Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5940
Title: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต
The development of learning achievement and growth mindset of primary school students with learning disabilities in mathematics by Brain-Based Learning together with principles for develop the growth mindset
Authors: Kasidit Lonlue
กษิดิศ ล้นเหลือ
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
Naresuan University
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
wichianth@nu.ac.th
wichianth@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมอง
หลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต
การเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต
กรอบคิดติดยึดเติบโต
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
Brain-Based learning
Principles for develop the growth mindset
Brain-Based learning together with the principles of developing the growth mindset
Growth mindset
Mathematics achievement
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this study were to study of guidelines for developing academic achievement and the growth mindset of primary school students with learning disabilities in mathematics by Brain-Based learning together with the principles of developing the growth mindset, study the results of developing mathematics achievement, and study the results of developing the growth mindset of primary school students with learning disabilities in mathematics. The participants were 4th grade students with learning disabilities in mathematics at a small extended opportunity school in Phitsanulok province.  The sample in this study were 5 primary school students in the 2022 second semester. The research methodology used a classroom action research model 3 operating circuits with a total duration of 12 hours in this study. The tools used in the research were 12 learning management plans for Brain-Based learning together with the principles of developing the growth mindset, reflective learning journals, achievement tests, exercises, essence notebook, and assessment form growth mindset. Analyze data using content analytics and examine triangular method. The results revealed that 1.  Guidelines for developing academic achievement and the growth mindset of primary school students with learning disabilities in mathematics. By Brain-Based learning according to the potential of the brain together with the principle of developing a framework for growth mindset consists of 5 stages as follows: Step 1 Prepare the brain, develop the mindset. Students develop a mindset that sticks and grows through 3 contents: the brain and the ability to remember. Failure is the ladder to success, and they have to believe that I can do it through watching videos and playing games. Summary of learning points. Step 2 Develop the brain through concrete experiences. Students learn in concrete content through media, materials and equipment such as real things, simulations, or real situations from creating experiences and asking questions. Summary of learning points. Step 3 Learn the material. improve math knowledge. Students learn in abstract content. Create an abstract concept, understand mathematical rules, practice using detailed symbols and summarize them into theories and concepts. Step 4 Practice, develop abilities, practice student to repeat the learning experience, collect the information learned. Discover self-knowledge, check your understanding. Summary of learning points. Step 5 Apply mathematical knowledge in the new situations. Students apply their knowledge in new situations, such as doing new exercises, new problem situation solving and perhaps create works and pieces.  Summary of learning points.   2.  Primary school students with learning disabilities in mathematics. Has been a significant improvement in mathematics achievement. 3.  Primary school students with learning disabilities in mathematics has been is a progressive development of the growth mindset. And after organizing all learning activities in the operating circuits. The students have the growth mindset.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และศึกษาผลการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 12 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกหัด สมุดบันทึกสาระสำคัญ และแบบวัดกรอบคิดติดยึดเติบโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมสมอง พัฒนากรอบคิด นักเรียนพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ผ่านเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ สมอง และความสามารถในการจดจำ ความล้มเหลวเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ และต้องเชื่อว่าเราทำได้ ผ่านการดูวีดิทัศน์ เล่นเกม สรุปประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสมองผ่านประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม นักเรียนเรียนรู้ในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม ผ่านสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ อันได้แก่ ของจริง ของจำลอง หรือสถานการณ์จริงจากการสร้างประสบการณ์ การสอบถาม สรุปประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 เรียนรู้เนื้อหา พัฒนาความรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนเรียนรู้ในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม สร้างเป็นความคิดรวบยอดในเชิงนามธรรม เข้าใจกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ ฝึกใช้สัญลักษณ์แสดงรายละเอียด และการสรุปเป็นทฤษฎีและแนวคิด ขั้นตอนที่ 4 ฝึกปฏิบัติ พัฒนาความสามารถ นักเรียนฝึกปฏิบัติ เพื่อย้ำทวนประสบการณ์การเรียนรู้ รวบรวมข้อมูลที่ได้เรียนรู้ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง สรุปประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ในสถานการณ์ใหม่ นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ เช่น ทำแบบฝึกหัดใหม่ แก้สถานการณ์ปัญหาใหม่ และอาจสร้างสรรค์ผลงานและชิ้นงาน สรุปประเด็นที่ได้จากการเรียนรู้ 2. นักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับ 3. นักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการของกรอบคิดติดยึดเติบโตดีขึ้นอย่างเป็นลำดับ และหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกวงจรปฏิบัติการนักเรียนทุกคนมีกรอบคิดติดยึดเติบโต
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5940
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KasiditLonlue.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.