Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5693
Title: การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รุปเรขาคณิตในลายผ้าทอน้ำอ่าง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/
USING STEAM LEARNING APPROACH TO DEVELOP MATHEMATICAL CREATIVE THINKING SKILLS OF GRADE 6 STUDENTS ON GEOMETRIC SHAPES IN WOVEN FABRIC PATTERNS
Authors: Somhying Petchsuwan
สมหญิง เพ็ชรสุวรรณ
Sirinapa Kijkuakul
สิรินภา กิจเกื้อกูล
Naresuan University
Sirinapa Kijkuakul
สิรินภา กิจเกื้อกูล
sirinapaki@nu.ac.th
sirinapaki@nu.ac.th
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา
ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
รูปเรขาคณิต
STEAM education
Mathematical creative thinking
Geometric Figures
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study using the STEAM learning approach to develop mathematically creative thinking skills about geometric shapes within in woven fabric sewing patterns of the Ban-Nam-Ang community,Uttaradit Province. The research participants were 30 Grade 6 students, and the research methodology was three spirals of action research. The instruments consisted of lesson plans, reflective learning journals, students’ activity sheets and artifacts, and a mathematical creative thinking test.  The data were analyzed through content analysis and triangulations. The results revealed that teaching using the STEAM learning approach must focus on 1) examining students' prior knowledge or experience, 2) using problematic situations that students encounter in everyday life or in their community contexts and then encouraging them to search for information about those situations from various reliable sources, and 3) allowing students to work together to develop new knowledge along with solving the problem; they would learn about the geometric figures and then create a new woven fabric sewing pattern for themselves. Next, they must share their opinions and give suggestions to each other. After three spirals, most students finally appeared to have improved on generating diverse ideas, creating new ideas, and evaluating and improving ideas, respectively.      
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษา ที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตในลายผ้าทอน้ำอ่างของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียน จำนวน 30 คน ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม ชิ้นงานของนักเรียน และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า  การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญกับ 1) การตรวจสอบความรู้หรือประสบการณ์เดิมของนักเรียน 2) การใช้สถานการณ์ปัญหาที่นักเรียนพบเจอในชีวิตประจำวันหรือในบริบทชุมชนของนักเรียนและให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือ 3) การให้นักเรียนร่วมมือกันสร้างความรู้ควบคู่กับการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตในการออกแบบลายผ้าทอโบราณของชุมชนบ้านน้ำอ่าง จังหวัดอุตรดิตถ์ และเปิดโอกาสให้นักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน เมื่อผ่านการเรียนรู้ครบทั้ง 3 วงจรปฏิบัติการ นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ในองค์ประกอบของการสร้างความคิดที่หลากหลายได้ดีที่สุด รองลงมาคือ การสร้างความคิดสร้างสรรค์ และการประเมินและปรับปรุงความคิด ตามลำดับ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5693
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SomhyingPetechsuwan.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.