Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6014
Title: การพัฒนารูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
The Development of Digital Learning Model by Situated  and Anticipatory Learning with Self-Regulated Learning to Improve the Critical Thinking Ability of Correctional Officer
Authors: Nipaporn Sonsud
นิภาพร สอนสุด
Supanee Sengsri
สุภาณี เส็งศรี
Naresuan University
Supanee Sengsri
สุภาณี เส็งศรี
supanees@nu.ac.th
supanees@nu.ac.th
Keywords: ดิจิทัลเลิร์นนิง
การเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์
การกำกับตนเอง
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
Digital Learning
Situated and Anticipatory Learning
Self-Regulated Learning
Critical Thinking
Correctional Officer
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of the research study were  1) to study the elements and steps of the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking of correctional officer. 2) to create the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking of correctional officer. 3) to experiment with the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking of correctional officer.  4)  to assess the learner satisfaction toward the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking of correctional officer. The research design of Research and Development (R&D). The samples were 30 correctional officers at the Sawankhalok District Prison  by purposive sampling. The research instruments were 1) The critical thinking ability test. 2)  Questionnaire on satisfaction with digital learning model. 3)  appropriateness of digital learning model assessment. The statistics used for data analysis include  mean (X̄), standard deviation (S.D.), and Dependent Samples  t-test. The results of the research study were as follows: There was 8 elements in  the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking ability of correctional officer. Namely 1)  Digital Technology and Digital Learning Devices 2) Digital Learning Environment 3) Learning Content 4) Situational and anticipatory Context 5) Self-Regulated Learning Strategies 6) stakeholders 7) Training Activities 8) Assessment. And the digital learning model consisted of 4 main steps : 1) Step for lesson introduction  2) Step for using self-regulation strategies in learning 3) Step for learning in a situational and anticipatory context 4) Step for measurement and evaluation. And this model consisted of  20 sub-learning steps. The digital Learning Model consists of 8 elements as follows:  1)  Digital Technology and Digital Learning Devices 2) Digital Learning Environment 3) Learning Content 4) Situational and anticipatory Context 5) Self-Regulated Learning Strategies 6) Stakeholders 7) Training Activities 8) Assessment. And the digital learning model consisted of 4 main steps and 20 sub-learning steps : 1) Step for lesson introduction  1.1) Orientation to the Lesson 2) Self-Regulated Learning Methods 2.1) Pre-test 2.2) Acknowledge Pre-test Results   2.3) Set Learning Goals and Plan 2.4) Define and Record Learning Objectives 2.5) Define and Record for Success and Penalty for Failure 2.6) Define and Record Learning Environment 2.7) Learning Lesson Content 3) Learning in  Situational and Anticipatory Context 3.1) Situational and Anticipatory Context 3.2) Problem-Based Learning and Understanding Issues with Learners centered Learning 3.3) Learning in Analyzing Problems from Real Situations or Past Lessons 3.4) Learning in Planning Problem-Solving Approaches 3.5) Learning in Considering Solution Options 3.6) Learning in Summarizing Principles and Problem-Solving Methods 3.7) Learning in Evaluating Results 3.8) Exercise Lesson 3.9) Learning Additional Content from External Learning Source 3.10) Record Activities 4) Measurement and Evaluation 4.1) Post-test 4.2) Reward for Success, i.e., Certificate, and if the score does’ t pass, i.e., Restart Learning. 3. It was found that after learning form the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking ability the correctional officer’ s critical thinking score was higher than before learning at .01 level of significance. 4. The learners’s satisfaction toward the digital learning model by situated and anticipatory learning with self-regulated learning to improve the critical thinking ability of correctional officer was at the highest level. (X̄ = 4.79)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วยรูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 3) เพื่อทดลองใช้การเรียนรู้ด้วยรูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  เป็นการวิจัยและพัฒนา  กลุ่มตัวอย่างการวิจัย  ได้แก่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เรือนจำอำเภอสวรรคโลก จำนวน 30 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของรูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิง 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  (X̄)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา (S.D.), การทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test dependent   ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและขั้นตอนของดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีดิจิทัลและอุปกรณ์ดิจิทัล 2) สภาพแวดล้อมดิจิทัลเลิร์นนิง 3) เนื้อหาการเรียนรู้ 4) บริบทเชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ 5) กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียน 6) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7) กิจกรรมการอบรม 8) การประเมินผล  และมีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนหลัก  1) ขั้นแนะนำบทเรียน 2) ขั้นการใช้กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ 3) ขั้นการเรียนรู้ในบริบทเชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ 4) ขั้นวัดและประเมินผล    2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ดังนี้  1) เทคโนโลยีดิจิทัลและอุปกรณ์ดิจิทัล 2) สภาพแวดล้อมดิจิทัลเลิร์นนิง 3) เนื้อหาการเรียนรู้ 4) บริบทเชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ 5) กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียน 6) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7) กิจกรรมการฝึกอบรม 8) การประเมินผล และมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนหลัก  20 ขั้นตอนย่อย  1) ขั้นแนะนำบทเรียน 1.1) ปฐมนิเทศบทเรียน  2) ขั้นการใช้กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียน  2.1) ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2.2) รับทราบผลการทดสอบก่อนเรียน 2.3) ตั้งเป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ 2.4) กำหนดและบันทึกเป้าหมายการเรียน 2.5) กำหนดและบันทึกการให้รางวัลต่อความสำเร็จและลงโทษต่อความล้มเหลว 2.6) กำหนดและบันทึกสภาพแวดล้อมในการเรียน 2.7) ศึกษาเนื้อหาบทเรียน  3) ขั้นการเรียนรู้ในบริบทเชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ 3.1) การเรียนรู้ในบริบทเชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ 3.2) ขั้นเผชิญปัญหาและเข้าใจปัญหาในสถานการณ์โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3.3) ขั้นวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์จริงหรือบทเรียนที่ผ่านมา 3.4) ขั้นเสนอแนวทางแก้ปัญหา 3.5) ขั้นพิจารณาเลือกแนวทางแก้ปัญหา 3.6) ขั้นสรุปหลักการและวิธีแก้ปัญหา 3.7) ขั้นประเมินผล 3.8) ทำแบบฝึกหัด    3.9) ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก 3.10) บันทึกกิจกรรม 4) ขั้นวัดและประเมินผล 4.1) ทำแบบทดสอบหลังเรียน 4.2) ให้รางวัลต่อความสำเร็จ คือ ได้รับวุฒิบัตร และหากคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ให้กลับไปเริ่มเรียนใหม่ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พบว่าผู้เรียนมีคะแนนการทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบดิจิทัลเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์และการคาดการณ์ร่วมกับการกำกับตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับ "มากที่สุด"
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6014
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NipapornSonsud.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.