Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5712
Title: อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม(HO) และปุ๋ยเคมีต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา การเจริญเติบโต ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง
INFLUENCE OF ORGANIC GRANULAR FERTILIZER, CHEMICAL AND GRANULAR ORGANIC FERTILIZER WITH HORMONE MIXED FORMULA(HO), AND CHEMICAL FERTILIZER TO THE PHYSIOLOGICAL PROCESS, GROWTH, YIELD AND STARCH CONTENT OF CASSAVA    
Authors: Chawalit Raksarikorn
ชวลิต รักษาริกรณ์
Pumisak Intanon
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์
Naresuan University
Pumisak Intanon
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์
pumisaki@nu.ac.th
pumisaki@nu.ac.th
Keywords: ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO)
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
การสะสมมวลชีวภาพ
เปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลัง
Chemical and organic granular fertilizer with hormone mixed formula (HO)
Growth
Yield
Biomass
Starch
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this study was to the influence of fertilizers and the use rate of fertilizer for soil improvement on the physiological process, growth, yield, and starch content of cassava. The study used 4 formulas of fertilizers: 1) Organic Granular Fertilizer (ORG), 2) chemical and granular organic fertilizer with hormone mixed formula (HO-1), 3) chemical and granular organic fertilizer with hormone mixed formula (HO-2), and 4) Chemical Fertilizer 15-15-15 formula (CHEM) at 50 and 100 kilograms/rai. The experiment design was in RCBD with 9 treatments, which were as follows; T1 (Control), T2 (ORG 50 kilograms/rai.), T3 (ORG 100 kilograms/rai.), T4 (HO-1 50 kilograms/rai.), T5 (HO-1 100 kilograms/rai.), T6 (HO-2 50 kilograms/rai.), T7 (HO-2 100 kilograms/rai.), T8 (CHEM 50 kilograms/rai.), and T9 (CHEM 100 kilograms/rai.) The experiment plots were located at Pasao, Muang District, Uttaradit Province, from June 2017 – June 2018. by using the DMRT method at 95% confidence. The result showed that soil properties after using fertilizer in T5; using HO-1 and T7; using HO-2 at 100 kg/rai affected soil fertility. The primary macronutrients, secondary macronutrients, and micronutrients were increased, and improved physical features were more likely better than using CHEM and ORG. However, HO fertilizer was an influence on soil properties improvement. It was found that T5; using HO-1 100 kilograms/rai was the highest effect on growth rate in the size of trunk, canopy, and green leaf value at 99% confidence. The biomass accumulation of cassava. when the one-month-old, the biomass accumulation highest is in the leaf, and when the 4-month-old, the water, and nutrients that move from the leaf to the petiole accumulate at the base of the stump. And 8-month-old, the water and nutrients that move from the stump to accumulate at the base of the root (starch and sugar). It was found that HO-1 (T5) and HO-2 (T7) at 100 kilograms/rai affected biomass accumulated highest in tuber at 34.48 percent and 34.28 percent respectively, better than some other way. Yield components, the use of HO-2 fertilizer 100 kilograms/rai. The formula of yield quality for cassava. It has the mean number of tubers per plant 17.00 tuber/ plant, number of root length 47.75 cm., and the cassava tuber circumference 25.25 cm. significantly different at 95%. While the components of average weight/tuber 0.67 kilograms/tuber and yield weight/tree 10.55 kilograms/plant were the highest among other treatments. But there was no statistical difference at 95%. However, when considering the highest average yield per rai, It was found that using HO-2 fertilizer 100 kg/rai gave a higher yield than other treatments (5,110 kilograms/rai). The rate of 100 kilograms/rai resulted in a higher percentage of cassava starch than other methods (30.50%), which was statistically significantly different at 95%, better than using chemical fertilizers, organic granular fertilizers, and without fertilizers (Control). In terms of cost and profit, It was found that using 100 kg/rai of HO-2 fertilizer resulted in the highest profit from product sales per rai of 10,458 baht/rai, which was higher than using chemical fertilizers and organic granular fertilizer. Moreover, HO fertilizer was a choice to manage soil and fertilizer that affects the cassava product quality in Uttaradit Province.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของชนิดปุ๋ย และอัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงสมบัติของดิน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการสะสมมวลชีวภาพ ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง โดยทำการศึกษาอิทธิพลของปุ๋ย 4 ชนิด ได้แก่ 1) ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด (ORG), 2) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO-1), 3) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO-2) และ 4) ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (CHEM) ที่อัตรา 50 และ 100 กิโลกรัม/ไร่ วางแผนทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 9 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำๆ ละ 1 แปลง รวม 36 แปลง ประกอบด้วย T1 ไม่ใส่ปุ๋ย(ควบคุม), T2 ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด อัตรา 50 กก./ไร่, T3 ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่, T4 ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO-1 อัตรา 50 กก./ไร่, T5 ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO-1 อัตรา 100 กก./ไร่, T6 ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO-2 อัตรา 50 กก./ไร่, T7 ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม HO-2 อัตรา 100 กก./ไร่, T8 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ และ T9 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่  ทำการทดลองที่ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2560 - มิถุนายน พ.ศ. 2561 เปรียบเทียบค่าความแตกต่างโดยวิธี DMRT ที่ความเชื่อมั่น 95 %  ผลการวิจัยพบว่า สมบัติของดินหลังการใส่ปุ๋ย T5 (HO-1) และ T7 (HO-2) อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารหลัก รอง เสริม เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงสมบัติด้านกายภาพของดินมีแนวโน้มดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด เนื่องจากปุ๋ย HO มีสมบัติในการปรับปรุงดินแบบองค์รวม การเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพบว่า การใช้ปุ๋ยT5 (HO-1) อัตรา 100 กก./ไร่ มีผลทำให้ขนาดลำต้น ทรงพุ่ม และค่าความเขียวใบดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ แตกต่างกันทางสถิติที่ 99% กระบวนการสะสมมวลชีวภาพในมันสำปะหลังนั้นพบว่าเมื่อพืชอายุ 1 เดือน จะมีการสะสมมวลชีวภาพสูงสุดที่ใบและเมื่ออายุ 4 เดือน จะเคลื่อนจากส่วนใบ ก้านใบไปสะสมที่โคนต้นและเมื่ออายุ 8 เดือน จะเคลื่อนจากโคนต้นไปสะสมที่รากในทางกลับกันการสะสมวัตถุแห้ง (แป้งและน้ำตาล) พบว่าการใช้ปุ๋ย T5  (HO-1) และ T7( HO-2) ในอัตรา 100 กก./ไร่ มีผลทำให้การสะสมน้ำหนักแห้งในรากที่พัฒนาไปเป็นหัวมันสำปะหลังสูงสุด 34.48 และ 34.28 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ด้านองค์ประกอบผลผลิตการใช้ปุ๋ย T7( HO-2) อัตรา 100 กก./ไร่ ที่เป็นสูตรเพิ่มผลผลิต และคุณภาพผลผลิตสำหรับมันสำปะหลังทำให้จำนวนหัวเฉลี่ย/ต้น 17.00 หัว/ต้น, ความยาวหัวมันสำปะหลัง 47.75 ซม. และ ขนาดเส้นรอบวงหัวมันสำปะหลัง 25.25 ซม. แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ 95% ในขณะที่องค์ประกอบด้านน้ำหนักเฉลี่ย/หัว 0.67 กก./หัว และ น้ำหนักผลผลิต/ต้น 10.55 กก./ต้น สูงที่สุดดีกว่ากรรมวิธีกรรมวิธีอื่นๆ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ 95% อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงสุด พบว่าการใช้ปุ๋ย T7( HO-2) อัตรา 100 กก./ไร่ ทำให้มีผลผลิตสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ 5,110 กิโลกรัม/ไร่ อีกทั้งพบว่าการใช้ปุ๋ย T7( HO-2) อัตรา 100 กก./ไร่ มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังเพิ่มสูงขึ้นกว่ากรรมวิธีอื่นๆ 30.50 % ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ 95% ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด และการไม่ใส่ปุ๋ย ในด้านต้นทุนและผลกำไร พบว่าการใช้ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม T7( HO-2) อัตรา 100 กก./ไร่ ทำให้เกิดผลกำไรจากการขายผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด 10,458 บาท/ไร่ ซึ่งมีกำไรสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด จึงอาจกล่าวได้ว่าการใช้ปุ๋ย HO สามารถเป็นทางเลือกของเกษตรกรในการจัดการดินและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้อีกหนึ่งทาง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5712
Appears in Collections:คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChawlitRaksarikorn.pdf5.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.