Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5708
Title: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย: กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
An Application of Geographic Information System (GIS) on Logistics Development System for Flood Relief: A Case Study of Phitsanulok Province
Authors: Thunyaporn Thoopthimthean
ธัญญาภรณ์ ธูปทิมเทียน
Klairung Ponanan
ใกล้รุ่ง พรอนันต์
Naresuan University
Klairung Ponanan
ใกล้รุ่ง พรอนันต์
klairungp@nu.ac.th
klairungp@nu.ac.th
Keywords: การจัดการโลจิสติกส์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย
Logistics Management for Flood Victims
Flood Risk Area
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The Phitsanulok Province faces floods almost every year. Planning and management for flooding disasters are crucial in decreasing the potential damage from flooding disasters. Currently, the process of assisting flood victims is delayed. Therefore, the aims of this research are: 1) to study the management system and preparedness for flood relief at present of relevant organizations in Phitsanulok province; 2) to create a flood level prediction model; and 3) to propose a logistics management model for flood relief in Phitsanulok province. Geographic Information System (GIS) has been applied to generate a flood level prediction model at 6 levels: 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, and 3 meters. This prediction model will provide information on the risk of flood zones at each level, which will be beneficial for flood warning situations. The results show that the scope of service provision for accessing flood zones by relevant agencies is still inadequate. Therefore, it is recommended to set up the center of assistance and assessment for flooding disasters in 6 locations covering 3 districts i.e., Bangkrathum, Bangrakam, and Phrom Phiram districts.The flood level prediction model can help in improving logistics management for assisting flood victims in terms of information flow. The relevant agencies can assess the flood situation from the water level of each flood zone obtained from the model. This information will help to reduce the time for flood recovery, which leads to minimizing the damage by flood situations.
จังหวัดพิษณุโลกประสบปัญหาอุทกภัยแทบทุกปี การวางแผนและการบริหารจัดการสำหรับเหตุอุทกภัยจึงมีความสำคัญในการลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์อุทกภัย ในปัจจุบันกระบวนการในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมีความล่าช้า ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการจัดการและการเตรียมความพร้อมสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปัจจุบันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อสร้างแบบจำลองการคาดการณ์ระดับอุทกภัย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดพิษณุโลก โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการสร้างแบบจำลองการคาดการณ์ระดับอุทกภัยที่ระดับน้ำ 6 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 เมตร เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากระดับน้ำแต่ละระดับซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัย ผลการศึกษา พบว่า ขอบเขตการให้บริการของหน่วยงานที่เข้าช่วยเหลือยังไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดังนั้น จึงควรเพิ่มจำนวนศูนย์ช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์อุทกภัยจำนวน 6 แห่ง ให้ครอบคลุมในบริเวณอำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม เพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์อุทกภัยและการเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้แบบจำลองการคาดการณ์ระดับอุทกภัยยังมีส่วนช่วยในปรับปรุงรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในด้านการไหลของข้อมูล (Information Flow) เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินสถานการณ์อุทกภัยจากข้อมูลระดับน้ำที่ได้จากแบบจำลองจึงช่วยลดระยะเวลาในการจัดการกับสถานการณ์อุทกภัยและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกด้วย
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5708
Appears in Collections:คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThunyapornThoopthimthean.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.