and Development process, consisting of 4 steps as follows: Step 1: studying the conditions and problems for the development of the instructional model using context based learning with geographic information system to enhance creative problem solving for upper secondary students, Step 2: creating and examining the quality of the instructional model by 7 experts and conducting a pilot study of using this instructional model with 21 students who were not participants in a sample group, Step 3: studying the effects of using the instructional model with the sample group, namely 21 upper secondary (grade 12) students at Navamindarajudis Matchim School who were chosen by purposive sampling, and Step 4:  evaluating the use of the instructional model using context based learning with geographic information system to enhance creative problem solving for upper secondary students by evaluating their opinions towards input, process, and output. The findings are as follows. 1. The current condition of students' creative problem solving was at a moderate level. The mean score of the creative problem-solving ability of the upper secondary students was 16.98 or 56.58%. 2.The instructional model using context based learning with geographic information system consisted of the following elements: 1) principle, 2) objectives, 3) contents, 4) learning and teaching process, including 6 steps: 1) discover the problem from the context, 2) collect spatial data, 3) analyze the solution, 4) design the problem solving process, 5) display the result of the solution processing, and 6) applied in context, and 5) measurement and evaluation. The overall result of the quality examination of the instructional model revealed the suitability at a high level. In addition, regarding the evaluation of the effectiveness index (E.I.) of the instructional model, it was found that the effectiveness index was 0.71 or 71.00%. 3.The results of piloting using the developed instructional model are shown below. 3.1 The developed instructional model was able to encourage students to demonstrate creative problem-solving ability in all six aspects of learning.   3.2 The ability to solve problems creatively after studying with the instructional model using context-based learning with geographic information system was higher than the 70 percent threshold with statistical significance at the .01 level. 4.  The students who were taught with the developed instructional model, overall, had opinions towards this instructional model at a high level and thought that this developed instructional model was suitable in all aspects.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาการผลใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และ4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินไปตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนที่  2  สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และทดลองนำร่องรูปแบบการเรียนการสอน กับนักเรียนกลุ่มทดลองนำร่อง ซึ่งไม่ใช่นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่  3  ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยการนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม จำนวน 21 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ขั้นตอนที่  4  ประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการประเมินความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.98 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.58 2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีรายละเอียดตามองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ค้นพบปัญหาจากบริบท 2) รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ 3) วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหา 4) ออกแบบกระบวนการแก้ปัญหา 5) แสดงผลการแก้ปัญหา และ 6) ประยุกต์ใช้ในบริบท และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และจากการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ 0.71 คิดเป็นร้อยละ 71.00 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 3.1 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ครบตามองค์ประกอบในการเรียนทั้ง 6 ด้าน 3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01     4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก และมีความเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในทุกด้าน
Description: Doctor of Education (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5020
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60030465.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.