Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5666
Title: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3/
INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATOR AFFECTING EFECTIVENESS OF ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRTION IN SCHOOLS UNDER LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Authors: Roengrit Kummoo
เริงฤทธิ์ คำหมู่
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
anuchako@nu.ac.th
anuchako@nu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
Academic Leadership of School Administrators
The effectiveness of academic administration in educational institutions
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were 1) to study the academic leadership of school administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 3, 2) to study the effectiveness of academic administration in educational institutions under Loei Primary Educational Service Area Office 3, 3) to study the relationship between academic leadership of school administrators with the academic administration, and 4) to create forecasting equations to predict the effectiveness of academic administration in educational institutions. The sample group was 226 school administrators and teachers under Loei Primary Educational Service Area Office 3, academic year 2022. The research tool was a 5-level estimation scale questionnaire with a concordance index of variables equal to 1.00 and a variable's reliability between .48 - .82 using percentage, mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient and Enter Multiple Regression Analysis. The study found that: 1. Academic Leadership of Educational Institution Administrators had the average of all items at the highest level. Creating an atmosphere of learning have the highest average and the lowest average is the setting of the vision, mission, and goals of the school.  2. The overall level of academic administration effectiveness in educational institutions had an average of all items at a high level. In terms of curriculum development have the highest average and the lowest average was research to improve the quality of education.  3. The relationship between academic leadership of school administrators with the academic administration effectiveness of educational institutions had a correlation coefficient between 0.580 - 0.713 with statistical significance at the .01 level for all values.  4. Academic Leadership of Educational Institution Administrators Affecting Educational Institution Administrative Effectiveness under Loei Primary Educational Service Area Office 3, the multiple correlation coefficient (R) was 0.721, and the predictive power (R2) was 50.19%. The forecasting equations were written in terms of raw scores and standardized scores, respectively, as follows:  Forecasting equation in raw score form 1.951 + 0.428 (X4) Equation in standard score form 0.560 (X4)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนายประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของตัวแปรเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเที่ยงของตัวแปรอยู่ระหว่าง .48 - .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน 2. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.580 - 0.713 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.721 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 50.19 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้ ค่าที่ได้จากการพยากรณ์ที่อยู่ในรูปคะแนนดิบ เท่ากับ 1.951 + 0.428 (X4) ค่าที่ได้จากการพยากรณ์ที่อยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.560 (X4)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5666
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RoengritKummoo.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.