Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5662
Title: แนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จังหวัดระยอง
The Good Practice in Organizational administration aspect of IRPC Technological College
Authors: Phatcharakit Nuamai
พัชรกฤษฎิ์ เนื้อไม้
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
Naresuan University
Anucha Kornpuang
อนุชา กอนพ่วง
anuchako@nu.ac.th
anuchako@nu.ac.th
Keywords: แนวปฏิบัติที่ดี
การบริหารองค์การ
อาชีวศึกษา
Good practice
Organizational management
Vocational education
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purpose of this research is to study the good practices in organizational management of IRPC Technological College, Rayong Province. Data sources include documents related to the college's organizational management guidelines and groups of people, namely the college management team. The tools used for data collection were observational forms and semi-structured interviews. The data were analyzed by transcribing interview data from field recordings. The results of the independent study and the observations were used to verify the consistency of the triangular data. The content was analyzed using coding about interviews, combined with documentary studies and observations.           The results of this research revealed that IRPC Technological College, Rayong Province, was established in 1995 as a college with the major objective of producing manpower for the factory of IRPC Company Limited with management and teaching in the form of a factory to school. There are good practices for organizational management of IRPC College of Technology. There is a management structure with many executives, namely, the managing director or CEO of IRPC company, deputy managing director or CFO, education manager, corporate support line manager, and the business center line manager. In the assignment of tasks, there is a clearly defined mission and an unquestionable description of the scope of their duties. In work planning, there is a meeting at the executive board level before the meeting with the head of each department, and they will follow up, control the process, and coordinate using the digital system to take part in the management. In the organizational structure, there are executives from the parent company, the managing director, the deputy managing director, and managers in three lines of the college structure, including the education line, the organizational support lines, and the business center line (LEAD TEAM). The LEAD TEAM will jointly meet every Tuesday morning, called a meeting with the MC (Management Committee). There is a follow-up on assigned tasks by communicating from bottom to top, from top to bottom, both horizontally and vertically. At the end of the meeting, there were the action plans which were made every three months, and special awards to personnel who had made achievements at the college. Moreover, there were additional funding was available in addition to the rewards received or a matter of welfare and well-being. Salary increases could be considered based on KPI Success. The head of the department must collect the KPIs of teachers and personnel for consideration. There is a management model named ABCD Model that aims to become an innovative technology college by expanding the scope of doing business and working with the cooperation of all sectors involved. Every process has digitalization to drive administration within the college. The Excellent Center was built as the center of the college's success. The success comes from the standard of IRPC Technological College, which is a standard created by the college. The standards have various forms of evaluation criteria, as well as guarantee the quality of educational institutions that are higher than the standard set by ONESQA.           The lessons learned from success have been taken from the management of the parent company, PTT, which corresponds to the development of the organization towards an organization of excellence (High-Performance Organization: HPO), a goal or vision desired by leading organizations around the world to achieve. For example, PTT Public Company Limited, Thailand's leading energy company, has set a vision to become an organization of excellence. Two key driving elements are used: the development of people and technology in PTT personnel development and the concept of "Innovative Organization" which means an organization that has a process to bring skills, knowledge, and creativity of people in the organization to apply to encourage success. Personnel Management of IRPC Technological College must drive the college's vision to succeed in what is influencing the quality of living and the quality of life of teachers and personnel, namely compensation, salary, welfare benefits, and advancement in a position clearly. There is a consultant or HR to consult on solving obstacles. There are four principles in choosing people to come to work: 1) choose good people, 2) choose intelligent people, 3) select talented people and 4) choose someone who has a good Spirit & Mindset for work. Therefore, the research results could apply good organizational management practices to management that are consistent with the potential of vocational educational institutions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จังหวัดระยอง แหล่งข้อมูล ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารองค์การของวิทยาลัย และกลุ่มบุคคล ได้แก่ ทีมผู้บริหารของวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลการสัมภาษณ์มาถอดคำพูดบันทึกภาคสนาม และนำผลการศึกษาเอกสาร ผลการสังเกตมาตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลแบบสามเส้า ทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีการ Coding คำสัมภาษณ์ผสมผสานกับผลการศึกษาเอกสารและการสังเกต           ผลการวิจัย พบว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี จังหวัดระยอง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2538 เป็นวิทยาลัยที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อผลิตกำลังคนสู่โรงงานของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด โดยมีการบริหารและการเรียนการสอนในรูปแบบโรงงานสู่โรงเรียน มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี โดยมีการจัดโครงสร้างการบริหารที่มีผู้บริหารหลายฝ่าย ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ หรือ CEO ที่มาจากบริษัท ไออาร์พีซี รองกรรมการผู้จัดการ หรือ CFO ผู้จัดการสายการศึกษา ผู้จัดการสายสนับสนุนองค์กร และผู้จัดการสายศูนย์ธุรกิจ การกำหนดภารกิจ คำอธิบายขอบข่ายงานในหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน การวางแผนการทำงาน มีการประชุมในระดับบอร์ดผู้บริหาร ก่อนที่จะประชุม หัวหน้าแผนกแต่ละแผนกจะมีการติดตาม ควบคุมกระบวนการ ประสานงานโดยใช้ระบบ Digital เข้ามามีส่วนในการบริหาร การจัดโครงสร้างองค์กร มีผู้บริหารมาจากบริษัทแม่ กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการในโครงสร้างของวิทยาลัยฯอีกสามสายงาน ได้แก่ สายการศึกษา สายสนับสนุนองค์กรและสายศูนย์ธุรกิจ เปรียบเสมือน LEAD TEAM ร่วมกันประชุมทุกวันอังคารช่วงเช้า เรียกว่าประชุมกับ MC (Management Committee) จะมีการติดตามงานที่ได้มอบนโยบาย สื่อสารจากล่างขึ้นบน จากบนลงล่าง ทั้งจากแนวนอนและแนวตั้ง เมื่อประชุมเสร็จแล้วจะมีการทำแผนการดำเนินงานทุกๆ3 เดือน มีการมอบรางวัลให้กับบุคลากรที่สร้างความสำเร็จให้กับวิทยาลัย มีเงินสนับสนุนเพิ่มให้อีกนอกเหนือจากรางวัลที่ได้มา หรือจะเป็นเรื่องของสวัสดิการ การเป็นอยู่ การขึ้นเงินเดือนจะพิจารณาตามค่า KPI Success  โดยหัวหน้าแผนกจะต้องเป็นผู้รวบรวม KPI ของครูและบุคลากรเพื่อประกอบการพิจารณา มีโมเดลการบริหารงานที่ชื่อ ABCD Model มุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีนวัตกรรม ขยายขอบข่ายการทำธุรกิจ ทำงานด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกกระบวนการนั้นจะมี D : Digitalization ขับเคลื่อนการบริหารงานภายในวิทยาลัย มีการสร้างศูนย์ Excellent Center เป็นศูนย์กลางความสำเร็จของวิทยาลัยฯ ความสำเร็จเกิดขึ้นจากมาตรฐานวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซีซึ่งเป็นมาตรฐานที่วิทยาลัยฯสร้างขึ้น มีเกณฑ์การประเมิน รูปแบบต่างๆ รวมถึงประกับคุณภาพสถานศึกษาที่สูงกว่ามาตรฐาน   สมศ. ตั้งไว้ เป็นสิ่งที่ได้ถอดบทเรียนความสำเร็จมาจากการบริหารงานของบริษัทแม่ คือ ปตท. สอดคล้องกับ การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization : HPO) เป็นเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่องค์กรชั้นนำทั่วโลกต้องการที่จะบรรลุ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศไทยได้ตั้งวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ โดยใช้องค์ประกอบในการขับเคลื่อนที่สำคัญ 2 ประการคือการพัฒนาเรื่องของคนและเทคโนโลยีในการพัฒนาบุคลากร ปตท. และแนวคิด “องค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization)” ซึ่งหมายถึง องค์กรที่มีกระบวนการในการนำทักษะ ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กรมาประยุกต์ใช้ ส่งเสริมให้ประสบผลสำเร็จ การบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ต้องผลักดันวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯให้สำเร็จ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของครูและบุคลากร คือ ผลตอบแทน เงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ความก้าวหน้าในตำแหน่งอย่างชัดเจน การมีที่ปรึกษา หรือ HR ปรึกษาในเรื่องการแก้ไขอุปสรรค การเลือกคนที่จะเข้ามาทำงาน จะมีหลักการ 4 ประการ ได้แก่ 1)เลือกคนดี 2)เลือกคนเก่ง 3)เลือกคนมีความสามารถ 4)เลือกคนที่มี Spirit & Mindset ที่ดีของการทำงาน ซึ่งจากข้อค้นพบดังกล่าว สามารถนำแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารองค์การไปประยุกต์ใช้การบริหารที่สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5662
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PhatcharakitNuamai.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.