Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5647
Title: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY BY USING THE CONCEPT ATTAINMENT MODEL TO ENHANCE MATHEMATICAL CONCEPT AND PROBLEM SOLVING  ABILITY ON LINEAR EQUATIONS IN TWO VARIABLES FOR GRADE VII STUDENTS.
Authors: Chiraphat Singmon
จิรภัทร สิงห์มนต์
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
Naresuan University
Wichian Thamrongsotthisakul
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
wichianth@nu.ac.th
wichianth@nu.ac.th
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์
มโนทัศน์ทางณิตศาสตร์
ความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Learning Activities
The Concept Attainment Model
Mathematical Concept
Mathematical Porblem Solving Ability
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The purposes of this research, to construct and evaluate efficiency of learning activities by using the concept attainment model to enhance mathematical concept and problem-solving ability on linear equations in two variables for grade VII students according to the 75/75 criteria. And to try out the learning activities by using the concept attainment model to enhance mathematical concept and problem-solving ability on linear equations in two variables for grade VII students, which consider as follows: 1) to compare the mathematical concepts before and after study by using the concept attainment model and 2) to compare the mathematical problem-solving ability before and after study by using the concept attainment model. The sample is grade VII students, 2nd semester, academic year 2021, Naresuan University Secondary Demonstration School, by selecting a specific type of 1 classroom, 40 students. Research tools are learning activities by using the concept attainment model, mathematical concept measurement form and mathematical problem-solving ability measurement form. Statistics used for data analysis are average, standard deviation, E1/E2 efficiency value and T-test dependent. The results of the study are as follow: 1) Learning activities by using the concept attainment model consists of 3 steps as follows: Procedure before activity, it is a review and evaluation of concepts. Procedure activities consist of: Learning step 1, giving examples to find the concept. Learning step 2, hypothesis. And learning step 3, conceptualization. And procedure after activity, it is the use of concepts to solve problems. There is suitability assessment result with overall, it is appropriate at a high level. And the efficiency of the activity is equal to 76.06/77.78 which according to the 75/75 criterion. 2) Try out the learning activities by using the concept attainment model are as follows:                    2.1) Mathematical concept in the post-test is higher than the pre-test with learning activities by using the concept attainment model to enhance mathematical concept and problem-solving ability on linear equations in two variables for grade VII students, statistically significant at the .05 level.                    2.2) Mathematical problem-solving ability in the post-test is higher than the pre-test with learning activities by using the concept attainment model to enhance mathematical concept and problem-solving ability on linear equations in two variables for grade VII students, statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยพิจารณาจาก 2.1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบวัดความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t (T-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1.   กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ ประกอบด้วย 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นก่อนดำเนินกิจกรรม เป็นการทบทวนและประเมินมโนทัศน์ ขั้นดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 1 การให้ตัวอย่างเพื่อสืบสอบไปถึงมโนทัศน์ ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 2 การตั้งสมมติฐาน และขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 3 การสรุปมโนทัศน์ และขั้นหลังดำเนินกิจกรรม เป็นการนำมโนทัศน์ไปใช้แก้ปัญหา มีผลการประเมินความเหมาะสม โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพของกิจกรรมเท่ากับ 76.06/77.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2.   การทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ มีดังนี้                     2.1.   มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                    2.2.   ความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์ เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5647
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChiraphatSingmon.pdf11.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.