Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5718
Title: ผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อสุขสมรรถนะและการทรงตัวในผุ้สูงอายุ
EFFECTS OF RECREATIONAL PROGRAM ON HEALTH – RELATED PHYSICAL FITNESS AND BALANCE IN THE ELDERLY
Authors: SALINTIP MONTIEAN
สลิลทิพย์ มณเฑียร
Tussana Jaruchart
ทัศนา จารุชาต
Naresuan University
Tussana Jaruchart
ทัศนา จารุชาต
tussanaj@nu.ac.th
tussanaj@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมนันทนาการ
สุขสมรรถนะ
การทรงตัวแบบร่างกายอยู่นิ่ง
การทรงตัวแบบร่างกายเคลื่อนที่
ผู้สูงอายุ
Recreational Program
Health-Related Physical Fitness
Static Balance
Dynamic Balance
Elderly
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this study were to examine and compare the effects of recreational program on health-related physical fitness and balance in the elderly. The thirty-four subjects were the elderly aged 60-74 years. They were equally divided into 2 groups by purposive selection, the experimental (EX) group (n = 17) and the control (CON) group (n = 17), did regular daily life. The EX group participated in recreational program at the intensity of light to moderate, 30-60 minutes per day and 3 times a week for 8 weeks. The health-related physical fitness and balance variables were collected before and after training. The outcomes were analyzed using Two-way ANOVA with repeated measures at statistically significant difference at .05 level. The results showed that after 8 weeks of training, percent fat, muscle mass, Cardiovascular endurance in EX group were greater than before at .05 level. The muscle mass, muscular strength and endurance, and flexibility in EX group were greater than CON group at .05 level. Furthermore, 47.05 percent of EX group had static balance in level of 4, one leg can be raised and stand on one leg for more than 10 seconds.  Additionally, dynamic balance of the EX group was greater than before and CON group at .05 level. In conclusion, participation in a recreational program, designed in accordance with the FITT principles, can improve the health-related physical fitness and balance in the elderly.
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อสุขสมรรถนะและการทรงตัวในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-74 ปี จำนวน 34 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 17 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) ได้แก่ กลุ่มทดลอง (เข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ) และกลุ่มควบคุม (ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ) โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30-60 นาที ความหนักระดับเบาถึงปานกลาง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลตัวแปรสุขสมรรถนะและการทรงตัวก่อนและหลังการทดลอง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวหลังทดลองดีขึ้น และพบว่ามวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีการทรงตัวแบบร่างกายอยู่นิ่งในระดับที่ 4 (สามารถยกขาข้างหนึ่งจากพื้นได้ด้วยตนเอง และยืนบนขาข้างเดียวได้นานเกินกว่า 10 วินาที) คิดเป็นร้อยละ 47.05 และยังมีการทรงตัวแบบร่างกายเคลื่อนที่ดีกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วย สรุปได้ว่า การเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการที่เป็นไปตามหลักการออกกำลังกาย (FITT) ส่งผลดีต่อการปรับปรุงสุขสมรรถนะและการทรงตัวในผู้สูงอายุ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5718
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SalintipMontiean.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.