Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5808
Title: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุร่วมกับออนโทโลยีเพื่อวิเคราะห์การใช้ที่ดินในจังหวัดพิษณุโลก
Applying the Object-oriented Image Analysis with Ontology to Analyze Land Use in Phitsanulok Province
Authors: Uttaporn Lertaramsaeng
อรรธพร เลิศอร่ามแสง
Janjira Payakpate
จันทร์จิรา พยัคฆ์เพศ
Naresuan University
Janjira Payakpate
จันทร์จิรา พยัคฆ์เพศ
janjirap@nu.ac.th
janjirap@nu.ac.th
Keywords: การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวัตถุ
ออนโทโลยี
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
Land use and Land cover (LULC)
Object-based image analysis
Ontology
Satellite images
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Land use and Land cover (LULC) tend to change over time and continuously. LULC mapping or site monitoring and classification must be obtained quickly and accurately. Acquisition of LULC data that can be tracked or improved is limited in terms of interpretation because it requires specialists in interpretation, sometimes field surveys are required. Each survey takes a long time and is quite expensive. Therefore, technology has been employed to aid in the interpretation of satellite images. The object-based image analysis method has achieved higher overall accuracy than other approaches. In the analysis of land use in Phitsanulok Province, the combination of object-based image analysis and ontological methods has shown superior effectiveness in land use and Land cover classification compared to traditional data analysis techniques. By incorporating ontological practices, the classification process can achieve an overall accuracy rate exceeding 80 percent.
การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการทำแผนที่การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินหรือการติดตามตรวจสอบพื้นที่รวมถึงการจำแนกประเภทจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญ การได้มาของข้อมูลการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมที่สามารถติดตามหรือนำมาปรับปรุงได้นั้นมีข้อจำกัดในด้านการแปลตีความเพราะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการแปลตีความ บางครั้งต้องมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจภาคสนาม การสำรวจแต่ละครั้งใช้ระยะเวลาในการทำงานนานและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียมตัวอย่างเช่น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุให้ค่าความถูกต้องโดยภาพรวมสูงกว่าวิธีการอื่น แต่การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุร่วมกับออนโทโลยีเพื่อวิเคราะห์การใช้ที่ดินในจังหวัดพิษณุโลก แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการทางออนโทโลยีมาช่วยในการจำแนกร่วมกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุสามารถจำแนกประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงวัตถุแบบเดิมดูได้จากค่าความถูกต้องโดยรวมมากว่าร้อยละ 80
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5808
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
UttapornLertaramsaeng.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.