Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5714
Title: การศึกษาสถานการณ์และอิทธิพลของการจราจรต่อระดับมลสารในบรรยากาศและระดับเสียงในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Study on Traffic Situations and Influences on Air Pollutants and Noise Levels in Phitsanulok Municipality
Authors: Jamjuree Deepinta
จามจุรี ดีปินตา
Kanita Thanacharoenchanaphas
กณิตา ธนเจริญชณภาส
Naresuan University
Kanita Thanacharoenchanaphas
กณิตา ธนเจริญชณภาส
kanitat@nu.ac.th
kanitat@nu.ac.th
Keywords: การจราจร
ยานพาหนะ
มลพิษทางเสีย
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
เมืองพิษณุโลก
Traffic
Vehicles
Noise pollution
Particulate Matter (PM2.5)
Phitsanulok Urban Areas
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this research were assessment the influences of road traffic on noise in 10 measuring points of Phitsanulok urban area under 2 traffic conditions: low and high traffic volume conditions. In this study, roadside traffic counts were recorded and counted at 10 roads parallel to noise equivalent and CO2 measurements during the low and peak hour of traffic for 1 hr. Vehicle traffic count at 10 main streets were classified into 12 vehicle types. Besides 12 vehicle classifications count, data were analyzed for the passenger car unit values/hr (PCU/hr), volume of vehicle/capacity ratio (V/C ratio) including estimation of PM2.5 and TSP emission rate (using emission factor reported in US EPA and Pollution Control Department, Thailand, respectively). The noise levels were measured to analysed the 10th percentile (L10) of noise level (shall not exceed 70 dBA), 1 hour equivalent continuous sound level (Leq(1hr)) including elevated noise level (E-Noise) with the increase of traffic volume.  The results found that, for vehicle number counting, the total number of 12 vehicle categories was higher during the high hour of traffic condition than the low traffic volume period by statistically significant (p<0.05). Number of passenger car was higher in high traffic period than low traffic period by statistically significant (p<0.05) in all 10 areas. In addition, the highest of passenger car volume was found at A6 area by statistically significant (P<0.05) when compare among 10 areas. The highest and the lowest of total number of them under both of 2 traffic conditions were found at A4 and A5 road, respectively. The highest numbers of motorbike or passenger car were found in some road as compared with other 10 vehicle categories. In this research for finding the level of service (LOS) of the study road, volume and capacity ratio (V/C) is used. It showed that most of the services were in A and B categories implying the free flow of traffic movement during the low traffic conditions. Whereas, the level of services as A, B and C categories were appeared during the high traffic conditions. The category of V/C ratio were found at A8 and A9 roads. However, there was no relationship between PCU/hr and V/C ratio under 2 traffic conditions with the low R2. During the peak hour of traffic for 1 hr, the average L(10) levels of all measuring points were highly exceed than the standard of 70 dBA. The highest and the lowest of L(10) levels were found in the A7 road (81.25 dBA) and A1 road (77.21 dBA), respectively. The results of the study also revealed that the highest of E-Noise (24.2 dBA) were appeared at A5 road, it is the result of the increasing of vehicle during the peak hour of traffic for 1 h. The research also resulted that there are strong relationships between the PCU/hr of 2 car types (passenger car including van)  and L(10) with the high R2 values of 0.842 and 0.849, respectively under the low traffic condition. Whereas, the strong correlations were also shown in the relationship between total PCU/hr and Leq(10) with the high R2 value of 0.75 under the low traffic condition. Consideration in pollutant Emissions, the obvious correlations were also evidence shown between the percentage of increase of 3 vehicle types (passenger car, pickup and van) and E-Noise with the high R2 value of 0.71, 0.72 and 0.77, respectively. In addition, the research resulted that the CO2 concentrations were obvious quite high in range of 421.00-447.59 ppm and 420.29-456.0 ppm during the low and peak hour of traffic for 1 hr, respectively. The highest concentration of CO2 was appeared at the A10 road. Concerning PM2.5 emissions based on total volume of passenger car and motorbike of each road, it was estimated that of gasoline-motorbike can emit PM2.5 than total volume gasoline and disel- passenger car in all 10 roads. The highest quantities of PM2.5 by 48.39 g/km was estimated at the A10 road. The estimated emission rate of PM2.5 from gasoline-passenger car was higher than the emission rate from disel-passenger car, the highest rate was found at A7 road by 6.95 g/km. In addition, the emission rate of TSP (Total Suspended Particulate matter) based on total volume of 4 vehicle categories (van, pickup, bus and truck) were also estimated. The results indicated that disel-truck was the vehicle type that emitted the highest rate of TSP by 26,104.17 g/km under the speed limit at 60km/hr at A7 road. Based on the findings  lead to conclude that in of Phitsanulok urban area, vehicle volume, noise level, CO2 concentration and PM emission from road traffic was found to be a serious concern.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของการจราจรที่มีต่อระดับเสียง ใน 10 พื้นที่ศึกษาในเขตตัวเมืองพิษณุโลก ภายใต้ 2 สถานการณ์ คือ ช่วงการจราจรเบาบางและช่วงการจราจรหนาแน่น ในการศึกษาได้มีการบันทึกจำนวนยานพาหนะ ระดับเสียงรบกวน และ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงเวลาเดียวกัน ณ พื้นที่ริมถนน 10 พื้นที่ศึกษา สำหรับการพิจารณาจำนวนยานพาหนะจำแนกประเภทยานพาหนะออกเป็น 12 ประเภท เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวนการเปรียบเทียบให้เทียบเท่ากับรถยนต์ส่วนบุคคล/ชั่วโมง (PCU/hr) คำนวณปริมาณยานพาหนะรวมต่อศักยภาพในการรองรับจำนวนยานพาหนะได้ของถนนเส้นนั้น (V/C Ratio) รวมถึงการประเมินอัตราการปล่อยมลสาร PM2.5 และ มลสารชนิด TSP (โดยใช้ค่ามาตรฐานการปล่อยมลสารจาก US EPA และ กรมควบคุมมลพิษ, ประเทศไทย ตามลำดับ) และวิเคราะห์ค่าระดับเสียงรบกวนเปอร์เซ็นไทล์ที่ 10 (L10) (ไม่ควรเกิน 70 เดซิเบล) วิเคราะห์เสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง (L(1hr))  รวมทั้งระดับเสียงที่เพิ่มขึ้น (E-Noise) ผลการศึกษา พบว่ายานพาหนะรวม 12 ประเภทในช่วงการจราจรหนาแน่นมีปริมาณมากกว่าช่วงการจราจรเบาบางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ถึง 7 พื้นที่ (ยกเว้น A4 A6 และ A10) โดยระดับสูงสุดและต่ำสุด คือพื้นที่ A4 และ A5 ตามลำดับ พบว่ารถเก๋งเป็นยานพาหนะชนิดเดียวที่มีจำนวนสูงกว่าในช่วงการจราจรหนาแน่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกพื้นที่ศึกษา (P<0.05) และยังพบว่ามีจำนวนสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ณ พื้นที่ A6 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 10 พื้นที่ โดยพบว่าจำนวนยานพาหนะที่สูงสุด ใน 10 พื้นที่ คือ ยานพาหนะประเภทรถมอเตอร์ไซค์  หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับรถประเภทอื่น ๆ อีก 10 ประเภท และในการศึกษาครั้งนี้ยังได้วิเคราะห์การให้บริการของถนน (LOS) โดยการวิเคราะห์ด้วยค่าอัตราส่วน V/C ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระดับการให้บริการส่วนใหญ่ของถนน (V/C) อยู่ในระดับเกรด A และ B ในช่วงการจราจรเบาบาง แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวที่ดี ในขณะช่วงการจราจรหนาแน่น พบว่า LOS อยู่ในระดับ เกรด A B และ C ซึ่งพื้นที่ถนนที่พบว่าการจราจร ที่อยู่ในเกรด C คือพื้นที่ A8 (ห้าแยกโคกมะตูม) และ A9 (พื้นที่สถานีรถไฟใจกลางเมือง) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง PCU/hr และ ค่าอัตราส่วน V/C ซึ่งแสดงด้วยค่า R2 ระดับต่ำ ส่วนค่าระดับเสียงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 (L(10)) และ ระดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง (L(1 hr)) พบว่ามีค่าเฉลี่ยเกินมาตรฐานที่ 70 เดซิเบลเอ ทั้ง 10 พื้นที่ ซึ่งพบสูงสุดใน พื้นที่ A7 (81.25 dBA)  และ พื้นที่ A1 (77.21 dBA) ตามลำดับ และผลการศึกษายังพบว่าในพื้นที่ A5 มีระดับ E-Noise ที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึงระดับ 24.2 dBA ในช่วงการจราจรหนาแน่น ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนยานพาหนะในชั่วโมงการจราจรหนาแน่น ผลการวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่าง PCU/hr (ของรถ 2 ประเภท คือ รถเก๋ง และ รถตู้) และ L(10) ด้วย R2 ที่สูงถึงระดับ 0.842 และ 0.849 ตามลำดับ ในช่วงการจราจรเบาบาง ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง Total PCU/hr และ L(10) พบความสัมพันธ์ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งแสดงด้วย R2 ที่สูง ถึง 0.75 ในช่วงการจราจรเบาบาง นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างชัดเจน ระหว่างร้อยละของการเพิ่มจำนวนยานพาหนะ 3 ประเภท คือ รถเก๋ง, รถกระบะ และ รถตู้ ที่มีต่อค่าระดับ E-noise ด้วยค่า R2 ที่สูงถึง 0.71, 0.72 และ 0.77 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการปล่อยมลสาร ผลการศึกษาพบว่าระดับ CO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ในช่วงการจราจรเบาบาง และช่วงการจราจรหนาแน่น มีค่าค่อนข้างสูง อยู่ในช่วง 421.00-447.59 ppm และ 420.29-456.0 ppm ตามลำดับ ทั้ง 10 พื้นที่ศึกษา สำหรับประเมินอัตราการปล่อย PM2.5 จากฐานข้อมูลปริมาณรวมของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และ รถมอเตอร์ไซค์ ของถนนแต่ละสาย ผลการประเมินจากข้อมูลถนนทั้ง 10 พื้นที่ พบว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่มีการใช้น้ำมันเบนซิน (Gasoline) สามารถปล่อย PM2.5 ได้มากกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมดที่มีการใช้น้ำมันเบนซิน และ ดีเซล (Gasoline และ Disel) โดยพบว่าอัตราการปล่อย PM2.5 จากมอเตอร์ไซค์ สูงสุดที่ระดับ 48.39 g/km พบในพื้นที่ A10 ส่วนอัตราการปล่อยมลสารประเภท PM2.5 จากรถยนต์นั่งส่วนบุคคล พบว่ากรณีที่ใช้น้ำมันประเภท Gasoline มีอัตราการปล่อยสูงกว่าการใช้น้ำมัน Disel โดยพบว่ามีอัตราการปล่อยมลสารสูงสุดในพื้นที่ A7 ที่ระดับ 6.95 g/km นอกจากนี้ยังได้ประเมินอัตราการระบายมลสารประเภท TSP (Total Suspended Particulate matter) ที่ถูกประเมินจากปริมาณของยานพาหนะ 4 ประเภท (รถตู้ รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก) ผลการวิจัยระบุว่า รถบรรทุกที่ใช้น้ำมัน Disel เป็นประเภทยานพาหนะที่มีอัตราการปล่อยมลสารประเภท TSP สูงสุดที่ระดับ 26,104.17 g/km พิจารณาภายใต้อัตราการขับขี่ด้วยความเร็วจำกัดที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในพื้นที่ A7 จากผลการวิจัยพบว่าในเขตเมืองพิษณุโลกมีปริมาณรถ ระดับเสียง ความเข้มข้นของ CO2 และการปล่อย PM จากการจราจรทางถนนเป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างมาก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5714
Appears in Collections:คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JamjureeDeepinta.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.