Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5735
Title: ปัจจัยกำหนดระดับความสุขคนทำงานในองค์กร
DETERMINANTS OF PERSONNEL HAPPINESS LEVEL IN ORGANIZATIONS
Authors: WANTHIDA YANNAWA
วัลย์ธิดา ยานนาวา
Bhagaporn Wattanadumrong
ภคพร วัฒนดำรงค์
Naresuan University
Bhagaporn Wattanadumrong
ภคพร วัฒนดำรงค์
Bhagaporn@nu.ac.th
Bhagaporn@nu.ac.th
Keywords: ความสุขในการทำงาน
ระดับความสุขคนทำงาน
ความสุขคนทำงานในองค์กร
Happiness at work
Worker happiness level
Personnel happiness levels in organizations
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were to investigate the overall employee workplace happiness levels in organizations, to study the determinants affecting the employee workplace happiness levels in organizations, and to provide policy recommendation for enhancing the level of employee workplace happiness. Secondary data from the Employee Happiness Survey was collected from the 2018 National Statistical Office as it was the latest survey data from the National Statistical Office. All provinces in Thailand were surveyed using a total of 83,880 household members interviewed, sampled by stratified two-stage sampling. There were 21,085 samples that were respondents to interviews about employee happiness in the organization. The factors that determine the employee happiness levels in all organizations were defined in five aspects: health, social, work, economic, and welfare aspects. The data were then analyzed using descriptive statistics to describe general characteristics by displaying their results in the form of descriptive statistics, percentages, and frequencies. The Ordered Logit Model is used with the Maximum Likelihood Estimates (MLE) method. Marginal effect was used to analyze the factors determining the employee happiness levels in the organization.   The analysis of the factors determining the level of employee workplace happiness in the organizations were found as follows: The log likelihood function was -11035.888 and the Pseudo R-squared was 0.2217. It was found that the factors that determine employee happiness in the organization in 5 areas, namely health, social, work, economic, and welfare. All affect the employee happiness levels in the organization in all aspects. The findings implied that these five determinants were independent variables that could be explain the employee happiness levels in the organizations with statistical significance level. Most of the respondents were very happy and because none of the respondents responded that they were extremely unhappy. Therefore, the researcher had to adjust the value of the dependent variable using the same criteria for interpreting the happiness level measurement results. Most of the samples were in the central region, were males, aged 41-60 years, and were adults. Most were married and had no children. Most of the education was completed at primary school level. Most of them worked as service workers and salespeople in stores and markets. Most of the working conditions were private employees. Recommendations from the research include that organizations should promote health, recreational and exercise activities for employees to promote physical and mental well-being, refreshed mental health, and reduce stress. They should increase the opportunity to express opinions and participate in work independently. The organization should listen to the opinions and suggestions from the employees in order to allow them to express new opinions, dare to think, assertively, make themselves feel part of the organization, and when there is a problem, they can join in solving the problem. The level of clarity of the opportunities for growth in the position should be increased more clearly. Career development plans should be defined for employees more clearly so that employees can see the direction of their own progress, so that the employees themselves can develop their own potential and can plan their own future accordingly. Employees should be encouraged to have the opportunity to receive training to develop skills and ability to work more efficiently in the long run and to become a happy workplace in a sustainable manner.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของระดับความสุขคนทำงานในองค์กรและศึกษาปัจจัยกำหนดที่ส่งผลต่อระดับความสุขคนทำงานในองค์กรและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเพิ่มระดับความสุขในการทำงาน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจความสุขคนทำงานในองค์กรจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2561 เนื่องจากเป็นข้อมูลการสำรวจชุดล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจทุกจังหวัดในประเทศไทย ด้วยวิธีการสัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 83,880 ครัวเรือนตัวอย่าง ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified  Two – Stage Sampling โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าข่ายที่เป็นผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เรื่องความสุขคนทำงานในองค์กรทั้งสิ้น 21,085 ตัวอย่าง กำหนดให้มีปัจจัยกำหนดระดับความสุขคนทำงานในองค์กรทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการอธิบายถึงลักษณะทั่วไป โดยแสดงผลในรูปแบบของสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ  และความถี่ และใช้แบบจำลอง Ordered Logit Model ด้วยวิธีการประมาณค่าความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimates : MLE) และเทคนิควิเคราะห์ส่วนเพิ่ม (Marginal Effect) ในการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดระดับความสุขคนทำงานในองค์กร     การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดระดับความสุขคนทำงานในองค์กร ได้ผลการศึกษา ดังนี้ ได้ค่า Log Likelihood Function เท่ากับ -11035.888 ค่า Pseudo R-squared เท่ากับ 0.2217 พบว่าปัจจัยกำหนดความสุขคนทำงานในองค์กรทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านการทำงาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสวัสดิการ ต่างก็ส่งผลกระทบต่อระดับความสุขคนทำงานในองค์กร ในทุกด้าน กล่าวคือ ปัจจัยกำหนดทั้ง 5 ด้านนี้นั้น สามารถเป็นตัวแปรอิสระที่สามารถอธิบายต่อระดับความสุขคนทำงานในองค์กรในแต่ละด้านได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสุขมากและเนื่องจากไม่มีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่าไม่มีความสุขอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้วิจัยต้องปรับค่าของตัวแปรตามใหม่ โดยยังใช้เกณฑ์การแปลผลการวัดค่าระดับความสุขเช่นเดิม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 41 - 60 ปี เป็นวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสและไม่มีบุตร การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับชั้นประถมศึกษาส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้าและตลาด สถานภาพการทำงานส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างเอกชน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่ องค์กรควรส่งเสริมในด้านสุขภาพ การจัดหากิจกรรมนันทนาการและออกกำลังกายให้กับพนักงาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้มีร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่สดชื่นและลดความเครียด และควรเพิ่มโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำงานได้อย่างมีอิสระ องค์กรควรรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทางพนักงาน เพื่อที่จะให้พนักงานนั้นได้สามารถแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ กล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น ให้ตัวพนักงานเองได้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับองค์กร และเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถที่จะร่วมแก้ไขปัญหานั้นได้ และควรเพิ่มระดับความชัดเจนของโอกาสในการเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ให้ชัดเจนมากขึ้น ควรมีการกำหนดแผนพัฒนาอาชีพให้กับพนักงานให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้พนักงานได้เห็นถึงทิศทางความก้าวหน้าของตนเองได้ เพื่อที่ตัวของพนักงานเองจะได้พัฒนาศักยภาพของตนเองและสามารถวางแผนอนาคตของตัวเองให้เหมาะสมได้ และควรส่งเสริมให้พนักงานได้มีโอกาสได้รับการอบรม/ศึกษาต่อ/ดูงาน เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว และเพื่อเป็นองค์กรที่มีความสุขในการทำงานอย่างยั่งยืน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5735
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WanthidaYannawa.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.