Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5663
Title: ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก
THE CROSS-CULTURAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS IN SPECIAL AREA SCHOOLS TAK PROVINCE
Authors: Phanthakan Songboonrod
พันธกานต์ ทรงบุญรอด
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
Naresuan University
Sathiraporn Chaowachai
สถิรพร เชาวน์ชัย
sathirapornc@nu.ac.th
sathirapornc@nu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม, โรงเรียนพื้นที่พิเศษ, ผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ
Cross-Cultural Leadership Special Area Schools Administrators in Special Area Schools
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research were to study the Cross-Cultural Leadership of administrators and the guidelines to develop the Cross-Cultural Leadership of administrators in special area schools Tak Province. There are research methods as follows: Step 1 is the study of the Cross-Cultural Leadership of administrators. The sample group consisted of 62 administrators acquired by Purposive sampling. The tool used for data collection was 5 rating scale questionnaires of the Cross-Cultural Leadership of administrators. The collected data were analyzed by mean and standard deviation. Step 2 is the study of guidelines to develop the Cross-Cultural Leadership of administrators. The informant group was 5 experts acquired by Purposive sampling. The tool used for data collection was the interview about the guidelines to develop the Cross-Cultural Leadership of administrators. Then analyze the data by content analysis. The results were shown that: 1. The results of a study on the Cross-Cultural Leadership of administrators in special area schools Tak Province overall was at the highest level. When considering by each aspect, it was found that the highest aspect was the Empathy in working. The lowest aspect was the ability to communicate. 2. The results of a study on guidelines to develop the Cross-Cultural Leadership of administrators in special area schools Tak Province found that the administrators should provide the crews who have domiciles in the area to participate the traditional activities and introduce the community context. The administrators should establish the training, the meeting conference in practice frequently provide the crews in the area or using the same language to assist to communicate and increase the ways of communications and specify the working schedule with obvious period of time and follow up to support and provide the convenience to the crews.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก โดยวิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 62 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาและมีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาที่มีบริบทพหุวัฒนธรรม จำนวน 5 คน  โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านการสร้างความไว้วางใจ ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก พบว่าผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษควรให้บุคลากรที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่พาไปเข้าร่วมกิจกรรม ประเพณี และแนะนำถึงบริบทของชุมชน ควรจัดการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งให้บุคลากรในพื้นที่หรือใช้ภาษาเดียวกันมาช่วยในการสื่อสาร และเพิ่มช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ และควรกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานโดยมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน มีการติดตามเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้บุคลากร
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5663
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PhanthakanSongboonrod.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.