Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5637
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครูภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
A Development of a Blended Training Curriculum Based on Connectivism Approach to Enhance Innovational Creation Skills from Local Related Content for Thai Language Student Teachers of Rajaphat University
Authors: Suparada Anchunda
ศุภรดา อันชุนดา
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
Naresuan University
Jakkrit Jantakoon
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ
jakkritj@nu.ac.th
jakkritj@nu.ac.th
Keywords: หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน
การสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
แนวคิดคอนเน็คติวิสซึม
blended training curriculum
Connectivism Approach
innovation development skills based on local learning content
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research and development has as aims to study blended learning activity organization based on the connectivism approach; develop and assess the quality of a curriculum; implement; and evaluate the curriculum based on a connectivism approach to enhance innovation creation ability using local learning content. The sample population used in this study consisted 27-third year Thai language student teachers who were studying in the 2022 academic year selected by clustered sampling. The research instruments consisted of 1) semi-structured interview, 2) curriculum and curriculum manual, 3) curriculum and manual appropriateness evaluation forms, 4) innovation development skills assessment form, and 5) satisfaction assessment questionnaire towards the developed curriculum. Data were analyzed using percentages, mean, standard deviation and one-group t-test The results revealed as follows: 1. The guidelines for organizing blended learning activities based on connectivism approach to enhance innovational creation skills from local related content found 5 aspects. Firstly, the blended training design should have two types of activities, namely face-to-face in the training room. The second aspect is to determine the learning objectives and the training results of the unit should be determined with duration. Third, blended learning based on the connectivism approach should be able to find answers from a variety of sources. The fourth aspect of the blended training activities based on the connectivism approach should be sharing and the fifth aspect of the learning process is that media and technology should be used to support the learning process and collecting information 2. The developed blended learning curriculum based on connectivism approach has the following components: principles and rationale of the curriculum, objectives, curriculum learning units, training methods, duration, structure, media and learning resources, and assessment and evaluation with the curriculum training steps consist of face-to-face and online. The online training activities have two forms including asynchronous and synchronous. The training period is divided into 3 phases namely, Phase 1: the opening of the training project and preparatory activities, Phase 2: during training, and Phase 3: the innovation-sharing exhibition through online platform. The curriculum's learning method is based on connectivism. The result of curriculum and manual evaluation are appropriate are at high level and the results of pilot study revealed that the curriculum was feasible. 3. Thai language student teachers from Rajabhat University developed learning innovations based on local contents after learning with the blended learning curriculum blended learning curriculum based on the connectivism approach consisting of five innovations as follows:  1. Bai Siem Si games from paying homage to Luang Pu Daeng Buddha image to develop communication. 2. Learning games related to the way of worship to enhance communication 3.  Little books on Luang Pu Daeng Buddha Image to enhance reading ability 4. Ban Garieng Namtok Tales to enhance reading 5. Garieng Namtok villagers' puzzle game to develop communication competencies. The innovation types developed were in the form of instructional materials and learning innovations for learners. The results of comparing innovation development skills after the curriculum implement was at 84.26 percent, which higher than the stated criterion of 70 percent with a statistical significant at .05 4.  Thai language student teachers’ satisfaction from Rajabhat University towards the developed blended training curriculum considering input process and output are generally are at the highest (Average = 4.67, S.D. = 0.15).
การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม สร้าง และตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ทดลองใช้ และประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตร 3) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตร  4) แบบประเมินทักษะการสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และ  5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดกิจกรรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นได้ 5 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง  การออกแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ควรมีลักษณะการออกจัดกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ แบบเผชิญหน้าในห้องฝึกอบรม ประเด็นที่สองการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ควรมีการกำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมรายหน่วยพร้อมระยะเวลา ประเด็นที่สามการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึมควรมีลักษณะสืบค้นเพื่อหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ประเด็นที่สี่ กิจกรรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม ควรมีกิจกรรมการแบ่งปัน (Sharing) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเรียน และประเด็นที่ห้า สื่อและสิ่งสนับสนุน   ควรใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนรู้ และเก็บข้อมูล 2. หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึมมีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตร วิธีการจัดฝึกอบรมของหลักสูตร ระยะเวลาการฝึกอบรม โครงสร้างการฝึกอบรม แนวการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และแนวทางการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม โดยมีกระบวนการฝึกอบรมแบบผสมผสานคือ การฝึกอบรมแบบเผชิญหน้าในห้องเรียน และการฝึกอบรมแบบออนไลน์  ซึ่งวิธีการเข้าอบรมออนไลน์มี 2 ลักษณะ คือ การเรียนรู้แบบไม่ผสานเวลา และการเรียนรู้แบบผสานเวลา กำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเปิดโครงการฝึกอบรมกิจกรรมเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2 ระหว่างการอบรม และระยะที่ 3 กิจกรรมนิทรรศการแบ่งปันนวัตกรรม กำหนดวิธีการเรียนรู้ของหลักสูตรตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึมส์ หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรผ่านการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดลองนำร่องมีความเป็นไปได้สามารถนำไปใช้ได้จริง  3. นักศึกษาครูภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏได้สร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นขึ้นหลังจากเรียนรู้ตามหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดคอนเน็คติวิสซึม 5 นวัตกรรมมีดังนี้ ได้แก่ เกมใบเซียมซีจากการบนบานพระพุทธรูปหลวงปู่แดงเพื่อพัฒนาการพูดสื่อสาร เกมการเรียนรู้เรื่องวิถีการไหว้แตรวงส่งเสริมการพูดสื่อสาร หนังสือเล่มเล็กเรื่องพระพุทธรูปหลวงปู่แดง  นิทานบ้านกะเหรี่ยงน้ำตกส่งเสริมการอ่าน และเกมปริศนาคำทายของชาวบ้านกะเหรี่ยงน้ำตกเพื่อพัฒนาการพูดสื่อสาร เป็นนวัตกรรมประเภทสื่อการเรียนรู้ โดยสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่นำมาใช้ประกอบด้วย ดังนี้ ข้อมูลเรื่องเล่านิทาน ปริศนาคำทาย ประวัติความเป็นมา ความเชื่อ และชื่ออาหารในพิธีกรรม จากผลการเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมอิงสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น หลังการเข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 84.26 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาครูภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตรในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Average = 4.67, S.D. = 0.15) 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5637
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuparadaAnchunda.pdf18.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.