Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6328
Title: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี
THE DEVELOPMENT OF LITERATURE LEARNING ACHIEVEMENT OF GRADE 6 STUDENT: EXPLORING 'KHUN CHANG KHUN PHAN' IN ITS 'BIRTH HIS PLAI-NGAM' CHAPTER THROUGH A FLIPPED CLASSROOM APPROACH UTILIZING THE CIRC TECHNIQUE
Authors: Supranan Suwanpanich
ศุภรานันท์ สุวรรณพานิช
Brapaas Pengpoom
ประภาษ เพ็งพุ่ม
Naresuan University
Brapaas Pengpoom
ประภาษ เพ็งพุ่ม
brapaasp@nu.ac.th
brapaasp@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี
กลวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
The CIRC technique
Literature learning achievement
Flipped classroom
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to the development of literature learning achievement of grade 6 students: exploring ‘Khun Chang Khun Phan’ in its ‘Birth his Plai-Ngam’ chapter through a Flipped Classroom approach utilizing the CIRC technique: 1) Develop a literature learning management plan, 2) Compare the learning outcomes of literature for Grade 6 students and 3) Evaluate the satisfaction of Grade 6 students towards the literature learning management. The sample group consisted of 11 Grade 6 students from Wat Khong K้haram School, Primary Education Area Office, Phichit District 2, Academic Year 2023, selected by simple random sampling. Research tools used include: 1) Literature learning management plan, 2) Test measuring the learning outcomes of literature, and 3) Questionnaire measuring the satisfaction of Grade 6 students towards literature learning management. Statistical analyses utilized include mean, standard deviation, and dependent t-test. Research findings indicate that: 1) The appropriateness of the components of the literature learning management plan yielded significantly high results ( x̅ = 4.34, S.D. = 0.61), 2) The achievement of grade 6 students on pre- and post-learning tests showed average scores of 11.64 and 25.27 respectively, with a statistical significance of .05, and 3) Grade 6 students expressed the highest overall satisfaction ( x̅ = 4.79, S.D. = 0.10)
การวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคซี ไอ อาร์ ซี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคงคาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 11 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ และ 3)  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพิจารณาความเหมาะสมองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มีผลรวมการพิจารณาความเหมาะสมระดับมาก (x̅ = 4.34, S.D. = 0.61) 2) การทดสอบก่อนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.64 คะแนน และ 25.27 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียนพบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.79, S.D. = 0.10)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6328
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuprananSuwanpanich.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.