Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5813
Title: การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนเอกชน
The Development of Blended Training model with Professional Learning Community to enhance Learning Management Competency using Communication Learning Technique with Information Technology Communication for English Teachers in Private School
Authors: Pornpat Rattanacharoen
ภรภัทร รัตนเจริญ
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
Naresuan University
Kobsook Kongmanus
กอบสุข คงมนัส
kobsookk@nu.ac.th
kobsookk@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้
ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หลักการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
Blended Training model
Professional Learning Community
Learning Management Competency
Information and Communication Technology
Communication Learning Technique
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the teachers’ need in Blended Training model with Professional Learning Community (PLC) to enhance Learning Management Competency using Communication Learning Technique (CLT) with Information Technology Communication (ITC) for English Teachers in Private School. 2) to specify the competency criterion for language learning management competency for communication with ITC 3) to develop and verify the quality of Blended training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School, 4) to study the results of using the with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School and 5) to approve and propose Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School. The sample consisted of 30 primary school teachers in Kamphaeng Phet Province by Cluster random sampling. The research instruments were: 1) the needs for Blended Training model with PLC questionnaire, 2) the assessment form for the appropriateness of learning management competency criterion 3) the appropriate assessment form for Blended Training model with PLC 4) knowledge competency test before and after training 5) the evaluation form for language learning management skills for communication 6) Observation form for CLT 7) Satisfaction questionnaire of Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School and 8) appropriateness evaluation form approve and propose the Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School. Data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation and t-test dependent. The results of research were as follows: 1. Teachers needed a blended training model with a PLC as follows: 1) the proportion of face-to-face and online training is 60:40 2) online training media which highest need are books, lessons and contents which can download 3) the highest need for online training process is requiring to have a test before training and inform the test results to the trainees. 4) Demonstration is the highest need for Face-to-face training 5) The measurement and evaluation skills is the highest purpose on demand training 6) The most demanding contents are media innovation tools for information and communication technology for learning activities. 7) The duration of the face-to-face training is 2 days. 8) The training process is the implementation of language learning management for communication. 9) the most demanding media is technology media 10) the most demanding assessments are Testing before and after training. 2. The results of the analysis of the appropriable competency criterion for learning management revealed that the knowledge and skills in communication language learning management competencies has a suitability index between 0.60-1.00, which is higher than the specified criterion of 0.50, indicating that all competency assessment criterion are appropriate. 3. The results of appropriable components of Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC consisted of 7 components as follows: training model principles, objectives, trainers/trainees, training content, blended training process with the professional learning community, suitability media and facilities and Learning Management Competency using CLT with ITC. The model was evaluated by experts, it was found that every components were appropriate at the highest level (X̄ = 4.78, S.D. = 0.42). When analyzing the efficiency of the training model, it was found that the value was 81.80/82.67 which is higher than the specified criterion. 4. The results of using the Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC found that 1) the comparing of the knowledge competency after training were statistically significant higher than post-test at the .05 2) the assessment of skill competency had the highest quality level (X̄ = 4.71, S.D. = 0.52). When considering the assessment items, it was found that the learning management plan had all the essential elements 3) the results of practicing in the classroom, it was found that teachers had the highest level of teaching quality (X̄ = 4.85, S.D. = 0.37) and 4) the result of satisfaction there were satisfied with blended training model at the highest level (X̄ = 4.63, S.D. = 0.51). 5. The result of approving and proposing from experts showed that the Blended Training model with PLC to enhance Learning Management Competency using CLT with ITC for English Teachers in Private School was appropriated at 100 percent in every component.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อความต้องการของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษต่อรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ 2) เพื่อกำหนดเกณฑ์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูภาษาอังกฤษ 3) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพฯ และ 5) เพื่อรับรองรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2) แบบประเมิน ความเหมาะสมของเกณฑ์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ 4) แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านความรู้ก่อนและหลัง การฝึกอบรม 5) แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 6) แบบสังเกตการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และ 8) แบบประเมินและรับรองรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความต้องการรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ดังนี้ 1) สัดส่วนระหว่างการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้ากับแบบออนไลน์ 60:40 2) สื่อในการฝึกอบรมแบบออนไลน์ที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ หนังสือ บทเรียน เนื้อที่สามารถดาวน์โหลดได้ 3) ลักษณะการดำเนินการฝึกอบรมแบบออนไลน์ (Online) ส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการทดสอบความรู้ก่อนการฝึกอบรมออนไลน์และแจ้งผลการทดสอบให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรับทราบ 4) การฝึกอบรมแบบเผชิญหน้ามีความต้องการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) มากที่สุด 5) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมที่มีความต้องการมากที่สุด คือ ทักษะการวัดและประเมินผล 6) เนื้อหาที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ สื่อ นวัตกรรม เครื่องมือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7) ระยะเวลาในการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้าคือ 2 วัน 8) ด้านกระบวนการในการฝึกอบรม คือ การลงมือปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 9) สื่อที่มีความต้องการมากที่สุด คือ สื่อเทคโนโลยี 10) การประเมินผลที่มีความต้องการมากที่สุด คือ การทดสอบก่อนและหลังการเข้ารับการฝึกอบรม 2. ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของเกณฑ์สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า สมรรถนะด้านความรู้และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร มีค่าดัชนีความเหมาะสมระหว่าง 0.60-1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 0.50 แสดงให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินสมรรถนะทุกข้อมีความเหมาะสม 3. ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งเรียนรู้ทางวิชาชีพมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการรูปแบบการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ ผู้ให้การฝึกอบรม/ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เนื้อหาการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ ความเหมาะสมของสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.78, S.D. = 0.42) เมื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการฝึกอบรม พบว่า มีค่าเท่ากับ 81.80/82.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4. ผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า 1) จากการประเมินสมรรถนะด้านความรู้ ครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ที่ได้จากการทดสอบหลังการฝึกอบรมมีค่าสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม 2) จากการประเมินสมรรถนะด้านทักษะ พบว่า โดยรวมครูมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.71, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณารายการประเมิน พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติการสอนในห้องเรียน พบว่า ครูมีระดับคุณภาพการสอนในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.85, S.D. = 0.37) และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่เข้ารับการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X̄ = 4.63, S.D. = 0.51) 5. ผลการประเมินรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทุกองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 100
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5813
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PornpatRattanacharoen.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.