Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5927
Title: การเมืองของระบอบอาหารในเศรษฐกิจการเมืองไทย: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2557-2562
Politics of Food Regime in Thai Political Economy: The Case Study of Joko Community Learning Center Nan, 2014 - 2019
Authors: Sunsai Wongsuwan
สันทราย วงษ์สุวรรณ
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
Naresuan University
Watcharabon Buddharaksa
วัชรพล พุทธรักษา
watcharabonb@nu.ac.th
watcharabonb@nu.ac.th
Keywords: ระบอบอาหาร
กลุ่มพลังทางสังคม
ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
อธิปไตยทางอาหาร
ระบอบอาหารทางเลือก
ระบอบอาหารแบบบรรษัท
Food Regime
Social Forces
The Joko Community Learning Center
Food Sovereignty
Alternative Food Regime
Corporate food regime
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This thesis aimed to study the politics of the food regime in Thai political economy through a case study of the Joko Community Learning Center, Nan Province, 2014–2019. It had two objectives: 1) to study the food regime under the corporatist regime and the interaction between Joko Community Learning Center, Nan Province, the government sector, and actors 2) to study the movement and food movement towards the creation of an alternative food regime in the path of Joko Community Learning Center, Nan Province. There were two main research questions: 1) Under the corporate food regime, how did the Joko Community Learning Center interact with the government and various social actors? 2) How did Joko Community Learning Center, Nan Province, try to create an alternative food regime? The results of the study found that 1) the interaction between the Joko Community Learning Center, and various social actors could be divided into 4 groups: 1. The interaction between Joko Community Learning Center and the government sector 2. The interaction between the Joko Community Learning Center and the private sector 3. The interaction between the Joko Community Learning Center and farmers and 4. The interaction between the Joko Community Learning Center and various social actors (academic groups and social activists) 2) The creation of a negotiation area for food security and the movement to rebuild food sovereignty. The Joko Community Learning Center, Nan Province, had implemented four important strategies: 1. the creation of new knowledge and defining the position of farmers as agricultural resource managers 2. the mapping of land through the National Land Policy Committee (NBTC) for creating the legitimacy to access various forms of land (individual land and community forests). 3. persuading private capital from many organizations into the negotiation area at the local level, where farmers could face government power to some extent, 4. The creation of alternative markets where farmers had more power to bargain.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเมืองของระบอบอาหารในเศรษฐกิจการเมืองไทย ผ่านกรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2557-2562 โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระบอบอาหารภายใต้ระบอบแบบบรรษัทและปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับภาครัฐและตัวแสดงทางสังคมต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวและการขับเคลื่อนทางอาหารต่อการสร้างระบอบอาหารทางเลือกในแนวทางของศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน และมีคำถามหลักการวิจัย 2 ประเด็น คือ 1) ภายใต้ระบอบอาหารแบบบรรษัท ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับภาครัฐและตัวแสดงทางสังคมต่าง ๆ เป็นอย่างไร 2) ความพยายามในการเคลื่อนไหวทางอาหารเพื่อสร้างระบอบอาหารทางเลือก ในแนวทางของศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน มีการขับเคลื่อนอย่างไร ผลการศึกพบว่า 1 )การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้และตัวแสดงทางสังคมต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับภาครัฐ 2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับกลุ่มทุน/เอกชน 3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับเกษตรกร และ 4.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้กับตัวแสดงทางสังคมต่าง ๆ (กลุ่มนักวิชาการและนักกิจกรรมทางสังคม) 2)การสร้างพื้นที่การต่อรองต่อความมั่นคงทางอาหารและการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างอธิปไตยทางอาหารขึ้นมาใหม่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน ได้ดำเนินกลยุทธ์สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.การสร้างความรู้ใหม่และนิยามตำแหน่งแห่งที่ของเกษตรกรในฐานะผู้จัดการทรัพยากรการเกษตร 2.การทำแผนที่การใช้ที่ดินผ่านคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้าถึงที่ดินรูปแบบต่างๆ(ที่ดินปัจเจกและป่าชุมชน) 3.การดึงทุนเอกชนหลายองค์กรเข้าพื้นที่ทำให้เกิดสนามของการต่อรองในระดับพื้นที่ซึ่ง เกษตรกรสามารถเผชิญกับอำนาจรัฐได้ในระดับหนึ่งและ4.การสร้างการตลาดทางเลือกที่เกษตรกรมีอำนาจต่อรอง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5927
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SunsaiWongsuwan.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.