Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5728
Title: การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
ACTIVITY BASED LEARNING MANAGEMENT ACCORDING TO THE THREE ADMONITIONS OF THE BUDDHA TO DEVELOP RATIONAL THINGING SKILLS OF PRIMARY SCHOOL STUDENT
Authors: Yanisa Lerskai
ญาณิศา เลิศไกร
Nattachet Pooncharoen
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
Naresuan University
Nattachet Pooncharoen
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ
Nattachetp@nu.ac.th
Nattachetp@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
หลักพุทธโอวาท 3
ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
Activity- Based Learning Management
Three Admonitions of the Buddha
Thinking Skills Rational
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the current situation and learning problems. To develop rational thinking skills of elementary school students and 2) To develop learning management according to Buddhist sermons 3) To develop rational thinking skills of elementary school students, which is qualitative research. The research areas are Ban Thung Maha School, Mahachai Subdistrict, Sai Ngam District, Kamphaeng Phet Province. There were a group of 57 informants according to the research method used by purposive sampling, consisting of students in grades 4-6 of Ban Thung Mahan School. Teachers of Ban Thung Maha School Local philosopher, community leader, abbot of Wat Thung Mamuang The tools used in the research were: 1) In-depth interview questions; 2) Participation observation form; 3) Activity-based recording form using descriptive data analysis. The results showed current conditions and learning difficulties. To develop rational thinking skills of primary school students in all four aspects of the two groups of informants had a consensus that the learning management process of teachers currently using the teaching and learning method in The Buddhist course was not in line with the needs of the learners, lacking the main intervention in rational thinking, causing the learners to lack knowledge in learning and unable to explain their practices in accordance with Buddhist principles. Lack of knowledge in developing and producing media for teaching and learning management. causing students to lack motivation to study. This results in a lack of rational thinking skills. In the Buddhism subject, the researcher therefore used the results of the study of the current situation and the state of learning problems to develop rational thinking skills to develop learning management according to the Buddhist teachings 3 to develop rational thinking skills of primary school students. Study the results of learning management development using activities as a based on Buddhist Sermons 3 to develop rational thinking skills of elementary school students, it was found that students had higher rational thinking skills from cognitive activities related to social studies subjects, religion and culture Buddhist content using an activity-based learning management manual based on Buddhist teachings 3 to develop rational thinking skills of elementary school students. To enhance rational thinking skills, allowing students to participate in activities together on the differences of learners and their ability to apply knowledge according to the Buddha's teachings 3 together with rational thinking in the course of Buddhism. It is able to bring knowledge to the top to become a good Buddhist. It is able to live with people in other societies according to the learning standards and indicators of the course and behave as good citizens and citizens of a multicultural society.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธโอวาท  3  เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมหาศาล ตำบลมหาชัย อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 57 คน ตามวิธีดำเนินการวิจัย ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านทุ่งมหาศาล คณะครูโรงเรียนบ้าน ทุ่งมหาศาล ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าอาวาสวัดทุ่งมหาศาล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา   ผลการวิจัยพบว่า   สภาพปัจจุบันและปัญหาในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาทั้ง 4 ด้าน ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในปัจจุบันที่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพระพุทธศาสนา ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ขาดการสอดแทรกหลักในการคิดเชิงเหตุผล ทำให้ผู้เรียนขาดองค์ความรู้ในการเรียนและไม่สามารถอธิบายการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับหลักทางพระพุทธศาสนาได้ ครูผู้สอนขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาและผลิตสื่อในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน ส่งผลต่อการขาดทักษะในการคิดเชิงเหตุผล ในรายวิชาพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยจึงนำผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสูงขึ้น จากการจัดกิจกรรมการรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระพระพุทธศาสนา โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ตามหลักพุทธโอวาท 3 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงเหตุผล ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันบนความแตกต่างของผู้เรียน และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามหลักพุทธโอวาท 3 ประกอบกับการคิดเชิงเหตุผล ในรายวิชาพระพุทธศาสนาได้ สามารถนำความรู้ไปต่อยอดเพื่อเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีอยู่ร่วมกับบุคคนในสังคมอื่นได้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของรายวิชา และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองและพลโลกที่ดีของสังคมพหุวัฒนธรรม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5728
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
YanisaLerskai.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.