Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6026
Title: PROBLEM-BASED LEARNING PROCESS FOR PROMOTING ACTIVE CITIZEN LEARNING ATTRIBUTE ON CONSUMER RIGHTS IN ECONOMICS SUBJECT FOR SECOND YEAR SECONDARY SCHOOL STUDENTS
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิทธิผู้บริโภค ในสาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Lalitpat Sirirak
ลลิตภัทร ศิริรักษ์
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
Naresuan University
Atchara Sriphan
อัจฉรา ศรีพันธ์
atcharas@nu.ac.th
atcharas@nu.ac.th
Keywords: ความเป็นพลเมืองตื่นรู้
สิทธิผู้บริโภค
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Citizenship Awareness
Consumer Rights
Problem-Based Learning Process
Issue Date:  31
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to: 1) investigate the current situation and problems in the learning process to promote students' awareness of consumer rights in second-year high school students, and 2) develop the learning process by using these problems as a basis to enhance students' awareness of consumer rights in economics. This research is a mixed methods study conducted with a population of 2,254 second-year high school students from large and special-sized schools in Mueang District, Phitsanulok. The sample group consists of 328 second-year students selected through targeted sampling. Data analysis includes statistical analysis and content analysis. Research tools include questionnaires and interview question guides. The experimental learning plan is applied to the target group, consisting of 40 students from the creative arts curriculum at Mathayom Suksa Mahawitthayalai Naresuan School in the 2023 academic year. The results showed that 1. Studying the current situation and issues in the learning process using problem-based learning to promote civic awareness in consumer rights in the economics domain, across six aspects, it can be summarized as follows: 1) Teachers have the most significant role in the learning process (74%). 2) Students play the most active role in receiving knowledge (64%). 3) Content knowledge on consumer rights is most emphasized (74.3%). 4) Online media is predominantly used for learning (82%). 5) Teaching methods prioritize analytical thinking by students (75.3%) and 6) Pre- and post-learning assessments are most prevalent (68.9%). The problem lies in the absence of an environment that fosters hands-on learning experiences for students and the lack of motivation to engage them in their learning journey. 2. The development of the learning process, utilizing issues as a basis to promote consumer rights awareness in economics, comprises three parts: 1) Guidelines for Learning Management. 2) Effects of Learning Management through Problem-Based Learning. 3) Interview Results on Problem-Based Learning Process.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิทธิผู้บริโภคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   และ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิทธิผู้บริโภค ในสาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จำนวน 2,254 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน  328  คน  ผู้ให้ข้อมูลหลัก  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแผนการจัดการเรียนรู้ทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2566 แผนการเรียนศิลป์สร้างสรรค์ จำนวน 40 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิทธิผู้บริโภค ในสาระเศรษฐศาสตร์ ทั้ง 6 ด้าน พบว่า 1) ด้านครูผู้สอนมีบทบาทในกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด (ร้อยละ 74) 2) ด้านผู้เรียนมีบทบาทรับฟังความรู้มากที่สุด (ร้อยละ 64) 3) ด้านความรู้เนื้อหาสิทธิผู้บริโภคมากที่สุด (ร้อยละ 74.3) 4) ด้านสื่อการเรียนรู้ใช้แบบออนไลน์มากที่สุด (ร้อยละ 82) 5) ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์มากที่สุด (ร้อยละ 75.3) และ 6) ด้านการวัดและประเมินผลก่อน-หลังเรียนมากที่สุด (ร้อยละ 68.9) ส่วนสภาพปัญหาขาดการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทดลองปฏิบัติจริง และขาดการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนในการเรียนรู้ 2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิทธิผู้บริโภค ในสาระเศรษฐศาสตร์ มี 3 ส่วน ดังนี้ 1) มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่องสิทธิผู้บริโภค  2)  มีผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  3)  มีผลการสัมภาษณ์ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6026
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
65061181.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.