Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5910
Title: วีอาร์วีลแชร์ การออกแบบพั?นาเกมออกกำลังกายสำหรับผู้ใช้รถนั่งคนพิการ
VR Wheelchair Exergame Design and Development for Wheelchair Users
Authors: Linda Intralak
ลินดา อินทราลักษณ์
Visit Janma
วิสิฐ จันมา
Naresuan University
Visit Janma
วิสิฐ จันมา
visitj@nu.ac.th
visitj@nu.ac.th
Keywords: เกมออกกำลังกาย
ความเป็นจริงเสมือน
ผู้ใช้รถนั่งคนพิการ
Exergames
Virtual Reality
Wheelchair users
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research was to study, collect and analyze the design elements of a virtual reality exergame for wheelchair users, to design and develop virtual reality exercise games for wheelchair users, and to assess the physical performance of virtual reality exergame and physical performance related to athletic skills. The sample consisted of four experts in game design and public health; and a group of virtual reality exergame testers, including 20 wheelchair users in Phitsanulok and nearby provinces. The research instrument consisted of an interview form. a virtual exercise game, a questionnaire. The results revealed that the key element in designing a virtual reality exergames is immersion, using design principles that cover both hardware and software systems to make users feel like they were in a virtual world and insensitive to the surrounding environment. This element can be divided into 1) virtual environment 2) sensory feedback 3) interactivity 4) accessibility. Moreover, when combined these elements with game design principles, the virtual reality exergames can satisfy wheelchair users. As seen in the overall satisfaction of the virtual reality exergames, wheelchair users ranked it at the highest level (x̄ = 4.60, S.D. = 0.60). Based on observation and interview, wheelchair users had fun playing the game and showed more interested in exercising with virtual technology than traditional exercise. In terms of physical performance assessment before and after playing the game for 6 minutes, it was found that 1) wheelchair users had significantly different levels of fatigue before and after playing the game (t = 0.035, p < .05) 2) no significant gender difference in wheelchair users’ physical performance 3) The heart rate of wheelchair users aged 31-40 years was higher than other age groups and was statistically significant at p < .05. 4) The comparison between four avatars and wheelchair users’ physical performance related to sport (points earned in a game) found that there was no statistically significant difference of score among four avatars. However, wheelchair users aged 51-60 had lower average scores than other age groups at p < .05. Findings from the research showed that to  design a virtual exergames for wheelchair users, designers should always study the requirements, behaviors and physical impairment of wheelchair users and the suggestion of those involved in public health prior to design. Especially the problem of physical disabilities and movement limitations that are not the same for each person. Therefore, a virtual exergames should be designed with accessible and adaptable in mind so that players can modify the game features according to their physical disabilities and this will make the virtual reality exergames accessible to wheelchair users and can actually help restore physical performance.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมและวิเคราะห์องค์ประกอบในการออกแบบเกมออกกำลังกายความเป็นจริงเสมือนสำหรับผู้ใช้รถนั่งคนพิการ เพื่อออกแบบและพัฒนาเกมออกกำลังกายความเป็นจริงเสมือนสำหรับผู้ใช้รถนั่งคนพิการ เพื่อประเมินเกมออกกำลังกายความเป็นจริงเสมือนสำหรับผู้ใช้รถนั่งคนพิการด้านสมรรถนะทางกาย และสมรรถนะทางกายที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านกีฬา โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบเกมและสาธารณสุขจำนวน 4 ท่าน และกลุ่มผู้ทดสอบเกมออกกำลังกายเสมือนจริง ได้แก่ ผู้ใช้รถนั่งคนพิการที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในจังหวัดพิษณุโลกและใกล้เคียง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ เกมออกกำลังกายเสมือนจริง แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบหลักในการออกแบบเกมออกกำลังกายเสมือนจริง คือ ความรู้สึกจริง(Immersion) โดยใช้หลักการออกแบบที่ครอบคลุมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนอยู่ในโลกเสมือน และไม่รู้สึกถึงสภาพแวดล้อมภายนอก สามารถแยกเป็น 1) โลกเสมือนจริง (Virtual Environment) 2) การตอบรับของประสาทสัมผัส (Sensory feedback 3) การโต้ตอบ (Interactivity) 4) การเข้าถึง (Accessibility) เมื่อรวมกับหลักการออกแบบเกม (Game design) จะทำให้การออกแบบเกมออกกำลังกายเสมือนจริงสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้รถนั่งคนพิการได้ โดยมีความพึงพอใจโดยรวมต่อเกมออกกำลังจริงเสมือนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.60, S.D. =0.60) และผลจากการสังเกตและสัมภาษณ์พบว่า ผู้ใช้รถนั่งคนพิการมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนุก และมีความสนใจที่จะออกกำลังกายด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงมากกว่าการออกกำลังกายแบบเดิมเพียงอย่างเดียว ในด้านผลการประเมินสมรรถนะทางกายก่อนและหลังเล่นเกมเป็นเวลา 6 นาที พบว่า 1) ผู้ใช้รถนั่งคนพิการมีระดับความเหนื่อยก่อนและหลังเล่นเกมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (t = 0.035, p<.05) 2) สมรรถนะทางร่างกายหลังเล่นเกมของผู้ใช้รถนั่งคนพิการที่มีเพศต่างกัน มีสมรรถนะไม่แตกต่างกัน 3) อัตราการเต้นของหัวใจของผู้ใช้รถนั่งคนพิการช่วงอายุ 31-40 ปี มีค่าสูงกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 4) ผลการเปรียบเทียบรูปแบบอวทาร์ในเกมและสมรรถนะทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะทางกีฬา (จำนวนคะแนนที่ได้ในเกม) พบว่ารูปแบบอวทาร์ต่างกัน 4 รูปแบบ ผู้เล่นได้ผลคะแนนไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ใช้รถนั่งคนพิการช่วงอายุ 51-60 ปี ได้ค่าเฉลี่ยผลคะแนนที่ได้จากการเล่นเกมต่ำกว่าช่วงอายุอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .05 ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า สำหรับการออกแบบเกมออกกำลังกายเสมือนจริงเพื่อผู้ใช้รถนั่งคนพิการนี้ นักออกแบบควรศึกษาความต้องการ พฤติกรรมและข้อบกพร่องทางกายของผู้ใช้รถนั่งคนพิการและข้อแนะนำของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขก่อนการออกแบบเสมอ โดยเฉพาะปัญหาความบกพร่องทางร่างกายและข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล ดังนั้น หากมีการออกแบบเกมออกกำลังกายเสมือนจริงในอนาคตต่อไป ควรจะออกแบบให้ผู้เล่นสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของเกมได้ตามความบกพร่องทางร่างกายของแต่ละคน เพื่อให้เกมออกกำลังกายเสมือนจริงนั้นสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้รถนั่งคนพิการ และช่วยฟื้นฟูสมรรถนะทางกายได้จริง 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5910
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LindaIntralak.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.