Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5909
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอเส้นใยต้นจากเชิงพาณิชย์
The Development of product commercial Nypa palm fibers for textiles.
Authors: Pimchutha Pigunthong
พิมพ์จุฑา พิกุลทอง
Nirat Soodsang
นิรัช สุดสังข์
Naresuan University
Nirat Soodsang
นิรัช สุดสังข์
nirats@nu.ac.th
nirats@nu.ac.th
Keywords: ก้านโหม่งจาก
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
เส้นใยต้นจาก
เชิงพาณิชย์
ผ้าสะท้อนน้ำ
Kan Mhong Jak {i.e. stalks of empty Nipa palm bunches}
textile products
Nipa palm fiber
Commercial
Lotus effect
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to analyze the physical properties of plant Nipa palm fibers Develop yarns in the industrial production system. 2) Design and prototype commercially Nipa palm fiber textile products. 3)Evaluate the satisfaction of Nipa palm woven fabric products. The research method consists of The sample used in the research were academicians, lecturers, entrepreneurs, manufacturers and consumers who had relevant experience in the field of textile product design. textile industry product design and graphic design. Research tools include a questionnaire on the personal information of the respondents. Opinion questionnaire on the analysis of fiber separation process of 5 parts of Nipa palm. Analytical and Conclusion Questionnaires Physical Properties of Plant Fibers in the production of yarn in the industrial system, The statistics used in the research were percentage (Percentage), mean (x̄), standard deviation (S.D.). Development of plant fibers for textile applications from testing the properties of plant fibers from the spinning process. Gather information from relevant groups of experts and experts. Study of resources in the experimental area, testing in various processes of all parts of Nipa palm, all 5 parts. The result is Kan Mhong Jak (i.e., stalks of empty Nipa palm bunches) with strong fibers. and most sticky It was also found that the fiber has objective properties, qualitative performance with textiles Nipa palm fiber material can increase fiber value. And to extend in the home textile industry in terms of fiber development in the production process from the upstream industry., including fiber separation qualified and then proceeding to the midstream industry Fibre Blast Process Fiber Carding Nipa palm fibers are spun mixed with recycled polyester fibres and Kan Mhong Jak fibers (i.e., stalks of empty Nipa palm bunches) and tested the properties of Nipa palm yarns to create a new material suitable for use in textiles. Woven and final step is downstream industry by bringing the yarn into the weaving process Create value and added value, benefits in use that can be further extended for various textile work from this fiber. The analysis of the data obtained from the study by using the interview form. in the design of commercial fiber textile products in the design by entering the storage space from Fabric sales companies, garment factories, shopping malls, markets, digital printing houses, and related design institutes. to bring the information obtained to design and develop There are steps in The Development of product commercial Nypa palm fibers for textiles. By using the SPSS program, the arithmetic mean (Arithmetic mean) and the standard deviation (Standard Deviation) were used with interpretation criteria. to classify the average score in the score range The results of the survey synthesis revealed that both female and male respondents determined the inspiration of textile product design. In terms of costumes, clothes, pants, bags, opinions towards the design of clothes, costumes and bags had the highest average (x̄ = 4.52) (S.D. = 1.04), were appropriate, were beautiful. The fabric pattern design found that the pattern had the highest mean (x̄ = 4.80) (S.D. = 1.00) was appropriate, beautiful.        The results of the analysis of the personal information of the respondents found that the result of the synthesis of the satisfaction survey in purchasing Nypa palm fiber textile products was evaluated by consumers. Age ranges from 20-30 years old, 31-40 years old, and 41 years old and over. It was found that respondents aged 20-41 years old chose clothing the most, followed by home textiles. and souvenir products. The results of the analysis of the opinions towards the bag design were found to have the highest mean total (x̄ = 4.60) (S.D. = 1.50), followed by the total mean (x̄ = 4.58) (S.D. = 1.06), the evaluation results. satisfaction Fabric pattern design found that the mean values are as follows. beautiful proportions (x̄ = 4.80) (S.D. = 1.07) appropriate size (x̄ = 4.77) (S.D. = 1.00) continuity (x̄ = 4.61) (S.D. = 0.80) overall satisfaction (x̄ = 4.52) (S.D. = 0.95) After synthesis, it was found that there were many issues that were the same. or used as product design guidelines It was used as a criterion in The Development of product commercial Nypa palm fibers for textiles. By using the standard criteria to evaluate product design principles the most. 2. Beautiful to use. 3. Materials. 4. Production process. 5. Nice to use, the fabric fibers are comfortable, soft and smooth to wear and do not feel irritating to the wearer's skin. Fabric pattern uses digital printing method. have long-lasting printed color, even after washing many times will not fade; There is a fabric experiment with technology to develop water reflection properties (Lotus effect) to reduce the absorption of dirt in the form of liquids and aerosols. Help in product maintenance, reduce washing, prolong the service life even more.
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของเส้นใยต้นจาก พัฒนาเส้นด้ายในระบบอุตสาหกรรมการผลิต 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเส้นใยต้นจากเชิงพาณิชย์ 3) ประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ผ้าทอเส้นใยต้นจาก โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักวิชาการ อาจารย์ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ผู้เกี่ยวข้องในสาขาวิชาทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และออกแบบลวดลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามด้านความคิดเห็นด้านการวิเคราะห์กระบวนการคัดแยกเส้นใยส่วนประกอบของต้นจากทั้ง 5 ส่วน ข้อมูลแบบสอบถามด้านการวิเคราะห์ และสรุปผล สมบัติทางกายภาพของเส้นใยต้นจาก ด้านการผลิตเส้นด้ายในระบบอุตสาหกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาเส้นใยต้นจากสำหรับงานสิ่งทอ จากการทดสอบคุณสมบัติของเส้นใยกระบวนการปั่นด้าย เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง ศึกษาด้านทรัพยากรในเขตพื้นที่ ทดลอง ทดสอบในกระบวนการต่าง ๆ ต้นจากทั้ง 5 ส่วน จึงได้ส่วนของก้านโหม่งจากที่ให้เส้นใยมีความแข็งแรง และเหนียวมากที่สุด พบว่าคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์เชิงคุณภาพสิ่งทอ วัสดุเส้นใยต้นจาก สามารถต่อยอดได้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการพัฒนาเส้นใยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การคัดแยกเส้นใย ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แล้วจึงต่อไปยังอุตสาหกรรมกลางน้ำ กระบวนการทำเส้นใยให้แตกออกมาขนาดเล็กที่สุด สางเส้นใย และนำเส้นใยปั่นผสมเส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล เพื่อทดสอบคุณสมบัติเส้นด้าย เกิดเป็นวัสดุชนิดใหม่ที่เหมาะสำหรับงานสิ่งทอ และขั้นตอนสุดท้าย คืออุตสาหกรรมปลายน้ำ การนำเส้นด้ายสู่กระบวนการทอผ้า สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม นำไปต่อยอดการใช้ประโยชน์ในงานสิ่งทอต่าง ๆ จากเส้นใยชนิดนี้ได้ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเส้นใยต้นจากเชิงพาณิชย์ ในการออกแบบโดยสำรวจพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลจาก บริษัทขายผ้า โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงพิมพ์ดิจิตอล สถาบันการศึกษาด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์การออกแบบและพัฒนา ซึ่งมีขั้นตอนการออกแบบ การวิเคราะห์แบบสอบถามระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้โปรแกรม SPSS หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยมีเกณฑ์การแปลความหมาย เพื่อจัดระดับคะแนนเฉลี่ยในช่วงคะแนน ผลการสังเคราะห์แบบสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งเพศหญิงและเพศชายได้กำหนดแรงบันดาลใจของการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอเส้นใยต้นจากเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า กางเกง กระเป๋า ความคิดเห็นที่มีต่อการออกแบบมีค่าเฉลี่ยสูงสุดรวม (x̄ = 4.52) (S.D. = 1.04) มีความเหมาะสม มีความสวยงาม ผลการวิเคราะห์ที่มีต่อแบบร่างลวดลายผ้า พบว่า รูปแบบมีค่าเฉลี่ยสูงสุดรวม (x̄ = 4.80) (S.D. = 1.00) มีความเหมาะสม มีความสวยงาม ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผลการสังเคราะห์แบบสำรวจความพึงพอใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอเส้นใยต้นจากเชิงพาณิชย์ โดยการประเมินจากผู้บริโภค ช่วงอายุตั้งแต่ อายุ 20 – 30 ปี อายุ 31 – 40 ปี และอายุ 41 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ช่วงอายุ 20 – 41 ปีขึ้นไป เลือก เสื้อผ้าเครืื่องแต่งกาย มากที่สุด รองลงมาเป็นเคหะสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อแบบร่างกระเป๋า พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรวม (x̄ = 4.60) (S.D. = 1.50) , รองลงมาค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.58) (S.D. = 1.06) , ผลการแบบประเมินความพึงพอใจ การออกแบบลวดลายผ้า พบว่า เมื่อพิจารณารายด้าน มีค่าเฉลี่ยดังนี้ มีสัดส่วนที่สวยงาม (x̄ = 4.80) (S.D. = 1.07) ขนาดเหมาะสม (x̄ = 4.77) (S.D. = 1.00) ความต่อเนื่อง  (x̄ = 4.61) (S.D. = 0.80) ความพึงพอใจในภาพรวม (x̄ = 4.52) (S.D. = 0.95)  หลังจากทำการสังเคราะห์ จะพบว่า มีหลายประเด็นที่เกิดความซ้ำกัน นำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกใช้เกณฑ์มาตรฐานในการประเมินหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ มากที่สุด นำมาใช้เป็นการการประเมิน 1.หน้าที่ใช้สอย 2.ความสวยงามน่าใช้ 3.วัสดุ 4.กรรมวิธีการผลิต 5.ความสวยงามน่าใช้ ผลของเส้นใยผ้ามีความ นุ่ม ลื่น ไม่รู้สึกระคายเคืองผิวต่อผู้สวมใส่ สีพิมพ์ติดทนนานแม้ผ่านการซักล้างหลายครั้ง โดยได้นำผ้าไปทดลองเทคโนโลยีการพัฒนาคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ (Lotus effect) ลดการดูดซับสิ่งสกปรกในรูปแบของเหลวและละอองฝอยได้ ช่วยในด้านการดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ ลดการซักล้าง ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5909
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PimchuthaPigunthong.pdf13.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.