Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5793
Title: การศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพด้วยศิลปกรรมอัตลักษณ์จังหวัดสุโขทัย
The study of pattern for Wellness Tourism activities with identity art in Sukhothai Province
Authors: Piromporn Sangsuriyaroj
ภิรมย์พร แสงสุริยาโรจน์
Jaruwan Daengbuppha
จารุวรรณ แดงบุบผา
Naresuan University
Jaruwan Daengbuppha
จารุวรรณ แดงบุบผา
jaruwand@nu.ac.th
jaruwand@nu.ac.th
Keywords: กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
ศิลปะกรรมอัตลักษณ์
จังหวัดสุโขทัย
รูปแบบกิจกรรมกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
Wellness Tourism Activity
Identity art
Sukhothai Province
The pattern of Wellness Tourism Activity
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The study of pattern for Wellness Tourism activities with identity Art in Sukhothai Province. The objectives are: 1) to study the pattern of activities that are the Identity Art of Baan Phra Pim Laksamonasin, Ganesha Gallery (Sangkhalok) and Baan Predaphirom 2) To analyze the process of organizing activities of the Identity Arts in 3 places classified as well-Being activities. 3) pattern for Wellness Tourism activities with identity Art of Sukhothai Province.It is a Qualitative Research using a Semi-structured Interview.This research assumes that the whole population is a sample of 43 people, divided into two groups: 1. Entrepreneurs and tour guides is 6 people, and 2. Tourists who come to do tourism activities in all 3 attractions in Sukhothai Province, totaling 37 people (from 4 expeditions). The results of The study of pattern for Wellness Tourism activities with identity Art of Sukhothai Province was a work shop activity or an activity in which tourists participated in the action. It's a unknown activity or it is an activity that has been further developed but still retains its identity art. It will make tourists more enthusiastic about doing activities and feel challenged to participate in the creation of the work/piece. The pattern of the process of organizing tourism activities that will well-being for physical, psychological and spiritual of the participants consists of preparing a place and creating a relaxing environment surrounding the activity. Welcoming tourists with friendliness and having drinking water or snacks to impress and relieve travel fatigue.Concise description of activities to get the point made it easier for the participants to understand and learn. Makes perceptions that are not complicated, not boring and interaction with others between the leaders of the visiting activities.The work shop activities are conducted by tourists themselves. The idea of challenging the strength or efficiency of the body to create works to gain freedom of thought no pressure cause psychological relaxation which results in meditation. Focusing on what you are doing and working hard to get it done. And such activities may remind you of the spirit of art work in the old days. causing the return of that feeling.In addition, tourists spend time making art worthwhile. There is no feeling of tiredness or boredom, but rather a feeling of relaxation and enjoyment until not knowing the passing of time. This means that identity art activities can truly well-being for physical, psychological and spiritual. The appropriate time for doing activities should last about 1-3 hours.
การศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพด้วยศิลปกรรมอัตลักษณ์จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบลักษณะกิจกรรมที่เป็นศิลปกรรมอัตลักษณ์ของบ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ กะเณชา แกลอรี่(สังคโลก) และบ้านปรีดาภิรมย์ 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการจัดกิจกรรมของศิลปกรรมอัตลักษณ์ใน 3 แหล่งที่จัดว่าเป็นกิจกรรมเชิงส่งเสริมสุขภาพ 3) เพื่อเสนอรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพด้วยศิลปกรรมอัตลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) งานวิจัยนี้ถือว่าประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 43 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ผู้ประกอบการและผู้นำเที่ยว จำนวน 6 คน และ 2.นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทำกิจกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 3 แหล่งในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 37 คน (จากคณะเดินทาง 4 คณะ)  ผลจากการศึกษา พบว่า รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพด้วยศิลปกรรมอัตลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นกิจกรรมลักษณะ Work Shop หรือกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการลงมือทำ เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ หรือเป็นกิจกรรมที่พัฒนาต่อยอดแต่ยังคงความเป็นศิลปกรรมอัตลักษณ์ไว้ จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้น และรู้สึกท้าทายต่อตนเองที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงาน/ชิ้นงาน ซึ่งรูปแบบกระบวนการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จะทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย การจัดเตรียมสถานที่และการสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมโดยรอบกิจกรรมให้เกิดความผ่อนคลาย การต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยความเป็นกันเอง และการมีบริการน้ำดื่มหรืออาหารว่างเพื่อสร้างความประทับใจและเกิดความผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง การบรรยายกิจกรรมที่กระชับสั้นๆ ได้ใจความ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ไม่ซับซ้อน ไม่น่าเบื่อ และเกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นระหว่างผู้นำกิจกรรมพาเยี่ยมชม ซึ่งการดำเนินกิจกรรม Work Shop นักท่องเที่ยวจะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง เกิดความนึกคิดท้าทายความแข็งแรงหรือประสิทธิภาพของร่างกายต่อการสร้างสรรค์ผลงาน การที่ได้รับความอิสระทางด้านความคิด ไม่มีภาวะกดดัน ทำให้เกิดความผ่อนคลายทางด้านจิตใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดสมาธิ การจดจ่อกับสิ่งที่ตนเองทำและเพียรพยายามที่จะทำผลงานให้สำเร็จ และกิจกรรมดังกล่าวอาจทำให้นึกถึงจิตวิญญาณการทำงานศิลปะในวันเก่า ทำให้เกิดการหวนคืนความรู้สึกนั้นๆ นอกจากนี้การที่นักท่องเที่ยวใช้เวลาการทำงานศิลปะอย่างคุ้มค่า ไม่รู้สึกถึงความเหน็ดเหนื่อย ความน่าเบื่อ แต่กลับรู้สึกผ่อนคลายและเกิดความเพลิดเพลินจนไม่รู้การล่วงเลยของระยะเวลาที่ผ่านไป นั้นหมายความว่ากิจกรรมศิลปกรรมอัตลักษณ์เป็นกิจกรรมเชิงส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณได้อย่างแท้จริง ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมควรมีระยะเวลาประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5793
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PirompornSangsuriyaroj.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.