Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6039
Title: นวัตกรรม​การ​ออกแบบ​ป้าย​รถประจำทาง​ปรับอากาศ​ลดฝุ่นละออง​ขนาดเล็กจากการจราจร
Innovative design for air-conditioned bus stop to reduce fine particulate matter from traffic
Authors: Opas Pukklin
โอภาส พุกกลิ่น
Pajaree Thongsanit
ปาจรีย์ ทองสนิท
Naresuan University
Pajaree Thongsanit
ปาจรีย์ ทองสนิท
pajareet@nu.ac.th
pajareet@nu.ac.th
Keywords: นวัตกรรม
ป้ายรถประจำทาง
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนและฝุ่นละอองขนาด ไม่เกิน 10 ไมครอน
ยานพาหนะ
การประเมินการรับสัมผัสทางการหายใจ
การประเมินระดับความเสี่ยง
Innovation design
Bus stop
PM2.5 and PM10
Vehicle emission
Inhalation exposure assessment
Hazard quotient
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to study the innovation of a prototype air-conditioned bus waiting stop designed to reduce dust from traffic in the area of the city. Uthai tani Province, Thailand. Objectives are to design a closed air-conditioned bus stop and install a dust filter device and test the effectiveness of reducing the amount of dust generated by traffic in the bus stop area. Data on PM2.5 (Particulate Matter of size less than 2.5 micron) and PM10 (Particulate Matter of size less than 10 micron) was collected with the air quality sensor model number PMS7003. The concentrations of PM2.5 and PM10 in three stations in the city of Uthai tani were investigated using PM2.5 and PM10 air quality detectors with dust detector model number of PMS5003 sensor meter in January 2022 to May 2022. The PM2.5 and PM10 exposure of the people near those stations was evaluated and the health risk was calculated using Hazard Quotient (HQ). The results indicated that the highest concentrations of PM2.5 and PM10 were detected at the station on the roadside in front of the Central Stadium of Uthai thani Province with the PM2.5 and PM10 concentrations of 58.40 µg/m3 and 64.13 µg/m3, respectively. Whereas the lowest concentrations of PM2.5 and PM10 were found at the main bus station of Uthai thani Province with the PM2.5 and PM10 concentrations of 51.41 µg/m3 and 58.01 µg/m3, respectively. In addition, the results also showed that, in the rush hours (7:00 a.m. to 8:00 a.m..), the PM2.5 and PM10 concentrations reached the peak of 75.26 µg/m3 and 81.08 µg/m3, respectively. From exposure assessment, the average daily intake of PM2.5 and PM10 of people were in the range of 15.39x10-3 to 29.32x10-3 mg/kg-day and 17.85 x10-3 to 30.96x10-3 mg/kg-day, respectively. The HQ values from both PM2.5 and PM10 exposure were greater than 1. The study found that the designed air-conditioned bus stop prototype can reduce the amount of particulate matter caused by traffic from the application of engineering knowledge in its design, installation, inspection, and can control dust levels with air pressure systems and air purification systems. Exposure to PM2.5 dust within air-conditioned bus stops reduces dust within the range. 0.00–12.98x10-4 mg/kg-day outside the air-conditioned bus stop reduces dust within the range 20.47–70.26x10-4 mg/kg-day. The evaluation of HQ inside air-conditioned bus stops reduces dust in the range of 0.00-0.26, which is less than 1. Outside air-conditioned bus stops, dust reduction is in the range of 0.33-1.41, which has a value greater than 1. Exposure to PM10 dust within air-conditioned bus stops reduces dust within the range. 0.31–18.01x10-4 mg/kg-day outside the air-conditioned bus stop reduces dust within the range 30.08–97.46x10-4 mg/kg-day. The HQ evaluation inside the air-conditioned bus stop reduces dust is in the range of 0.00-0.16 and outside the air-conditioned bus stop reduces dust is in the range 0.27-0.89, which has a value less than 1, meaning that those who use the service at each measurement point do not have an impact to health.
การศึกษาวิจัยเรื่องนวัตกรรมการออกแบบป้ายรถประจำทางปรับอากาศลดฝุ่นจากการจราจรมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบป้ายรถประจำทางแบบปิดปรับอากาศและติดอุปกรณ์กรองฝุ่น เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการลดฝุ่นของป้ายรถประจำทางแบบปรับอากาศและกรองฝุ่นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการรถประจำทาง โดยตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5  และ PM10 ด้วยเครื่องวัดเซ็นเซอร์ PMS7003 การประเมินการรับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 และฝุ่นละออง PM10 จากท่อไอเสียรถยนต์และการจราจรบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสาร และบริเวณริมถนน ของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเซ็นเซอร์ PMS5003 จำนวน 3 จุดตรวจวัด ระหว่างเดือนมกราคม - พฤษคม พ.ศ. 2565 และประเมินปริมาณการได้รับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ของประชาชนเฉลี่ยรายวันโดยใช้สูตร Hazard Quotient (HQ) = (Exposure (mg/kg/day))/(RfC (mg/kg/day)) จากผลการศึกษาพบว่าบริเวณที่มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 มากที่สุด คือ บริเวณริมถนนสายหลักหน้าสนามกีฬากลางจังหวัดอุทัยธานีซึ่งมีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เท่ากับ 58.40 µg/m3 และ 64.134 µg/m3 ตามลำดับ และบริเวณที่มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10น้อยที่สุด คือ บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เท่ากับ 51.41 µg/m3 และ 58.01 µg/m3 ตามลำดับ โดยพบว่าช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วน (07.00 น. – 08.00 น.) เป็นช่วงเวลาที่มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ค่ามากสุด คือ 75.26 µg/m3 และ 81.08 µg/m3 และจากการประเมินปริมาณการได้รับสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ของประชาชนเฉลี่ยรายวัน พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 15.39 x10-3 mg/kg-day - 29.32x10-3 mg/kg-day และ 17.85 x10-3 mg/kg-day - 30.96x10-3 mg/kg-day และจากการประเมินความเสี่ยง (Hazard Quotient; HQ) พบว่ามีค่ามากกว่า 1 ในขณะที่วิธีการป้องกันฝุ่นจากภายนอกสามารถลดฝุ่นละอองภายในห้องป้ายรถประจำทาง ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการด้านวิศวกรรมในการออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ และควบคุมกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วยการใช้ระบบความดันอากาศพร้อมระบบฟอกอากาศ จากผลการศึกษาพบว่า การรับสัมผัสกับฝุ่นละออง PM2.5 ภายในป้ายรถประจำทางปรับอากาศอยู่ระหว่าง 0.00–12.98x10-4 mg/kg-day และภายนอกป้ายรถประจำทางปรับอากาศอยู่ระหว่าง 20.47–70.26x10-4 mg/kg-day จากการประเมินความเสี่ยงภายในป้ายรถประจำทางปรับอากาศมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00-0.26 ซึ่งน้อยกว่า 1 ในขณะที่ความเสี่ยงภายนอกป้ายรถประจำทางปรับอากาศมีค่าอยู่ระหว่าง 0.33-1.41 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 สำหรับการรับสัมผัสกับฝุ่นละออง PM10 ภายในป้ายรถประจำทางปรับอากาศอยู่ระหว่าง 0.31–18.01x10-4 mg/kg-day และภายนอกป้ายรถประจำทางปรับอากาศอยู่ระหว่าง 30.08–97.46x10-4 mg/kg-day จากการประเมินความเสี่ยงภายในป้ายรถประจำทางปรับอากาศมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00-0.16 และความเสี่ยงภายนอกป้ายรถประจำทางปรับอากาศมีค่าอยู่ระหว่าง 0.27-0.89 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 ซี่งหมายความว่าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6039
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
OpasPukklin.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.