Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5875
Title: ศึกษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในปลาวงศ์ปลาตะเพียนในชุมชนเสี่ยงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย
Study of Opisthorchis viverrini infection in cyprinid fish in risk communities in lower Northern Thailand
Authors: Cheerasak Champakaew
จีรศักดิ์ จำปาแก้ว
Wilawan Pumidonming
วิลาวัณย์ ภูมิดอนมิ่ง
Naresuan University
Wilawan Pumidonming
วิลาวัณย์ ภูมิดอนมิ่ง
wilawanp@nu.ac.th
wilawanp@nu.ac.th
Keywords: ปลาวงศ์ปลาตะเพียน
พยาใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini
Cyprinid fish
Liver fluke
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Liver fluke infection caused by Opisthorchis viverrini is a major parasitic disease in the public health problem of Thailand. Cyprinid fish serves as a second intermediate host (metacercaria) which infects to human. Therefore, we aimed to survey cyprinid fish and O. viverrini infection in risk communities in the lower northern Thailand including Uthai Thani, Nakhonsawan, Sukhothai, Uttaradit, Phichit, Phitsanulok, Phetchabun, Kamphaengphet and Take province. Fish samples were randomly collected from 2 rivers, 3 ponds, 2 dams, 2 water barrier and 8 canals. Species of Fishes were further identified and examined for O. viverrini metacercaria infection by digestion method and molecular technique. Fifteen Cyprinid fish species were identified. Twelve species including Puntioplites proctozysron, Osteochilus hasselti, Henicorhynchus siamensis, Puntius orphoides, Mystacoleucus marginatus, Puntius brevis, Cyclocheilichthys repasson, Cyclocheilichthys apogon, Barbodes gonionotus, Barbodes schwanenfeldi, Osteochilus vittatus and Rasbora aurotaenia are potential hosts of O. viverriniinfection. Metacercaria of O. viverrini was found in 5 species of cyprinid fish, B. schwanenfeldi(114 cysts), H. siamensis (46 cysts), C. repasson (24 cysts), M. marginatus (16 cysts), and P. orphoides (2 cysts). Infection of O. viverrini in cyprinid fish was found in 2 high-risk communities of 2 provinces including Phetchabun and Sukhothai where the infection rate in humans was more than 5%. In this study, we provide the information of O. viverrini infection in cyprinid fish, which is an important host in nature, can use the information for making a prevention program to decrease the infection in people community from O. viverrini.
โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นโรคปรสิตที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของไทย คนติดเชื้อจากการกินปลาวงศ์ตะเพียนที่เป็นโฮสต์ตัวกลางที่ 2 ที่มีระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดปลาและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในปลาวงศ์ตะเพียนในชุมชนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ตัวอย่างปลาจะถูกเก็บแบบสุ่มจากแหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำ 2แหล่ง สระน้ำ 3 แหล่ง เขื่อน 2 แหล่ง ฝายกั้นน้ำ 2 แหล่งและคลองน้ำ 8 แหล่ง ตัวอย่างปลาจะนำมาจำแนกชนิดและตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ ผลการศึกษาพบปลาวงศ์ตะเพียนทั้งหมด 15 ชนิด และปลาวงศ์ตะเพียน 12 ชนิด ได้แก่ ปลากระมัง (Puntioplites proctozysron), ปลาสร้อยนกเขา (Osteochilus hasselti), ปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis), ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides), ปลาหนามหลัง (Mystacoleucus marginatus), ปลาตะเพียนทราย (Puntius brevis) , ปลาไส้ตันตาขาว(Cyclocheilichthys repasson), ปลาปากเหลี่ยม (Cyclocheilichthys apogon), ปลาตะเพียนขาว (Barbodes gonionotus), ปลาตะเพียนหางแดง (Barbodes schwanenfeldi), ปลาซ่า (Osteochilus vittatus), และปลาซิวควาย (Rasbora aurotaenia) เป็นชนิดที่มีรายงานการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini  ผลการศึกษาในชุมชนเสี่ยงของภาคเหนือตอนล่างพบการติดเชื้อในปลาวงศ์ตะเพียน 5 ชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียนหางแดง (B. schwanenfeldi)  , ปลาสร้อยขาว (H. siamensis), ปลาไส้ตันตาขาว (C. repasson), ปลาหนามหลัง (M. marginatus) และ ปลาแก้มช้ำ (P. orphoides) ปลาวงศ์ตะเพียนที่มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับนั้นพบในชุมชนเสี่ยงในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่มีอัตราการติดเชื้อในคนสูงเกินร้อยละ 5 การศึกษาครั้งนี้ทราบถึงข้อมูลการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ในปลาวงศ์ปลาตะเพียนที่เป็นโฮสต์ที่สำคัญในธรรมชาติ สามารถนำข้อมูลมาจัดทำโปรแกรมป้องกันเพื่อลดอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของคนภายในชุมชนได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5875
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CheeraskChampakaew.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.