Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5831
Title: แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน
GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF ONLINE TEACHING AND LEARNING FOR TEACHERS 
Authors: Airinlada Chairotkitikon
ไอรินลดา ชัยโรจน์กิติกร
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
Naresuan University
Thak Udomrat
ทักษ์ อุดมรัตน์
thaku@nu.ac.th
thaku@nu.ac.th
Keywords: สภาพการจัดการเรียนการสอน, การพัฒนาการเรียนการสอน, การเรียนออนไลน์
instructional management condition teaching and learning development online learning
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research is. 1) To study the level of teachers' opinions towards the development of online teaching and learning of teachers. 2) To study the conditions and needs of online teaching and learning of teachers that affect the guidelines for developing online teaching and learning management of teachers. and 3) to study the recommendations for the development of online teaching and learning among teachers. This study is a Quantitative Research Methodology. A questionnaire was used as a tool to collect data from 313 teachers under Uttaradit Primary Educational Service Area Office 1. Statistics used in data analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation. and analyzing Multiple Regression in analyzing the hypothesis set.           The results were found. 1) A study of the level of teachers' opinions towards the development of online teaching and learning of teachers. Overall, the opinions were at the highest level. 2) The condition and needs of teachers in online teaching, including general information, teaching methods, Problems in online teaching and learning and needs in teaching and learning of teachers affecting the development of online teaching and learning management for teachers Statistically significant at the level of 0.05. and 3) Teachers should make use of various technology tools such as Zoom, Google Classroom, and other online platforms to improve their teaching and learning experience. Data from online assessments should be used. student interaction and other sources of information.   Keywords: instructional management conditions, teaching and learning development, online learning
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน 2) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 จำนวน 313 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ในการวิเคราะห์สมมติฐานที่ตั้งไว้           ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพและความต้องการในการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป รูปแบบในการจัดการเรียนการสอน สภาพปัญหาในการเรียนสอนการสอนออนไลน์ และความต้องการในการเรียนการสอนของครูผู้สอน ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ครูควรมีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Zoom, Google Classroom และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ ควรมีการใช้ข้อมูลจากการประเมินออนไลน์ การโต้ตอบของนักเรียน และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ   คำสำคัญ: สภาพการจัดการเรียนการสอน, การพัฒนาการเรียนการสอน, การเรียนออนไลน์
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5831
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AirinladaChairotkitikon.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.