Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5900
Title: การตรวจหาสารพิษตกค้างในพืชผัก ด้วยการวิเคราะห์แถบความถี่คลื่นแสง
Detection of Toxic Residues in Vegetables by Analyzing Light Spectrum
Authors: Natthasak Yaemsuk
ณัฐศักดิ์ แย้มสุข
Suchart Yammen
สุชาติ แย้มเม่น
Naresuan University
Suchart Yammen
สุชาติ แย้มเม่น
sucharty@nu.ac.th
sucharty@nu.ac.th
Keywords: สเปกโตรสโครปิก วิสิเบิล-เนียร์อินฟาเรดสเปกโตรสโครปิก อุปกรณ์ตรวจหาสารพิษกำจัดศัตรูพืชแบบพกพา
Spectroscopy VIS-NIR spectroscory Portable spectrometer
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Human health effects of pesticide residues in fruits and vegetables create a lot of problems for humanity It needs to be fixed urgently. Part of the reason is that the use of pesticides does not meet the specified standards. Carbendazim Pesticide Cypermethrin, diazinon and imidachlorfrid There is a great danger to politeness. And the detection of all 4 types of toxins remaining in vegetables requires the use of tools. Equipment is complex, expensive and requires specialized personnel. Technology and the application of modern technology are therefore important due to the need to design and develop tools or equipment with data analysis methods that are reliable, cheap, flexible, and convenient to use in all places. NIRs in the VIS-NIR wavelength range were used for the development of spectrometers for the detection of four toxic substances: carbendazim, cypermethrin, diazinon and imidachlorfrid. Residues in 2 types of vegetables, chili and basil leaves, the results can be known immediately. It increases efficiency in terms of time, cost and ability to manage pesticide residues by relevant agencies. Overall, the research team presented the management of pesticide residues in fruits and vegetables by applying spectroscopic technology. With a low cost, flexibility, those involved with toxins can avoid the potential consequences of these 4 toxins due to the consumption of contaminated fruits and vegetables.
ผลกระทบด้านสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจากสารพิษตกค้างในผักผลไม้ สร้างปัญหาให้กับมนุษยชาติเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืชไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  สารพิษกำจัดศัตรูพืชชนิดคาร์เบนดาซิม ไซเปอร์เมทริน ไดอะซินอน และอิมิดาคลอร์ฟริด มีอันตรายต่อสุภาพอย่างมาก และการตรวจหาสารพิษทั้ง 4 ชนิดที่ตกค้างในพืชผักจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ซับซ้อน มีราคาแพง และต้องใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จึงมีความสำคัญเนื่องจากความจำเป็นในการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือหรืออุปกรณ์พร้อมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ราคาถูก คล่องตัว ใช้งานสะดวก ในทุกสถานที่  คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและประยุกต์ใช้เทคนิค NIRs ในช่วงความยาวคลื่น VIS-NIR สำหรับพัฒนาสเปกโตรมิเตอร์สำหรับตรวจสอบสารพิษจำนวน 4 ชนิดได้แก่ คาร์เบนดาซิม ไซเปอร์เมทริน ไดอะซินอน และอิมิดาคลอร์ฟริด ที่ตกค้างในพืชผัก 2 ชนิด คือ พริก และใบกะเพรา ทราบผลลัพธ์ได้ทันที เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และความสามารถในการบริหารจัดการปัญสารพิษตกค้างโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยรวมคณะวิจัยได้นำเสนอการจัดการปัญหาสารพิษตกค้างในผักผลไม้ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสเปกโตรสโคปิก ที่มีต้นทุนต่ำ คล่องตัว ผู้เกี่ยวข้องกับสารพิษสามารถหลีกเลี่ยงผลที่อาจเกิดขึ้นจากสารพิษทั้ง 4 ชนิดนี้ เนื่องจากการบริโภคผักผลไม้ที่ปนเปื้อนสารพิษได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5900
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NatthasakYaemsuk.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.