Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5722
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BY USING MODEL BASED LEARNING ON THE TOPIC OF IMMUNE SYSTEM TO ENHANCE SYSTEMS THINKING ABILITY FOR ELEVENTH GRADE STUDENTS
Authors: Wanchanok Parmboon
วรรณชนก เปรมบุญ
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
Naresuan University
Monasit Sittisomboon
มนสิช สิทธิสมบูรณ์
monasits@nu.ac.th
monasits@nu.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน
แบบจำลอง
การคิดเชิงระบบ
Learning Activities
Model Based Learning
Model
Systems Thinking
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research included 1. create and evaluate the effectiveness of learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system according to the criteria 75/75. 2. compared the system thinking ability between before and after using the learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system. 3. study the satisfaction of students with the learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system. The researcher followed the research processes of Research and Development. The sample group of 40 in eleventh grade students in the semester 2 of academic year 2022 at Bangkrathum Pittayakom School under The Secondary Educational Service Area Office Phitsanulok Uttaradit. The sample group was selected by using Sample random sampling. The scopes of the research tools were 1) the learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system. 2) the systems thinking ability test. 3) the satisfaction questionnaire of students to towards learning with learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, efficiency (E1/E2) and hypothesis testing by using the t-test.                  The results were found that:                                                                       1) the learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system was at a highest level of appropriateness (Mean = 4.50, S.D. = 0.51) and efficiency at 75.23/75.31 which mean it met the criterion 75/75.                                   2) the systems thinking ability of students after using the learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system were higher than before learning at .05 statistic significant level.                                                                         3) the satisfaction of students towards learning activities by using Model Based Learning on the topic of immune system was at high level. (Mean = 4.33, S.D. = 0.69)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. สร้างและประเมินระสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบางกระทุ่มพิทยาคม อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 40 คน ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน  2) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบ t-test        ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (Mean = 4.50, S.D. = 0.51) และมีประสิทธิภาพ 75.23/75.31 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75                                                                        2) ความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.33, S.D. = 0.69)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5722
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WanchanckParmboon.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.