Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5895
Title: พัฒนาการความโสดในนวนิยายไทย ช่วง พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2560  
THE DEVELOPMENT OF SINGLEHOOD IN THAI NOVELS DURING B.E. 2516-2560
Authors: Chintana Lualon
จินตนา เหลือล้น
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
Naresuan University
Kanchana Witchayapakorn
กาญจนา วิชญาปกรณ์
kanchanaw@nu.ac.th
kanchanaw@nu.ac.th
Keywords: ความโสด
พัฒนาการ
นวนิยายไทย
Single
Development
Thai Novels
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aim to study the development of singlehood and the construction of singlehood in Thai novels during B.E. 2516 – 2560. The study found that The loneliness that appears in In Thai novels, there are 2 concepts of singleness: 1) Negative concepts of singleness appear in 3 concepts 1.1) Being single is shame, consisting of 1.1.1) Being devalued as having no partner 1.1.2) Being right Underrated as ugly 1.1.3) Underrated as sexually deviant 2Singleness is suffering, consisting of 1.2.1) Singleness is suffering of single people 1.2.2) Singleness makes family members of single people suffer. 1.3) Singleness is the contradiction of traditional values. 2) Positive singleness concepts appear in 2 concepts: 2.1) Singleness is freedom and 2.2) Singleness is safe space. The development of a series of negative celibacy concepts that appeared in every year of novels that proposed celibacy. These conclusions show that novel authors want to emphasize that single status is a status that has negative effects on both It affects those who are single, whether single men, single women, and LGBT people. Being single makes single people and those involved miserable. And the decision to remain single is a decision that runs counter to the conventional opinion of those dealing with single people. Developments that show trends in presentation The series of negative loneliness continuations reiterates that the author of the novel wishes to present celibacy as a state that makes single people and those involved unhappy. The development of the positive single mindset found that the positive single mindset appeared in In a 10-year period of novels, it found that a series of positive ideas about single women were consistently presented, indicating that the author emphasized that single status positively affects women both physically and mentally. The body that was not abused by the husband psychologically without being controlled by her husband The way of living that does not have to allocate income to raise children and to pay for family expenses. Strategies for assembling celibacy in Thai novels through novel elements were found in 3 elements: 1) assembling celibacy through plots were found in 2 types: 1.1) assembling single through finding a mate storyline 1.2) assembling single through learning plots Life 2) Constructing singles through characters found 2 characteristics: 2.1) Constructing singles through characters with single status 2.2) Constructing singles through characters related to single characters he assembly of celibacy 3) Assembling singles through the scene was found in 2 characteristics: 3.1) the assembly of celibacy through the wedding scene, 3.2) the assembly of celibacy through the reunion scene.
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการความโสดและการประกอบสร้างความโสดในนวนิยายไทยช่วง พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่า ความโสดที่ปรากฏในนวนิยายไทยปรากฏชุดความคิดความโสด 2 ชุดความคิด ได้แก่ 1) ชุดความคิดความโสดด้านลบ ปรากฏ 3 ชุดความคิด ได้แก่ 1.1) ความโสด คือ ความอัปยศ ประกอบด้วย 1.1.1) ถูกด้อยค่าว่าไร้คู่ครอง 1.1.2) ถูกด้อยค่าว่าอัปลักษณ์ 1.1.3) ถูกด้อยค่าว่าเบี่ยงเบนทางเพศ 1.2) ความโสด คือ ความทุกข์ ประกอบด้วย 1.2.1) ความโสด คือ ความทุกข์ของคนโสด 1.2.2) ความโสดทำให้คนในครอบครัวของคนโสดเป็นทุกข์ และ 1.3) ความโสด คือ การขัดค่านิยมดั้งเดิม  2) ชุดความคิดความโสดด้านบวก ปรากฏ 2 ชุดความคิด ได้แก่ 2.1) ความโสด คือ อิสระ และ 2.2) ความโสด คือ พื้นที่ปลอดภัย พัฒนาการของการเสนอชุดความคิดความโสดด้านลบที่ปรากฏในทุกช่วงปีที่ ปรากฏนวนิยายที่เสนอเรื่องความโสดผลสรุปดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนนวนิยายต้องการย้ำว่าสถานะโสดเป็นสถานะที่ส่งผลด้านลบทั้งต่อตัวผู้ที่เป็นโสดไม่ว่าจะเป็นชายโสด หญิงโสด และผู้ที่เป็นเพศทางเลือกและยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนโสดเนื่องจากสถานะโสดทำให้คนโสดได้รับความอัปยศ สถานะโสดทำให้คนโสดและผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความทุกข์ และการตัดสินใจที่จะมีสถานะโสดเป็นการตัดสินใจที่ขัดค่านิยมดั้งเดิมในความคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนโสด พัฒนาการที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเสนอชุดความคิดความโสดด้านลบอย่างต่อเนื่องเป็นการย้ำว่าผู้เขียนนวนิยายต้องการเสนอว่าความโสดเป็นสถานะที่ทำให้คนโสดและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มีความสุข พัฒนาการชุดความคิดความโสดด้านบวกพบว่าชุดความคิดความโสดด้านบวกปรากฏในนวนิยายเป็นจำนวน 10 ช่วงปี โดยพบว่าการเสนอชุดความคิดความโสดด้านบวกที่เกี่ยวกับผู้หญิงโสดมีการเสนออย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนเน้นเสนอให้เห็นว่าสถานะโสดส่งผลดีต่อผู้หญิงทั้งทางด้านร่างกายที่ไม่ถูกสามีทำร้าย ทางด้านจิตใจที่ไม่ต้องถูกสามีควบคุม ทางด้านการครองชีพที่ไม่ต้องจัดสรรรายได้เพื่อนำไปเลี้ยงบุตรและเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว กลวิธีการประกอบสร้างความโสดในนวนิยายไทยผ่านองค์ประกอบของนวนิยาย พบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1 การประกอบสร้างความโสดผ่านโครงเรื่อง พบ 2 ประเภท ได้แก่ 1.1) การประกอบสร้างความโสดผ่านโครงเรื่องตามหาคู่ครอง 1.2) การประกอบสร้างความโสด ผ่านโครงเรื่องเรียนรู้ชีวิต  2) การประกอบสร้างความโสดผ่านตัวละคร พบ 2 ลักษณะ ได้แก่ 2.1) การประกอบสร้างความโสดผ่านตัวละครที่มีสถานะโสด 2.2) การประกอบสร้างความโสดผ่าน ตัวละครที่เกี่ยวข้องกับตัวละครที่มีสถานะโสด 3) การประกอบสร้างความโสดผ่านฉาก พบ 2 ลักษณะ ได้แก่ 3.1) การประกอบสร้างความโสดผ่านฉากแต่งงาน 3.2) การประกอบสร้างความโสดผ่านฉากเลี้ยงรุ่น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5895
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChintanaLualon.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.