Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5558
Title: ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
The Effect of Emotional Quotient Enhancement Program in Primary School Students Chatakarn district, Phitsanulok Province.
Authors: CHANATIP KULJIRAKUL
ชนาธิป กุลจิรากูล
Sunsanee Mekrungruangwong
ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์
Naresuan University
Sunsanee Mekrungruangwong
ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์
sunsaneem@nu.ac.th
sunsaneem@nu.ac.th
Keywords: ความฉลาดทางอารมณ์
นักเรียนชั้นประถมศึกษา
โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์
Emotional Quotient
Children in Primary School
Emotional Quotient Promoting Program
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This is quasi-experimental research, two-group repeated measures design, is experimental group and control group to study the Effect of Emotional Quotient Promoting Program of Children in Primary School. Groups join the program, 30 people per group. The experimental period was 10 weeks, 6 weeks for the program, and follow-up at week 10. The statistics included percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Independent T-Test, Repeated Measure ANOVA. All significant levels were set up at 0.05. The results showed that the emotional quotient score and emotional quotient score when considered by topic (Goodness Intelligence and Happiness), were significantly different among before, after, and follow up in an experimental group with a level of significance (p<0.05). There was a significant difference between before and after in between-group with a level of significance (p = 0.034) but follow up there were no significant difference (p = 0.630) Program activities are activities that help strengthen and develop emotional quotient. However, at week 10 there was no difference in the follow-up stages. This is because a short six-week program may not be enough to maintain the average emotional quotient score. Therefore, there should be ongoing monitoring. So that the emotional quotient is constantly stimulated and developed. It is constant surveillance of low emotional quotient in children.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดซ้ำ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มละ 30 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 10 สัปดาห์ โดยจัดโปรแกรม 6 สัปดาห์ และติดตามผลในสัปดาห์ที่ 10 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการตอบแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติ Chi-square test, t-test for Independent Samples, สถิติ Repeated Measure ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ α = .05 ผลวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลอง ระยะติดตามผลเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดทางอารมณ์หลังการทดลองแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.034) แต่ในระยะติดตามผล พบว่า ไม่แตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.630) กิจกรรมในโปรแกรมเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามผลในสัปดาห์ที่ 10 ไม่พบความแตกต่างในระยะติดตามผล เนื่องจากโปรแกรมดำเนินการระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 6 สัปดาห์ อาจไม่เพียงพอที่ทำให้คะแนนความฉลาดทางอารมณ์คงอยู่ จึงควรมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความฉลาดทางอารมณ์ถูกกระตุ้นและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเฝ้าระวังการมีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำในเด็กอย่างต่อเนื่อง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5558
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChanatipKulirakul.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.