Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5907
Title: การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายโฆษณาตามการรับรู้ภาพลักษณ์ ภายใต้แนวคิดมายาคติความงามของสตรีเพศ
The Creation of Photographic Art Based on the Perception of Woman's Beauty Myth for Advertising Purposes.
Authors: Tanakit Koktong
ธนกิจ โคกทอง
Thaveerat Promrat
ทวีรัศมิ์ พรหมรัตน์
Naresuan University
Thaveerat Promrat
ทวีรัศมิ์ พรหมรัตน์
thaveeratp@nu.ac.th
thaveeratp@nu.ac.th
Keywords: การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพถ่าย
มายาคติความงามของสตรี
การรับรู้ภาพลักษณ์
การโฆษณา
The Creation of Photographic Art
The Beauty Myth of Women
Perception
Advertising
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to synthesise the beauty myth of women in advertising photos, 2) to create advertising photo art with the beauty myth of women, and 3) to assess the promotion of image perception products and services with advertising photos under the concept of the beauty myth of women. The research procedure was divided into three phases. Phase 1 aimed to synthesise the beauty myth of women in advertising photos by using 100 sample advertising photos and dismantling the elements of the photos and the meanings of the photos according to the principle of photography and sign interpretation in order to find patterns of the beauty myth of women in advertising photos. It was found that there were eight patterns of the beauty myth of women. These patterns led to the creation of the beauty myth “TREESHIP” model. Phase 2 aimed to create advertising photo art with the beauty myth of women. In this step, all eight patterns of the beauty myth obtained from Phase 1 were used to create five sets of advertising photo art according to the categories of women's beauty products and services, namely beauty products, beauty services, fashion and clothing, women's health, and women’s food and beverages. These patterns were assessed in terms of the quality of the work (i.e., interpretation, beauty, composition, creativity, and techniques). The quality assessment results were at a high level. Phase 3 aimed to assess the promotion of image perception of products and services with advertising photos under the concept of the beauty myth of women. The research sample was a group of 400 viewers who assess their image perception in terms of attributes, benefits, value, culture, personality, and user. The overall result indicated that advertising photo art in this study promoted the image perception of products and services under the concept of the beauty myth of women at a high level.    
การทำวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยได้แก่ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความงามของสตรีในภาพถ่ายโฆษณาด้วยแนวคิดมายาคติ 2) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายโฆษณาภายใต้แนวคิดมายาคติความงามของสตรีเพศ และ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์จากสินค้าและบริการจากผลงานภาพถ่าย การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การวิจัยระยะที่ 1  สังเคราะห์รูปแบบของมายาคติด้านความงามของสตรีเพศที่ปรากฏบนสื่อโฆษณา โดยใช้ภาพโฆษณาตัวอย่างจำนวน 100 ภาพ มาถอดรื้อองค์ประกอบของภาพและความหมายของภาพตามหลักการถ่ายภาพและการแปลความหมายเชิงสัญญะเพื่อหารูปแบบของมายาคติความงามของสตรีเพศที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายโฆษณา จากการวิจัยพบมายาคติความงามของสตรีจำนวน 8 รูปแบบ จนสามารถนำมาสร้างเป็น The Beauty Myth “TREESHIP” Model ขึ้นมา การวิจัยระยะที่  2  สร้างผลงานศิลปะภาพภาพถ่ายโฆษณาจากมายาคติด้านความงามของสตรีเพศ ในขั้นตอนนี้จะนำเอารูปแบบของมายาคติที่ได้จากกระบวนการที่ 1 มาใช้เป็นการสร้างผลงานศิลปะภาพถ่ายจำนวน 5 ชุด ตามประเภทของสินค้าและบริการด้านความงามของสตรี ได้แก่ ผลงานศิลปะภาพถ่ายโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้านความงาม, บริการด้านความงาม, แฟชั่นและเครื่องแต่งกาย, บริการด้านสุขภาพ, ด้านอาหารและเครื่องดื่ม จากนั้นประเมินความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ในการถ่ายภาพ และคุณภาพของผลงานศิลปะภาพถ่าย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพโฆษณา มีผลการประเมินคุณภาพของผลงานอยู่ในระดับสูง ทั้งในด้าน การสื่อความหมาย ความสวยงาม การจัดองค์ประกอบ ความสร้างสรรค์ และเทคนิคที่ใช้ การวิจัยระยะที่  3  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ โดยประเมินผ่านกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในด้าน คุณสมบัติ คุณประโยชน์ คุณค่า วัฒนธรรม บุคลิกภาพ และ ผู้ใช้ โดยผลการประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายโฆษณาตามการรับรู้ภาพลักษณ์ ภายใต้แนวคิดมายาคติความงามของสตรีเพศอยู่ในระดับสูงมาก   
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5907
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TanakitKoktong.pdf23.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.